มาตรฐานครูศูนย์การเรียนชุมชนอำเภอพระยืน


การใช้เทคโนโลยีกับการเก็บข้อมูล

   ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่รับผิดชอบ 5 ตำบล 54 หมู่บ้าน ประชากรทั้งอำเภอประมาณ 34,000 คน กศน.มีบุคลากรทั้งหมด 23 คน ครู ศรช. 15 คน ครู ปวช.4 คน พนักงานราชการ 2 คน บรรณารักษ์ 1 คน และท่าน ผอ. 1 คน บุคลากรมี Notebook ใช้ปฏิบัติการเก็บข้อมูลทุกคน  ครู ศรช.มี Website เป็นของตัวเองทุกคน ครู ศรช.มีที่ทำการศูนย์การเรียนชุมชนในหมู่บ้านหลัก และในหมู่บ้านหลักนั้นครู ศรช. จะต้องจัดเก็บข้อมูลให้ครอบคุม  จัดทำแผนที่ชุมชน จัดทำวิจัยชุมชน เก็บข้อมูลบริบทชุมชน ทุนของชุมชน ครูชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้ สินค้า Otop ข้อมูลรายครัวเรือน ข้อมูลรายบุคคล(เช็ครายบ้านเลขที่ตั้งแต่บ้านเลขที่ 1 ถึงบ้านเลขที่สุดท้าย ระบุข้อมูลว่าจบการศึกษาชั้นไหน อายุเท่าไร ทำงานที่ไหน พร้อมรูปถ่าย สามารถคลิกหลังคาบ้านเห็นบุคคลภายในบ้านพร้อมข้อมูล) ครู ศรช.ในหมู่บ้านหลักมีบทบาทอย่างไร ให้ครู ศรช.นำข้อมูลเหล่านี้ มาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลชุมชนส่งขึ้น Internet ท่าน ผอ.จะตรวจผลงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ท

หมายเลขบันทึก: 183983เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2008 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

สนใจงานของ กศน จึงแวะเข้ามาอ่าน

เป็นงานที่ใหญ่มากเลย กำหนดส่งเมื่อไหร่คะ

คนในชุมชน สามหมื่นกว่าคนนี้ เราต้องมีข้อมูลของทุกคนเลยหรือ

ธนพร

ขอบคุณ คุณธนพร ครูศูนย์การเรียนชุมชนจะต้องรู้ข้อมูลประชากรทุกคนในชุมชนที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ แต่ในเบื้องต้น หมู่บ้านหลักที่ครูดูแล ครูจะต้องรู้จักกับประชากรทุกคนจริง  ครู ศรช.ของอำเภอพระยืน ทั้ง 15 คน ทุกคนเป็นคนในหมู่บ้านหลักที่ตัวเองเลือก จึงทำให้รู้ข้อมูลเชิงลึกในชุมชน ในกรณีของตัวผม ผมก็เป็นคนที่เกิดในหมู่บ้านหลักที่ผมเลือก ผมจึงรู้ข้อมูลของหมู่บ้านเป็นอย่างดี และในการทำงานของพวกผม ก็จะปักหลักในหมู่บ้านหลักของตัวเอง ในแต่ละวันก็จะเก็บข้อมูล  พร้อมกล้อง digital และupdate ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา 

ขอบคุณค่ะ คุณครูนอกระบบบ้านโต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท