การจัดการความรู้ในกิจกรรมปัจฉิมนิเทศนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ


           ดิฉัน พร้อมด้วย ผศ.ดร.วารีรัตน์ แก้วอุไร และ ดร.อมรรัตน์ วัฒนาธร ได้พูดคุยกันว่า       การปัจฉิมนิเทศนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพน่าจะนำวิธีการจัดการความรู้มาใช้เพื่อให้นิสิตนำประสบการณ์วิชาชีพมาเล่าสู่กันฟังในกิจกรรมปัจฉิมนิเทศเมื่อวันที่  9  มีนาคม  2549  พวกเรา  จึงแบ่งนิสิตตามวิชาเอกเพื่อให้นิสิตมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจากประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยตั้ง KV ไว้ว่า  ประสิทธิภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  จากการจัดกิจกรรมดังกล่าว  พวกเราเห็นว่า  KM  เป็นวิธีการที่ดีอันหนึ่งที่นิสิตได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและสามารถสกัดเป็นข้อความรู้ที่น่าสนใจที่ไม่คาดคิด จากเรื่องเล่าของนิสิตได้  6 ประเด็น 

1.  การเตรียมตัวก่อนสอน  (ก่อนเข้าสู่โรงเรียน)

     1.1  สังเกตการณ์สถานที่จะฝึกสอนก่อน ทั้งในเรื่องสภาพทั่วไปและบ้านพัก

     1.2  ศึกษาหลักสูตรในระดับชั้นที่ตนต้องสอน

     1.3  ศึกษาตัวอย่างแผนการสอน

     1.4  เตรียมตัวก่อนสอน 2 สัปดาห์  ทำความเข้าใจทั้งเนื้อหาในระดับชั้นที่สอนและพื้นความรู้ก่อนระดับชั้นที่สอน

     1.5  เตรียมหนังสือ ตำรา ตัวอย่างโจทย์ รวบรวมความรู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ รวมทั้งแบบทดสอบไว้ก่อนล่วงหน้า  1  อาทิตย์

     1.6  ปรึกษาครูพี่เลี้ยงเกี่ยวกับตัวเด็กและโครงร่าง (Guide line) ที่ต้องการสอน

     1.7  เตรียมใจให้พร้อมก่อนสอน

2.   การวางแผนการสอน

     2.1  ตรวจสอบดูปฏิทินการปฏิบัติงานในโรงเรียน

     2.2  จัดแบ่งเนื้อหาให้เหมาะกับเวลา

     2.3  จัดแบ่งเนื้อหาไว้ตลอดเทอม

     2.4  ใช้แผนการสอนสำเร็จรูปในระยะแรกเนื่องจากยังไม่รู้จักหลักสูตรสถานศึกษาเตรียมตัว

     2.5  เตรียมใบความรู้ล่วงหน้าและศึกษาเนื้อหาอย่าดีก่อนสอนจริง

     2.6  อ่านแผนในวันเสาร์ อาทิตย์ และเก็บรายละเอียดอีกครั้ง คืนก่อนวันสอนจริง

     2.7  ใช้แหล่งอ้างอิงหลายแหล่งเมื่อเกิดความสับสนในเนื้อหา

     2.8  ปรับแผนการสอนให้เป็นตามสภาพจริงและตามศักยภาพของเด็ก

3.  การจัดการเรียนการสอน

     3.1  สอนตามเนื้อหาที่เขียนไว้ในแผน

     3.2  สอนตามแผนการสอน

     3.3  สอนเรื่องที่ตนเองถนัดก่อน

     3.4  ใช้ทั้ง child - centered และ teacher - centered

     3.5  ให้เด็กมีส่วนร่วมในการสอน

     3.6  ใช้เด็กเป็นศูนย์กลางแต่หากมีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องขึ้นให้ครูอธิบายเพิ่มเติม

     3.7  ก่อนสอนเนื้อหาใหม่มีการทดสอบความรู้เดิมก่อน ถ้าพบว่านักเรียนไม่มีพื้นฐานความรู้ก่อนให้สอนเสริมตอนพักที่ยง

4.   การแก้ปัญหาในชั้นเรียน

     4.1  เล่านิทานให้ข้อคิดแก่นักเรียนก่อนสอนเพื่อสร้างสมาธิให้แก่นักเรียน

     4.2  ให้นักเรียนทำงานกลุ่มมากขึ้นเพื่อจัดการเรียนการสอนได้เร็วขึ้น

     4.3  ให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเพื่อลดการคัดลอกแบบฝึกหัดของเพื่อน

     4.4  ให้นักเรียนทั้งกลุ่มสอบปากเปล่าทั้งกลุ่ม โดยครูสุ่มนักเรียนที่มักลอกแบบฝึกหัดเป็น       ผู้ตอบ

     4.5  ให้นักเรียนส่งานภายในชั่วโมงนั้นเพื่อลดปัญหานักเรียนไม่ส่งงาน

     4.6  ให้รางวัลเป็นคะแนนแก่นักเรียนที่สนใจเรียน

     4.7  ให้คะแนเด็กที่เข้าเรียน

     4.8  ทำโทษหรือใช้ไม้เรียวจะทำให้เด็กเปลี่ยนพฤติกรรมได้

     4.9  เด็กจะตั้งใจเรียนมากขึ้น  หากบอกแนวข้อสอบ

     4.10  แก้ปัญหานักเรียนโดดเรียนด้วยการบันทึกข้อความส่งโรงเรียน

     4.11  นักเรียนที่คุยกันจัดให้นั่งหน้าสุดหรือให้ยืนจนกว่าจะหยุดคุย  หรือให้หาคนอื่นที่คุยออกมายืนแทน

     4.12  นักเรียนลืมอุปกรณ์ ทำโทษให้คัดลายมือเขียนว่าจะ "ไม่ลืม....อีก (50 เที่ยว)"

     4.13  เรียกชื่อนักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียน

5.   การจัดเตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้

     5.1  มีการเตรียมใบความรู้เก็บไว้ล่วงหน้า

     5.2  มีการใช้สื่อที่หลากหลาย  ได้แก่  VDO  Projector กระดาษ chart  ใบความรู้            ใบกิจกรรม  ฯลฯ

     5.3  จัดให้มีสื่อการเรียนรู้ที่ดึงดูดความสนใจ  เช่น  เกมส์

     5.4  ใช้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเป็นสื่อในการสอน

     5.5  ใช้สิ่งแวดล้อมในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้

     5.6  มีการสืบค้นข้อมูลความรู้จาก  internet

     5.7  หาสื่อจาก  Internet 

     5.8  ให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดทำสื่อง่ายๆ  เอง  เช่น  รูปทรงเรขาคณิต

     5.9  มอบหมายให้เด็กใช้ห้องสมุดในการค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง

     5.10  ให้นักเรียนมีโอกาสสำรวจแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง

6.   การวัดและประเมินผล

     6.1  มีการตกลงเกี่ยวกับคะแนนและมีการแบ่งคะแนนที่ชัดเจนก่อนดำเนินการสอน

     6.2  นอกจากคะแนนสอบให้มีคะแนนเก็บจากสมุด  คะแนนปฏิบัติ  และการนำเสนอผลงาน

     6.3  ประเมินตามผลตามสภาพจริง  พิจารณาจากศักยภาพของนักเรียน

     6.4  จัดสอบย่อยบ่อยๆ

     6.5  ให้มีการสอบท้ายหน่วยการเรียนหรือสอบท้ายเรื่องและท้ายชั่วโมงที่สอนแต่ละครั้ง

     6.6  ให้สอบอัตนัยเพื่อวัดความรู้ด้านทักษะ  

  

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18629เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2006 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 09:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ (Khin Maung Myint)
  • ขอขอบคุณอาจารย์เทียมจันทร์ที่กรุณาแนะนำความรู้ และการจัดการความรู้
  • นอกจากวิธีให้นิสิตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ ลปรร. กันแล้ว
  • เรียนเสนอให้พิจารณาเชิญบัณฑิตที่ทำงานแล้วมาเล่าอะไรให้นิสิตฟัง ไม่ว่าจะเป็นปฐมนิเทศ หรือปัจฉิมนิเทศบ้าง
  • คาดว่า น่าจะมีประโยชน์ ทำให้นิสิตได้ประสบการณ์ตรง และเร็วขึ้น (shorten learning curve) ครับ...
  • ขอขอบคุณ

ขออนุญาต ลปรร. และ share ประสบการณ์ในการทำงานกับอาจารย์นะคะ

    การศึกษาแทบทุกสาขาวิชา ต่างก็มีมาตรฐานในวิชาชีพทั้งนั้น ซึ่งกระบวนการจัดฝึกงาน ก็มีเป้าหมายเพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสสะสมประสบการณ์ สามารถนำไปประกอบวิชาชีพได้อย่างมีคุณภาพ

    ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ เองก็ตระหนักถึงความสำคัญกับเรื่องนี้มาก จึงได้จัดตั้ง  "หน่วยประสานการฝึกปฏิบัติงานและเสริมประสบการณ์วิชาชีพ" ขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบการฝึกปฏิบัติงานของนิสิต ทั้งกระบวนการ ตั้งแต่

1. การสำรวจ พัฒนา และประเมินศักยภาพแหล่งฝึก เพื่อให้มีคุณภาพมาตรฐานตามหลักการของวิชาชีพ ให้เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของนิสิต  เป็นแบบอย่างที่ดี แต่หากมีส่วนไหนที่แหล่งฝึกยังขาด ทางคณะฯก็จะหาแนวทางร่วมกันเสริม เช่น จัดให้อาจารย์ของคณะฯไปปฏิบัติงานร่วมกับแหล่งฝึกเป็นเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มทักษะให้แหล่งฝึก  สนับสนุนหนังสือ ตำรา วิชาการ เป็นต้น

2. การจัดทำคู่มือ แบบบันทึก แบบประเมิน แบบนิเทศ แบบรายงานการฝึกงาน และแบบประเมินการนำเสนอผลการฝึกงาน

3. นิสิตเลือกแหล่งฝึก  ให้ข้อมูลแหล่งฝึก และกำหนดวิธีเลือก 3 วิธี  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมแต่ละปี คือ

    3.1 ให้นิสิตเลือกกันเอง

    3.2 จับฉลาก หากมีเลือกซ้ำหลายคน หรือตกลงกันไม่ได้

    3.3 หน่วยประสานจะจัดแหล่งฝึกให้เหมาะกับนิสิตเฉพาะราย เพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง  เพราะแหล่งฝึกบางแห่งที่มีศักยภาพสูง แต่ส่งนิสิตที่ไม่มีความ active learning ไป อาจทำให้นิสิตขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และสร้างภาระให้แหล่งฝึก

4. ปฐมนิเทศ  เป็นการชี้แจงรายละเอียดการฝึกงาน สวัสดิการคุ้มครองนิสิตระหว่างการฝึกงาน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และของรัฐ ที่นิสิตควรตระหนักรู้  ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติทั้งทางพฤติกรรม และองค์ความรู้ และประสบการณ์จากรุ่นพี่ หรืออาจารย์แหล่งฝึก

5. นิเทศ ก็จะมีแบบนิเทศ กำหนดรูปแบบการนิเทศ วัน เวลา และสถานที่นิเทศ

6. การประเมินผล 3 มิติ คือ

   6.1 แหล่งฝึกประเมินนิสิต และกระบวนการจัดการ ของคณะฯ

   6.2 นิสิตประเมินแหล่งฝึก     ----"----

   6.3 คณะฯประเมินนิสิต และแหล่งฝึก (โดยใช้แบบนิเทศ)

7. จ่ายค่าตอบแทนผู้เกี่ยวข้อง

   7.1 ค่าตอบแทนแหล่งฝึก เพื่อนำไปใช้พัฒนางาน

   7.2 เบี้ยเลี้ยง และค่าเดินทางของนิสิต

8. การรวบรวมผลการฝึกปฏิบัติงานจากทุกฝ่าย ประชุมสรุปผลการฝึกงานทั้งกระบวนการ

9. รายงานผลการเรียนรายวิชา (ที่คณะฯเป็นเกรดค่ะ 3-5 หน่วยกิต)

     อาจมีรายละเอียดที่ต่างกันบ้าง แต่ ก็มีความมุ่งหมายเดียวกัน คือ  ต้องการสร้างเสริมประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้ผู้เรียน

 

ขออนุญาต ลปรร. และ share ประสบการณ์ในการทำงานกับอาจารย์นะคะ

    การศึกษาแทบทุกสาขาวิชา ต่างก็มีมาตรฐานในวิชาชีพทั้งนั้น ซึ่งกระบวนการจัดฝึกงาน ก็มีเป้าหมายเพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสสะสมประสบการณ์ สามารถนำไปประกอบวิชาชีพได้อย่างมีคุณภาพ

    ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ เองก็ตระหนักถึงความสำคัญกับเรื่องนี้มาก จึงได้จัดตั้ง  "หน่วยประสานการฝึกปฏิบัติงานและเสริมประสบการณ์วิชาชีพ" ขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบการฝึกปฏิบัติงานของนิสิต ทั้งกระบวนการ ตั้งแต่

1. การสำรวจ พัฒนา และประเมินศักยภาพแหล่งฝึก เพื่อให้มีคุณภาพมาตรฐานตามหลักการของวิชาชีพ ให้เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของนิสิต  เป็นแบบอย่างที่ดี แต่หากมีส่วนไหนที่แหล่งฝึกยังขาด ทางคณะฯก็จะหาแนวทางร่วมกันเสริม เช่น จัดให้อาจารย์ของคณะฯไปปฏิบัติงานร่วมกับแหล่งฝึกเป็นเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มทักษะให้แหล่งฝึก  สนับสนุนหนังสือ ตำรา วิชาการ เป็นต้น

2. การจัดทำคู่มือ แบบบันทึก แบบประเมิน แบบนิเทศ แบบรายงานการฝึกงาน และแบบประเมินการนำเสนอผลการฝึกงาน

3. นิสิตเลือกแหล่งฝึก  ให้ข้อมูลแหล่งฝึก และกำหนดวิธีเลือก 3 วิธี  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมแต่ละปี คือ

    3.1 ให้นิสิตเลือกกันเอง

    3.2 จับฉลาก หากมีเลือกซ้ำหลายคน หรือตกลงกันไม่ได้

    3.3 หน่วยประสานจะจัดแหล่งฝึกให้เหมาะกับนิสิตเฉพาะราย เพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง  เพราะแหล่งฝึกบางแห่งที่มีศักยภาพสูง แต่ส่งนิสิตที่ไม่มีความ active learning ไป อาจทำให้นิสิตขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และสร้างภาระให้แหล่งฝึก

4. ปฐมนิเทศ  เป็นการชี้แจงรายละเอียดการฝึกงาน สวัสดิการคุ้มครองนิสิตระหว่างการฝึกงาน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และของรัฐ ที่นิสิตควรตระหนักรู้  ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติทั้งทางพฤติกรรม และองค์ความรู้ และประสบการณ์จากรุ่นพี่ หรืออาจารย์แหล่งฝึก

5. นิเทศ ก็จะมีแบบนิเทศ กำหนดรูปแบบการนิเทศ วัน เวลา และสถานที่นิเทศ

6. การประเมินผล 3 มิติ คือ

   6.1 แหล่งฝึกประเมินนิสิต และกระบวนการจัดการ ของคณะฯ

   6.2 นิสิตประเมินแหล่งฝึก     ----"----

   6.3 คณะฯประเมินนิสิต และแหล่งฝึก (โดยใช้แบบนิเทศ)

7. จ่ายค่าตอบแทนผู้เกี่ยวข้อง

   7.1 ค่าตอบแทนแหล่งฝึก เพื่อนำไปใช้พัฒนางาน

   7.2 เบี้ยเลี้ยง และค่าเดินทางของนิสิต

8. การรวบรวมผลการฝึกปฏิบัติงานจากทุกฝ่าย ประชุมสรุปผลการฝึกงานทั้งกระบวนการ

9. รายงานผลการเรียนรายวิชา (ที่คณะฯเป็นเกรดค่ะ 3-5 หน่วยกิต)

     อาจมีรายละเอียดที่ต่างกันบ้าง แต่ ก็มีความมุ่งหมายเดียวกัน คือ  ต้องการสร้างเสริมประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้ผู้เรียน

 

รศ.ดร.ฉันทนา จันทร์บรรจง  ดร.มานิตย์ ไชยกิจ รศ.ดร.วิทยา จันทร์ศิลา และนิสิต ป.เอก สาขาการบริหารการศึกษา 14 คน พร้อมกับนิสิต ป.ตรี โครงการสหกิจศึกษา ของคณะศึกษาศาสตร์ ได้ไปดูงานที่ Faculty of Education, Health and Professional Studies ที่ University of New England (UNE) ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ 19-24 มีนาคม 2549 อยากเล่าถึงการพัฒนามาตรฐานครูของรัฐนิวเซาท์เวลส์ (NSW) และระบบการฝึกสอน UNE  ของเขาในส่วนที่แตกต่างจากมาตรฐานครูไทย และระบบการฝึกสอนของ UNE คือ มาตรฐานครูของ NSW ที่เพิ่งปรับเมื่อ 2-3 ปี มานี้ คล้ายกับมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูไทย ที่คุรุสภากำหนดให้เป็น 1 ในมาตรฐานวิชาชีพครู แต่ของไทยมี 12 มาตรฐาน มีนิยามอย่างกว้าง ๆ ส่วน NSW มี 7 มาตรฐาน (ใช้คำว่า Elements) และมีตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนกว่าของคุรุสภา  ส่วนระบบการฝึกสอนของคณะศึกษาศาสตร์ UNE ซึ่งเป็นหลักสูตร 4 ปี ให้นิสิตเข้าไปฝึกในโรงเรียนตั้งแต่นิสิตเรียนปี 1 (ปี 1 ฝึก 2 สัปดาห์) และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปีสุดท้าย คือ ปี 4 เรียกว่า Internship มีคู่มือการฝึกสอนที่ดีมาก ๆ คณะศึกษาศาสตร์ มน. กำลังคิดจะจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการฝึกสอนของนิสิตครู ตามหลักสูตรศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ 5 ปี และคู่มือการฝึกสอนที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภามากยิ่งขึ้น ไม่ทราบว่าคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอื่น สนใจจะร่วมปฏิบัติการด้วยไหมคะ 

ดิฉันปฏิบัติงานที่หน่วยประสานการฝึกปฏิบัติงานและเสริมประสบการณ์วิชาชีพเภสัชศาสตร์ ม.นเรศวร

ที่คณะฯเป็นหลักสูตร 6 ปี จัดให้นิสิตฝึกงานตั้งแต่ปี 3 (ปี 3 เก็บ case ที่ร้านยา/ร.พ., ปี 4  ฝึก 2สัปดาห์, ปี 5 ฝึก 10 สัปดาห์, ปีที่ 6 เรียกว่า  Clerkship Rotation ฝึกตลอดปี แบ่งเป็น 6 ผลัด ผลัดละ 6 สัปดาห์ มีคู่มือการฝึกงานสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม สนใจการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการฝึกสอนของนิสิตครู  แต่งานที่ทำไม่ได้อยู่สาย ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์  (แต่เป็นศิษย์เก่าศึกษาศาสตร์ เอกจิตฯ นะคะ)    หากท่านอาจารย์จะจัด  ดิฉันใคร่ขออนุญาตเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ เพราะเห็นประโยชน์ และน่าจะได้ ลปรร. หรืออาจารย์มีงานอะไรที่พอจะให้ทำได้ก็ยินดีค่ะ

ด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท