โรงเรียนนอกกะลา “คือ ความภูมิใจวันนี้ของ มิสเตอร์คอนดอม


ปรัชญาสูงสุดของโรงเรียนนี้คือ “การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนษย์ที่สมบูรณ์”
โรงเรียนนอกกะลา “คือ ความภูมิใจวันนี้ของ มิสเตอร์คอนดอม นักบุกเบิกซีเอสอาร์ พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย Panuwat Boonyen   
พฤหัสบดี, 15 พฤษภาคม 2008
post03.jpg"ยั่งยืนคือหัวใจ"
By duangkamol

เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กรุงเทพธุรกิจและพันธมิตร ได้ร่วมมือกันจัดงาน รวมพลังดีรักษ์โลก รักสังคม ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้มีโอกาสพบปะ กับคุณมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน  (พีดีเอ)


คนทั่วไปจะรู้จักคุณมีชัย ในนาม มิสเตอร์คอนดอม เพราะคุณมีชัยเป็นคนแรกที่รณรงค์เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวและความรู้เรื่องเพศศึกษา มาตั้งแต่ปี 2517  จนประสบความสำเร็จ มีส่วนช่วยให้อัตราการเกิดของประชากรลดลงและยังมีบทบาทสำคัญต่อการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับไวรัสเฮชไออี  เขาเป็น ที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัลเม็กไซไซ รางวัลมูลนิธ เกตต์และล่าสุด รางวัลจากมูลนิธสกอลล์

            33ปีของการทำงานด้านสังคม พีดีเอ ก็ตกผลึกขั้นแรกเมื่อ พีดีเอ ได้รวบรวมประสบการณ์และความรู้มาริเริ่มเป็นโครงการร่วมพัฒนาหมู่บ้าน  village Development Partnership (VDP) เมื่อ ปี 2532

โดยดึงเอาภาคธุรกิจมีความพร้อมที่จะช่วยเหลือสังคมเข้าไปร่วมพัฒนาชนบทตาม “โครงการธุรกิจเพื่อสังคม” และ ยังได้ชักชวนบริษัทต่างๆ ไปจัดตั้งโรงงานในทำให้เกิดรายได้โดยตรงกับชาวบ้าน  จนถึงขณะนี้มีกว่า 450 โครงการและตั้งเป้าว่าจะขยายให้ได้ 100 หมุ่บ้านภายในปี 2554

นับว่าคุณมีชัย ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิด ซีเอสอาร์ corporate social responsibility  อย่างเป็นรูปธรรมคนแรกก็ว่าได้

คุณมีชัย เล่าถึงแก่นแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนว่า  ถ้าจะช่วยเหลือคนยากจนก็ต้องศึกษาว่าคนจนคือใครและ ทำอะไร ขาดอะไร และจะช่วยอย่างไร

            “คนจนคือคนที่ทำธุรกิจ ไม่ประสบความสำเร็จนั้นเอง  เพราะขาดทักษะในการทำธุรกิจและโอกาสในการเข้าถึงเงินทุน” คุณมีชัยฟันธงสรุป 

โครงการVDP ของคุณมีชีย จึงเน้นการพัฒนาหมู่บ้านแบบองค์รวม เริ่มจากซึ่งเน้นการพัฒนาองค์กรชุมชนที่เข้มแข็งและมีการบริหารจัดการด้วยตัวเอง  การพัฒนาทักษะด้านธุรกิจเพิ่มรายได้,การพัฒนาสุขภาพและสาธารณสุข การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการศึกษา

       “ยั่งยืน  เป็นหลักที่สำคัญที่สุดของการพัฒนา เป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการทำงานของเรา  การขจัดความยากจนที่ต้นเหตุของปัญหาแบบครบวงจร คือสิ่งที่เรา ทำ ไม่ได้ทำแบบสังคมสงเคราะห์”คุณมีชัย ยังเล่าต่อว่า หัวใจของความยั่งยืนคือการมีส่วนรวมของชุมชน ดังนั้น โครงงานของพีดีเอ ในหมู่บ้านจึงเน้นความจำเป็นต้องมีคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน มีคณะกรรมการบริหารเยาวชน ผู้สูงอายุ คณะกรรมการดูด้านสิงแวดล้อมและสาธารณสุข

            ภาคธุรกิจสามารถมีส่วนรวมด้วยการให้คำแนะนำด้านการบริหารจัดการธุรกิจ   พีดีเอ วางหลักสูตร เอ็มบีเอ เท้าเปล่า Bare foot MBA เพื่อสอนวิชาธุรกิจที่จำเป็น แก่ชาวบ้าน

“บริษัทเอกชน ไม่ควรจะถูกมองว่าเป็นแค่กระเป๋าเงินเท่านั้น เพราะธุรกิจ มีองค์ความรู้ที่สามารถเข้ามามีส่วนรวมการพัฒนาชนบทได้นอกเหนือจากการให้เงินบริจาค ”

            พีดีเอ ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง เมื่อมีชัย ผลักดันให้มีการก่อตั้งโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์  ขึ้นเมื่อปี 2546 ด้วยแนวคิดว่าจะสร้างผู้นำของอนาคต ที่จะก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ มากพอที่จะเป็นแรงกระตุ้นในการขับเคลื่อนสังคม

       โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาเป็นโรงเรียนไม่เก็บค่าเล่าเรียนและเปิดสอนระดับอนุบาล และประถมศึกษา ปีที่1-6 ปรัชญาสูงสุดของโรงเรียนนี้คือ “การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนษย์ที่สมบูรณ์” ซึ่งหมายความถึงการเรียนการสอนให้เด็กพัฒนาทั้งในด้านร่างกาย การคิด อารมณ์และจิตวิญญาณ ภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข

ขณะนี้โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  ภายใต้การบริหารของ ครูวิเชียร ไชยบัง กลายเป็นโรงเรียน ที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ จากการประเมินของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทัสมาเนีย ออสเตรเลีย เมื่อปี 2549

และเมื่อที่แล้ว  โรงเรียนบ้านนอกแห่งนี้ ยังได้รับการรับรองว่ามีมาตรฐานระดับดีมาก เป็นอันดับสองของโรงเรียนระดับประถม32,000  ทั่วประเทศ โดยการประเมินของสำนักงานประเมินและรับรองมาตรฐานการศึกษา (สมศ.)

            “ โรงเรียนนอกกะลา “คือ ความภูมิใจวันนี้ของ มิสเตอร์คอนดอม นักบุกเบิกซีเอสอาร์ ที่เตรียมการว่าปีหน้าจะต้องขยายโรงเรียนนี้ไปสู่ระดับมัธยม 

“ผมอยากจะเชิญชวนให้ภาคธุรกิจที่ต้องการมีส่วนช่วยในการพัฒนาการศึกษา และสังคม เข้ามามีส่วนรวมในโครงการพัฒนาหมู่บ้าน ที่เราได้ใช้ประสบการณ์กว่า 20ปี พัฒนาจนเป็นรูปแบบการมีส่วนรวมที่ยั่งยืน กว่าการช่วยเหลือแบบสังคมสงเคราะห์ที่เป็นอยู่”

กรุงเทพธุรกิจ                    วันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

หมายเลขบันทึก: 185923เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2008 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท