สอนวิทยาศาสตร์ให้สนุก สุขใจ และได้ความรู้


สอนวิทยาศาสตร์

คุณครูสง่า ทรัพย์เฮง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนดาราคาม ซึ่งเป็นครูท่านหนึ่ง ที่เข้าร่วมโครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ตลอดจนมาถึงโครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียน รวมทั้งเป็นครูของโรงเรียนในสายนิเทศด้วย จึงทำให้ทราบว่าโรงเรียนแห่งนี้ ขาดแคลนครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ คุณครูท่านนี้เป็นคุณครูวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับจาก สสวท. ให้เป็นคณะทำงาน วิทยากรหลาย ๆ โครงการ จึงได้ช่วยโรงเรียนแก้ปัญหาการขาดแคลนครู โดยเป็นวิทยากรให้การอบรม ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เพื่อน ๆ ครูในโรงเรียน ให้มีความเข้าใจในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และต่อไปนี้ คือ บทความ "สอนวิทยาศาสตร์ให้สนุก สุขใจ และได้ความรู้" ของคุณครูสง่า ทรัพย์เฮง ที่ได้ตัดตอนมาเขียนเล่าให้ฟัง "......เมื่อสมัยเด็ก ๆ ข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ หลายคน ชอบสนทนากันถึงอนาคตว่า เมื่อโตขึ้น อยากจะเป็นอะไรดี เกือบครึ่งหนึ่งของพรรคพวกในวงสนทนาของพวกเรามักตอบว่า อยากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ ก็ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ก็คือ พวกเราชอบวิชาวิทยาศาสตร์ที่เรียนสนุก ท้าทาย ตื่นเต้น อีกทั้งได้ความรู้และทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน แต่จะสอนวิทยาศาสตร์อย่างไรให้นักเรียนเกิดความสนุกกับการเรียนร้ มีความสุขที่ได้เรียนวิทยาศาสตร์และสะสมความรู้จากการได้เรียนรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ หรือนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งนักเรียนมีความรู้สึกชอบวิทยาศาสตร์ และเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ ครูวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี จากประสบการณ์ในการสอนวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 30 ปี และประสบการณ์จากการไปช่วยงานสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีส่วนร่วมกิจกรรมพิจารณาหนังสือเรียน แบบฝึกหัด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ และจากประสบการณ์ไปฝึกอบรมจากสถาบันแรคแซม (RECSAM) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย จึงขอสรุปขั้นตอนการสอนวิทยาศาสตร์ให้สนุก สุขใจและได้ความรู้ได้ ดังนี้ 1. ขั้นการเตรียมความรู้ ครูวิทยาศาสตร์จะต้องศึกษาหาความรู้ในเนื้อหาสาระที่จะสอนอย่างถ่องแท้ มีความเข้าใจเนื้อหาที่ลึกซึ้ง กว่าจะใช้สอนนักเรียน และเป็นความรู้ที่ท้นสมัย ทันเหตุการณ์ในการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน มีตัวอย่างความรู้ที่ครูมักเข้าใจผิด และขอเสริมความรู้ให้ครูวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น สิ่งมีชีวิตปัจจุบัน จำแนกออกเป็น 5 อาณาจักร ได้แก่ 1. โมเนอรา เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก และกำเนิดมาในยุคแรก ๆ ของโลก ได้แก่ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ไวรัสและแบคทีเรียน 2. โปรติสต้าหรือโปรโตซัว เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กมาก ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา โวลว็อค สเตนเตอร์ ฯลฯ 3. ฟังไจ เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ แต่ไม่มีสารสีเขียว (คลอโรฟิลล์) ได้แก่ เห็ด, รา, ยีสต์ มักสืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ ยกเว้นยีสต์ สืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ 4. พืช จะต้องมีสารคลอโรฟิลด์ (แต่ก็มีสารแคโรทีน โรโดฟิลล์ และแซนโทฟิลล์ปนอยู่ด้วย) ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง พืชแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พืชไร้ดอก ได้แก่ มอส เฟิร์น ลิเวอร์เวิร์ต ฮอร์นเวิร์ต ปรง และพืชดอก ได้แก่ ใบเลี้ยงเดี่ยว ใบเลี้ยงคู่ 5. สัตว์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มี 8 กลุ่ม ได้แก่ สัตว์ฟองน้ำ สัตว์ลำตัวเป็นโพรง สัตว์ลำตัวแบน สัตว์ลำตัวกลม สัตว์ลำตัวเป็นปล้อง สัตว์ลำตัวนิ่ม สัตว์ขาเป็นปล้อง สัตว์ลำตัวมีผิดขรุขระ และสัตว์มีกระดูกสันหลัง 5 กลุ่ม ได้แก่ สัตว์ประเภทปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม......" เป็นอย่างไรบ้างคะ นี่แค่ขั้นเตรียมการเท่านั้นนะคะ คุณครูสง่าได้สรุปเนื้อหาวิชาชีววิทยาที่หากต้องอ่านเองกว่าจะเข้าใจ ก็คงจะต้องใช้เวลานานเลยใช่ไหมคะ อย่าลืมให้กำลังใจคุณครูสง่าผ่านทางบล็อกนี้ด้วยนะคะ คุณครูเขาจะได้มีกำลังใจ คราวต่อไป จะได้นำเสนอเรื่องเล่าจากบทความของคุณครูสง่า ทรัพย์เฮง

คำสำคัญ (Tags): #วิทยาศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 186985เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2008 06:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 07:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ลูกศิษย์ ปี2552 ป.6/1

ธัญชนก อิงค์กิตติ ค่ะ

ได้ความรู้มากเลยค่ะ

ต่อไปหนูอยากเรียนรู้พวกอิเล็กตรอนค่ะ

เรียนสนุกมากเลยค่ะ

ชอบมากเลย

ถึงจะไม่เก่ง

แต่หนูจะพยายามให้เก่งวิทย์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท