รู้เท่าที่พอใช้ VS รู้กว้าง


บางเล่มระบุว่า ควรจัดการเฉพาะความรู้หลัก ๆ เฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้น ส่วนบางเล่มก็สนับสนุนให้คนมีความรู้หลากหลาย

ช่วงนี้มีคำถามที่ยังคาใจ ไม่รู้ว่าจะถูกหรือผิดยังไง

คือว่าเอาหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง KM-LO กับเรื่องการคิดมาอ่าน ทบทวนแล้วเห็นว่า บางเล่มระบุว่า ควรจัดการเฉพาะความรู้หลัก ๆ เฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้น ส่วนบางเล่มก็สนับสนุนให้คนมีความรู้หลากหลาย ไม่ใช่รู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งลึก ๆ เพียงอย่างเดียว (ที่ท่าน อ. ไร้กรอบชอบเรียกว่า ฉลาดลึกแต่โง่กว้าง) ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงเรื่องการคิดแบบองค์รวม ผมไม่แน่ใจว่าสองเรื่องนี้ขัดแย้งกันหรือไม่ ซึ่งผมลองพยายามตีความแบบไม่ให้ 2 แนวคิดที่ว่าขัดแย้งกัน ซึ่งมองได้ 2 แง่คือ

-          แง่หนึ่ง สำหรับระดับองค์กร ควรมุ่งจัดการความรู้เฉพาะส่วนที่จำเป็น แต่ระดับปัจเจกให้รู้กว้าง

-          อีกแง่หนึ่ง คือ ให้รู้ด้านใดด้านหนึ่งให้ลึก ขณะเดียวกันก็ให้รู้เรื่องอื่น ๆ ในระดับพื้น ๆ อย่างกว้างขวาง

ก็เลยอยากสอบถามท่านที่เข้ามาอ่านว่ามีความคิดเห็นอย่างไรก้นบ้างครับ

 

หมายเลขบันทึก: 184334เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2008 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะ...คนเผาถ่าน
  • หายไปนานเลยนะค่ะ
  • ....
  • หมอเจ๊มาแลกเปลี่ยน...ทั้งสองเรื่องไม่ได้แย้งกัน....
  • เวลาหมอเจ๊ใช้...จะใช้ทั้ง 2 อย่าง
  • เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในองค์กร..ไม่ติดกรอบกำลังคนจนตึงมากเกินไป....ใช้คนได้หลายระดับมาทำงานรวมกัน..ทำให้องค์กรได้ทีมงานทีมีความเป็นเลิศ...เสริมจุดอ่อนให้กันและกัน....เพื่อผลงานที่ดีกว่า
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ หมอเจ๊ ที่ช่วยแนะนำครับ ที่ไม่ได้เขียนนานเพราะว่าไม่มีอะไรจะเขียน + งานอื่นยุ่ง ๆ อยู่ครับ

เดี๋ยวนี้เปลี่ยนสกุลเป็นแซ่เฮเรียบร้อยโรงเรียนพ่อครูบาไปแล้วนะครับ

  • พ่อครูบาท่านให้คนมาสู่ขอไปเป็นลูกสาว....แล้วมีคนตามอ้อนอีกหลายๆคน.....หมอเจ๊เลยใจอ่อนเพราะความเมตตาที่มอบมาให้.....เลยยอมใช้แซ่เฮเรียบร้อยโรงเรียนครูบาค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท