ห้องสมุดประชาชนอำเภอพานทอง
ห้องสมุดประชาชนอำเภอพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี

จุลสารประจำเดือนเมษายน ปักษ์แรก


ฉบับที่ 35

จุลสารประชาสัมพันธ์

ห้องสมุดประชาชนอำเภอพานทอง

ฉบับที่   35   ปักษ์แรก   เมษายน   2551

 

 

 

 

น้ำมะเน็ด ในขวดแบบโบราณ

    น้ำมะเน็ดเป็นน้ำอัดลมชนิดหนึ่งที่คนไทยเรียกเพี้ยนมาจากน้ำ            

   Lemonade ของฝรั่ง  คำว่า Lemonade แปลว่าน้ำมะนาวก็จริง แต่น้ำ 

   มะเน็ดไม่ใช่น้ำมะนาวเปรี้ยวแท้ๆ  แต่เป็นน้ำมะนาวปลอมๆ ที่มีการ

   แต่ง รสแต่งสีแล้ว ถ้าเปรียบเทียบกับน้ำอัดลม   ในยุคปัจจุบันคงใกล้เคียงกับน้ำสไปรท์   ฝรั่งเริ่มผลิตน้ำมะเน็ดขายตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ทราบ แต่ต้องหลังจาก  จาคอบ ชเวพ (Jacob Schwepp) คิดทำน้ำโซดาได้เมื่อ พ.ศ. 2335   หรือเมื่อราว 200 ปีก่อน สำหรับในเมืองไทยนั้นพบโฆษณาขายน้ำมะเน็ดในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์ของหมอบรัดเลย์ฉบับวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.1866 โดยน้ำมะเน็ดในสมัยก่อน  จะบรรจุอยู่ในชวดรีๆ แบบลูกรักบี้ และปิดปากขวดด้วยจุกไม้ก๊อก เขาออกแบบขวดให้วางนอนขนานกับพื้นอยู่เสมอเพื่อไม่ให้จุกก๊อกแห้งและหด อ้างอิงตามรูปในหนังสือ  The Art of the Label ของ Robert Opie ยอดนักสะสมบรรจุภัณฑ์ หน้า 10   กับหน้า 65   จนเมื่อ ค.ศ. 1875 หรือ พ.ศ. 2418 ตรงกับต้นสมัยรัชกาลที่ 5 มีการประดิษฐ์ขวด แบบคอคอด และมีจุกลูกแก้วอยู่ที่ปากขวดโดย Hirem Codd จึงมีการบรรจุ น้ำมะเน็ด รวมทั้งน้ำโซดา และน้ำอัดลมอื่นๆ ลงในขวดชนิดนี้ ในการบรรจุต้อง จับหัวขวดให้คว่ำลง เมื่อน้ำอัดลมเข้าไปในขวดแล้ว แรงแก๊สจะดันลูกแก้วให้ลอยขึ้นไปแนบและแน่นติดกับวงแหวนยางที่ปากขวด เมื่อจะดื่มต้องเอาไม้กระแทกลูกแก้ว ลงไปแรงๆ ส่วนวิธีรินไม่ให้ลูกแก้วกลิ้งมาปิดปากขวด คือ ต้องหมุนขวดให้ลูกแก้ว  ไปตกอยู่ระหว่างคอหยักที่เขาทำไว้  จึงจะรินน้ำได้สะดวก น้ำมะเน็ดเคยมีขายตามโรงหนังและตามร้านต่างๆ อยู่นานพอสมควรแต่ในที่สุดก็หายไปจากเมืองไทยเมื่อราว 50-60 ปีก่อน

ที่มา  :  http://www.lib.ru.ac.th/miscell/index.html

5 วิธีลดความดันสูงด้วยการรักษาทางเลือก

    ปริมาณเกลือที่รับประทาน มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานเกลือมาก จะพบว่ามีความดันสูงมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อยกว่า ดังนั้น 
วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดจะต้องลดเกลือ เพิ่มผักผลไม้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตรวจเช็คความดันโลหิตทุก 6 เดือน และหากพบความดันโลหิตสูงผิดปกติควรรีบดูแลรักษาปละปรับพฤติกรรมตามหลักปัญจกิจ หรือร่วมกับ 5 แนวทางการรักษาทางเลือกที่เรานำมาฝากกันค่ะ                                                                                                                                                  
                                    1. คันธบำบัด มีคำแนะนำมากมายจากอโรมาเทอราปิสต์ ให้ใช้น้ำมันหอมระเหย

บางชนิดช่วยบำบัดอาการ และทำให้ผ่อนคลาย เช่น น้ำมันหอมระเหย กลิ่นคาโมไมล์
ลาเวนเดอร์
                2.
การบำบัดด้วยอาหาร ด้วยการลดปริมาณเกลือโซเดียม และหันมาเพิ่มอาหาร
ที่มีธาตุโพแทสเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งมีมากในผักและผลไม้สด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กล้วย มันฝรั่ง และผักใบเขียวต่างๆ เช่น เซเลอรี่(ขึ้นฉ่ายฝรั่ง) ซึ่งถือเป็นผักที่ดี
ในการลดความดันโลหิต
                3.
การบำบัดด้วยสมุนไพร การดื่มน้ำสมุนไพรจากขึ้นฉ่าย กระเจี๊ยบแดง
และบัวบก เป็นต้น
                4.
การผ่อนคลายและทำสมาธิ เทคนิคการทำสมาธินั้นมีประโยชน์ช่วยรักษาระดับ
ความดันโลหิต จากการศึกษามีคำแนะนำว่า การทำสมาธิ 20 นาที วันละ 2 ครั้ง
จะช่วยลดความดันโลหิตได้
                5.
โสตบำบัด คำแนะนำจากนักวิจัยเพื่อช่วยลดความดันโลหิต คือให้ฟังเพลงที่ช่วย
ผ่อนคลาย แล้วหายใจเข้าออกลึกๆ แล้วปล่อยให้ตัวเองซึมซับเอาพลังงานเสียงเข้าไว้
ความดันโลหิตสูงนั้นป้องกันได้ถ้าเริ่มต้นปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวคุณสู่วิถีชีวิตที่มีความสุขทั้งกายและใจตั้งแต่วันนี้


ที่มา : เกร็ดสุขภาพ(วัยสูงอายุ) นิตยสาร ชีวจิต
ฉบับที่ 191 ปีที่ 8 กันยายน 2549

ผักจำพวกกะหล่ำทานนึ่งดีกว่าต้ม

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวอร์วิค ประเทศอังกฤษ พบว่า
การต้มผักอย่างบร๊อคโคลี่ กะหล่ำปม กะหล่ำดอก จะทำให้สารที่เป็นคุณประโยชน์
ในการต่อต้านโรคมะเร็งลดลงถึง 75%

จากผลการวิจัยก่อนหน้านี้ทำให้ทราบว่าผักเหล่านี้มีสาร "กลูโคซิโนเลตส์"
(Glucosinolates) ที่มีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
กระเพาะปัสสาวะ และปอดลงได้ถึง 60%
แต่ไม่เคยทราบว่า การเก็บรักษา
และการหุงต้ม จะทำให้มันเสียหายลงหรือไม่

หัวหน้านักวิจัย ปอล เจ ทอมมอลเลย์ แห่งโรงเรียนแพทย์วอร์วิค กล่าวว่า
เพื่อเป็นการรักษาสารตัวนี้ไว้ คุณควรนึ่งผักประมาณ 20 นาทีเท่านั้น
เพื่อรักษาคุณค่าทางสารอาหารเอาไว้ และรักษาคุณค่าในการป้องกันโรคมะเร็ง
ไว้ได้ถึง 80%

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 28 พ.ค. 2550, นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 31 ฉบับที่ 6 เดือน ก.ค. 2550

กินอาหารปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย

การรับประทานอาหาร นอกจากจะเลือกทานที่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์แล้วยังต้องพิจารณาถึงที่มาของอาหารเหล่านั้น และการปรุงอย่างถูกสุขลักษณะอีกด้วยซึ่งสารพิษต่างๆที่พบบ่อยในอาหาร มีวิธีสังเกต และหลีกเลี่ยงดังนี้

สารเร่งเนื้อแดง

แหล่งอาหารที่พบ :

เนื้อหมู

การสังเกต :

เนื้อหมูมีสีแดงผิดปกติ

อันตราย :

มะเร็งจากสารเคมีสะสมในร่างกาย หัวใจเต้นผิดปกติ นอนไม่หลับ มึนงง
คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ เป็นลม อาจเสียชีวิตได้

การเลือก :

เลือกเนื้อหมูที่มีสีธรรมชาติไม่มีสีแดงผิดปกติเลือกซื้อจากแหล่งผลิต
ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ

สารฟอกขาว

แหล่งอาหารที่พบ :

ขิงซอย ถั่วงอก น้ำตาลปี๊บ และหน่อไม้ดอง

การสังเกต :

อาหารที่มีสีซีดขาวกว่าปกติ

อันตราย :

คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ความดันต่ำ ไตวาย อาจเสียชีวิตได้

การเลือก :

เลือกซื้ออาหารที่มีสีธรรมชาติเลือกซื้อจากแหล่งผลิต
ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ

สีผสมอาหาร

แหล่งอาหารที่พบ :

ผักดอง แหนมข้าวเกรียบ ลูกชิ้น ไส้กรอก หมูยอ ทอดมัน กุนเชียง ไอศกรีม
ขนมหวาน เยลลี่

การสังเกต :

อาหารมีสีผิดปกติจากสีธรรมชาติ

อันตราย :

อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเดิน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ตับและไตอักเสบ
มะเร็งจากสารเคมีสะสมในร่างกาย และพิษจากโลหะหนัก

การเลือก :

เลือกซื้ออาหารที่ไม่ผสมสี

ฟอร์มาลิน

แหล่งอาหารที่พบ :

ผักสด อาหารทะเล

การสังเกต :

ผักที่มีลักษณะแข็ง กรอบผิดปกติ ปลาหรือกุ้งเนื้อแข็งแต่บางส่วนเปื่อยยุ่ย

อันตราย :

เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และเยื่อบุทางเดินหายใจ คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดท้องอย่างรุนแรง หมดสติได้

การเลือก :

เลือกผักที่มีลักษณะใบเขียวสด ลำต้นกรอบตามธรรมชาติ ใบไม่เหลืองซีด
เลือกผักที่มีรูพรุน ผักอนามัยหรือผักกางมุ้ง เลือกอาหารทะเลสด
เนื้อไม่เปื่อยยุ่ย สีไม่ผิดปกติ อาหารทะเลต้องวางจำหน่ายในน้ำแข็งตลอดเวลา
ล้างอาหารให้สะอาดก่อนปรุง

บอแรกซ์

แหล่งอาหารที่พบ :

ผักกาดดอง ลูกชิ้น หมูยอ มะม่วงดอง กล้วยทอด มันทอด ผักสดบางชนิด

การสังเกต :

อาหารมีลักษณะกรุบกรอบผิดปกติ

อันตราย :

อาเจียน น้ำหนักลด มีผื่นคันที่ผิวหนัง อาจอาเจียนเป็นเลือด ปวดท้อง
กรวยไตอักเสบ และเสียชีวิตได้

การเลือก :

หลีกเลี่ยงอาหารที่สงสัยว่ามีบอแรกซ์เลือกซื้ออาหารจากแหล่งผลิต
ที่เชื่อถือได้

สารกันรา

แหล่งอาหารที่พบ :

ผักดอง ผลไม้ดอง

การสังเกต :

ผักดอง ผลไม้ดองที่น้ำดองดูใสกว่าปกติ

อันตราย :

ทำลายเยื้อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นผื่นคัน อาเจียน หูอื้อ

การเลือก :

เลือกอาหารที่สดใหม่จากแหล่งผลิตที่มีป้ายรับรอง

 

ที่มา  :  มา: คู่มือ เคล็ดลับสุขภาพดี จาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)

 

 

  

หมายเลขบันทึก: 187021เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2008 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท