การดูแลสุขภาพบุคคลบกพร่องทางสติปัญญาวัยผู้ใหญ่ ตอนที่ 3


การดูแลสุขภาพบุคคลบกพร่องทางสติปัญญาวัยผู้ใหญ่มีความสำคัญเนื่องจากบุคคลบกพร่องทางสติปัญญามีชีวิตยืนยาวขึ้น

การจัดการปัญหาพฤติกรรมและจิตเวช

รายที่สื่อสารไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจเป็นสัญญาณแรกว่าเกิดปัญหา ต้องแยกโรคทางกายหรือการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมก่อน  ในรายที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ปัญหาทางจิตเวช เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ  ซน สมาธิสั้น และโรคอารมณ์สับสนแปรปรวน ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้พฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรงขึ้น แม้ว่าภาวะบกพร่องทางสติปัญญาบางสาเหตุจะมีลักษณะปัญหาพฤติกรรมเฉพาะ แต่ส่วนใหญ่ปัญหาพฤติกรรมในบุคคลบกพร่องทางงสติปัญญาเกิดจากปัญหาทางจิตเวชและตอบสนองต่อการรักษาเช่นเดียวกับในประชากรทั่วไป 

การใช้ยาหรือปรับพฤติกรรมเพื่อลดการบาดเจ็บต่อร่างกายและอารมณ์ของบุคคลบกพร่องทางสติปัญญาและผู้ดูแล ทำให้เพิ่มโอกาสการอยู่ร่วมในชุมชน การให้คำปรึกษาหรือจิตบำบัดในรายที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยหรือปานกลางอาจช่วยลดปัญหา ในกรณีที่ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นอาจต้องได้รับยาในช่วงสั้นๆ และการรักษาควรปรับตามสาเหตุว่าเป็นจากโรคทางกาย การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมหรือปัญหาทางจิตเวช

ควรสอนรื่องยาเสพติดและแอลกอฮอล์ การพัฒนาสัมพันธภาพ เรื่องเพศ การทารุณกรรมทางเพศ การป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศที่ไม่เหมาะสม

ประเด็นทางกฎหมายและบั้นปลายชีวิต

ควรพิจารณาถึงใบยินยอม  การตัดสินใจรับการรักษา ความกลัวของครอบครัวว่าจะไม่ได้รับ

การดูแลสนับสนุนที่ดี ควรมีการพูดคุยกันก่อนเกิดวิกฤต ควรมีการบันทึกข้อเรียกร้องในบั้นปลายชีวิต รวมทั้งการจัดการพิธีศพตามศาสนา รายที่ตัดสินใจไม่ได้ควรมีผู้พิทักษ์สิทธิ์ และพิจารณาการรักษา การช่วยฟื้นคืนชีวิต

โดยสรุป การดูแลสุขภาพบุคคลบกพร่องทางสติปัญญาวัยผู้ใหญ่มีความสำคัญเนื่องจากบุคคลบกพร่องทางสติปัญญามีชีวิตยืนยาวขึ้น อยู่ร่วมในสังคมได้มากขึ้น การดูแลควรมีความต่อเนื่องและครอบคลุม มีการคัดกรองสุขภาพเป็นระยะ ผู้ดูแลควรเข้าใจลักษณะเฉพาะโรคทางกายและปัญหาพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในบุคคลเหล่านี้ การมาพบแพทย์จะประสบความสำเร็จ ถ้าสร้างความคุ้นเคยให้ผู้ป่วย วางแผนรับมือกับปัญหาพฤติกรรม บางกลุ่มอาการมีลักษณะเฉพาะของโรคทางกายและปัญหาพฤติกรรม การดูแลสุขภาพจึงควรครอบคลุมโรคทางกายและปัญหาพฤติกรรม  ประเด็นสุขภาพที่มักถูกละเลย ได้แก่ เรื่องเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตัดสินใจในช่วงบั้นปลายชีวิต

 

หมายเลขบันทึก: 184717เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2008 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท