บนถนนการนิเทศ ตอน Best practices"Roving Team"


Roving Team หน่วยเคลื่อนที่เร็ว กลุ่มคนที่มีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือโรงเรียนในฝันที่ต้องการความช่วยเหลือ

 

 

บนถนนการนิเทศ ตอน Best Practices"Roving Team (RT)"

                                  มีท่านผู้สนใจถามเรื่อง Roving Team  ซึ่งจำได้ว่าโครงการรุ่งอรุณ ได้นำแนวคิดนี้มาใช้เมื่อมหลายปี มาแล้วจะมีงานหรือโครงการอื่นใช้อีกหรือไม่ ไม่ทราบเป็นแนวคิดที่ดี  ในช่วงที่โครงการโรงเรียนในฝันต้องขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการนิเทศ  และในขณะที่โรงเรียนในโครงการมีเป็นจำนวนมากถึง 921 โรงเรียน   กระจายอยู่ทุกอำเภอ  สำหรับรุ่นที่1ส่วนมากเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาหรือโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาเดิม  ก่อนปรับเปลี่ยนโครงสร้างจะได้รับการนิเทศจากศึกษานิเทศเขตการศึกษามีทั้งหมด12 ดเขตการศึกษา และเมื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างไม่มีเขตการศึกษา ศึกษานิเทศก์จะอยู่ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตการศึกษาทั้ง12 เขตการศึกษาก็ไม่สามารถกระจายตัวได้ครบทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดังนั้นเมื่อความต้องการจำเป็นในการนิเทศยังมีอยู่มาก จึงเป็นแรงบันดาลใจทำให้โครงการโรงเรียนในฝันนำแนวคิด การจัด คณะผู้นิเทศแบบ Roving Team   มาปฏิบัติเรามี Roving Team (RT) อยู่ทุกภาค

                    หลังจากดำเนินการไปประมาณ  2   ปีการศึกษาพบว่า Roving Team (RT) เป็นหนึ่งใน Best Practices หรือหนึ่งในวิธีปฏิบัติดีๆที่ทำให้โครงการประสบผลสำเร็จและน่าจะเป็นการร่วมพัฒนาศาสตร์ทางการนิเทศ

                            ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมดูแลโครงการจากส่วนกลางขอถือโอกาสนี้ขอบคุณในความร่วมมือ ความเสียสละของ Roving Team (RT) ทุกท่าน

                         Roving Team (RT)  หรือหน่วยเคลื่อนที่เร็ว หมายถึงคณะบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะทางอย่างหลากหลาย  ที่มีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความต้องการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการ จากความหมายดังกล่าวจะเห็นว่าการปฏิบัติงานของ Roving  Team   มีความสอดคล้องกับหลักการของการนิเทศ  ทั้งนี้เพราะการนิเทศเป็นกระบวนการปฏิบัติงานในการแนะนำ ช่วยเหลือ และพัฒนาให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ การปฏิบัติการนิเทศโรงเรียนในฝัน เป็นปฏิบัติการนิเทศการจัดการเรียน การสอน นิเทศการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการอย่างมีคุณภาพ และเนื่องจากแนวปฏิบัติสอดคล้องกับความหมายของ Roving  Team จึงเรียกปฏิบัติการครั้งนี้ว่าการนิเทศโดย Roving  Team  

                       แนวคิดหลัก    การกำหนดรูปแบบการนิเทศโดย Roving Team มีพื้นฐานแนวคิดซึ่งเป็นหลักในการออกแบบการนิเทศดังนี้   

                             1.  การนิเทศเป็นกระบวนการพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน (ครู ผู้บริหาร) ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพผลการนิเทศพิจารณาที่คุณภาพของผู้ปฏฺบัติ และคุณภาพของงาน คุณภาพนักเรียน คุณภาพโรงรียน

                         2.  การดำเนินงานโครงการโรงเรียนในฝันเป็นการสนับสนุนการพัฒนาการดำเนินในโรงเรียนที่

ต้องอาศัยการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในการทำงานแก่ผู้ปฏิบัติงานให้สามารถพัฒนางาน ต่อยอดงานดว้ยความรวดเร็ว เพื่อสนับนุนการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นรูปธรรมสามารถเป็นต้นแบบโรงเรียนอื่นๆ ได้

                         3. ความต้องการจำเป็นสำหรับโรงเรียนในฝันรุ่นที่1คือการสร้างความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาการงาน การจัดการเรียนการสอน ความต้องขยายแหล่งเรียนรู้ โดยเฉพาะด้านการใช้สื่อ Computer ในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และโรงเรียนในส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือหรือการระดมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการนิเทศ

               ลักษณะสำคัญ  Roving   Team       จากแนวคิดหลักดังกล่าวนำสู่การออกแบบการนิเทศโดย Roving  Team      ในที่นี้ หมายถึงคณะบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ  ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีพร้อมให้ความช่วยเหลือ แนะนำ อย่างรวดเร็วสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับการนิเทศ  ติดตาม ดูแล ตลอดจนเฝ้าระวังเพื่อความเข้มแข็งของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนในฝัน ประกอบด้วยศึกษานิเทศก์ หรือบุคลากรอื่นที่มีคุณลักษณะดังกล่าว  ลักษณะสำคัญของ Roving  Team  

                              การขับเคลื่อนเพื่อการนิเทศ  เป็นดังนี้

  1. คณะผู้นิเทศประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์  และหรือ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ  เฉพาะเรื่อง              

เฉพาะด้าน  ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการใช้เทคโนโลยี   ใช้Computer   ด้านการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาในที่นี้ ในคณะผู้นิเทศอาจอยู่ต่างสังกัด (ต่างสพท.)

                      2.   การขับเคลื่อนการนิเทศ ศึกษานิเทศก์จะเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนหรือปฏิบัติการนิเทศโดยการประสานเชื่อมโยงกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและภาพรวมทั้งจังหวัด เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน

                     3. ปฏิบัติการนิเทศเป็นไปตามความต้องการจำเป็นของผู้รับการนิเทศทั้งสาระและระยะเวลาในการนิเทศ

    ปฏิบัติการนิเทศ

                         การนิเทศโดย Roving Team ตามแนวคิดหลักและรูปแบบการนิเทศ  ปฏิบัติการในกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะโรงเรียนในโครงการโรงเรียนในฝัน มีกิจกรรมสำคัญดังนี้

  1. การประสานทำความเข้าใจกับคณะผู้นิเทศ ซักซ้อมความเข้าใจในบทบาทและวางแผนการ

นิเทศโรงเรียน

  1. กิจกรรมสำคัญในแผนปฏิบัติการนิเทศของ Roving  Team  ประกอบด้วย

2.1          ร่วมกับโรงเรียนวางแผนพัฒนางานในโรงเรียน

2.2          ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ในการพัฒนางานโดยเฉพาะการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานตามความต้องการ เช่น

1)   กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานในโรงเรียนที่เป็นเป้าหมายให้เหมาะสมต่อการพัฒนางานเชิงคุณภาพ (1-2 สัปดาห์)

2)   สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับโรงเรียน (บางคณะอาจพักค้างในโรงเรียน ช่วยเหลือแก้ปัญหาอื่น

ร่วมกับโรงเรียนตามความเหมาะสม เช่น ช่วยออกแบบกิจกรรมการแสดงตามที่ชุมชนร้องขอ(ตัวอย่างเรื่องบนถนนการนิเทศ ตอนการนิเทศแบบฝังตัว  ของRTหมูและRTพนิต)

3)   ร่วมในการจัดการเรียนการสอนปกติ โดยเป็นพี่เลี้ยงครู ช่วยครูสอน  สาธิตการสอนให้คำแนะนำครูระหว่างการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะด้าน Computer

4)     ประชุมครูเพื่อประเมินการปฏิบัติงาน กำหนดแนวทางแก้ไข และพัฒนาต่อ (ปฏิบัติต่อจากการจัดการเรียนการสอนในเวลาปกติ)

5)  เป็นวิทยากร เฉพาะเรื่องที่มีความเชี่ยวชาญ

2.3  ประเมินความพร้อมของโรงเรียนก่อนขอรับการ ประเมินเพื่อให้การรับรองการเป็นโรงเรียนในฝัน

2.4  ร่วมพัฒนาต่อเนื่องโดยเฉพาะจุดที่ต้องปรับปรุง

2.5  ร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจเยี่ยม และรับรองคุณภาพโรงเรียนในฝัน

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ

                             ปฏิบัติการนิเทศโดย Roving Team ในโครงการโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 1 นับว่าประสบผลสำร็จ                      ระดับหนึ่งและพบว่ามีปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จดังนี้

                            1. การเลือกคณะผู้นิเทศโดยให้คณะผู้นิเทศมีส่วนในการคัดเลือกและเลือกผู้ที่มีความเหมาะสม ตามความต้องการของผู้รับการนิเทศ

                           2. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะผู้นิเทศ

                           3. กำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน

                           4. การได้รับความร่วมมือจาก สพท.ที่ Roving Team สังกัดและ สพท.ที่เกี่ยวข้อง

                           5.  ส่วนกลางประสานการดำเนินงานกับต้นสังกัดของ Roving Team การประสานงานดำเนินการทั้งในระดับบังคับบัญชาและระดับปฏิบัติ (โรงเรียน)

                           6.  คณะผู้นิเทศจากส่วนกลางเป็นผู้พาทำ นำการนิเทศโดยตรง(ตัวอย่างเรื่องบนถนนการนิเทศ   ตอนนิเทศแบบพาทำ)  ด้วยการนำ Roving Team เข้าร่วมเป็นคณะตรวจเยี่ยม เพื่อประเมินความพร้อมและประเมินเพื่อรับรองต้นแบบโรงเรียนในฝัน

                           7.  การประสานงานจากส่วนกลางเป็นไปอย่างต่อเนื่องทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

                           8.  ได้รับขวัญ   กำลังใจให้เกียรติซึ่งกันและกันระหว่างผู้ปฏิบัติงาน

                           9.  เงื่อนไขเฉพาะตัวผู้นิเทศ (Roving Team )

9.1 มีความรู้ ความสามารถในเรื่องที่รับผิดชอบในการนิเทศเป็นอย่างดี

9.2 มีประสบการณ์และความสามารถในการนิเทศ

9.3 มีความเสียสละและทุ่มเทโดยเฉพาะเสียสละความสะดวกสบายส่วนตัว

9.4 ได้รับความศรัทธาจากผู้รับการนิเทศมาก่อนที่จะเข้าร่วมเป็น Rovng team

     10. ใช้เทคนิคและวิธีการเฉพาะเรื่องที่ทำการนิเทศอย่างหลากหลาย เช่นเ เทคนิค Coaching (CQCD)

เทคนิคการสาธิต การนิเทศโดยการสอนแบบจุลภาค  Micro teaching เทคนิคการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในสภาวะการทำงานปกติ (On the job  training) เทคนิคการพาทำ ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 183236เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2008 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ ท่านชัดเจน ไทยแท้
  • อ่านบันทึกแล้ว ทำให้ชัดเจนในเรื่องของการนิเทศโดย Roveing Team (RT)
  •  การนิเทศแบบนี้ ใช้ได้กับโรงเรียนในฝันเท่านั้นหรือคะ?
  • น่าจะนำไปปรับใช้กับโรงเรียนปกติ ก็ได้ใช่ไหมคะ?
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ คุณเอื้องแซะ

       ใช้ได้ค่ะขึ้นอยู่กับผู้นำไปใช้ แต่ขอให้ดูปัจจัยความสำเร็จนะคะ

งานทุกอย่างที่เกี่ยวกับโรงเรียนในฝัน ทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างให้นำไปพิจารณาปรับใช้ค่ะ

ท่านบรรจง

ขอบคุณมากขอบคุณในความมีน้ำใจของทุกท่านในวันนั้น

RT ทุกท่าน

ขณะนี้ RT เป็นที่กล่าวถึงและจะทำให้คนรู้จักมากขึ้น พวกเรา(ครอบครัวโรงเรียนในฝันทุกคน)ถือว่าเป็นหนึ่งใน Best Practices ของโครงโรงเรียนในฝัน กำลังมีความพยายามที่จะพบปะกัน ระหว่างนี้อยากแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติดี(Best Practices)ในการนิเทศของ RT ใครทำอะไรดีๆเล่ามานะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท