ประสบการณ์(ปิดเทอม3)


ภาพสวยๆ

·          วันที่ 6 พ.ค. 51 เดินทางไปจังหวัดเพชรบุรี มีคณะผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นเพิ่มมาอีก 3 คนและล่ามของญี่ปุ่นคนหนึ่ง ทำให้การเดินทางต้องใช้รถตู้สองคันจำนวนคนไม่คงไม่ต้องพูดถึง(เพราะเยอะมาก)   ไปถึงจังหวัดเพชรบุรีตอนสี่โมงครึ่ง สหกรณ์การเกษตรที่นี้เป็นนิคมสหกรณ์การเกษตรที่มีขนาดเล็ก (กลุ่มสหกรณ์หุบกะพง)  ที่นี่มีการเลี้ยงไก่ไข่ จำหน่ายเส้นใยป่านศรนารายณ์ (การถักป่านศรนารายณ์ , ถักกระเป๋า) ผักปลอดสารพิษ เกลือสปา สบู่สมุนไพร(น่าสนใจ) ที่หุบกระพงไม่เคยทำสวัสดิการกับเด็กที่เกิดใหม่แต่หลังที่ไปดูงานที่ญี่ปุ่นกลับมาก็ได้มีการคิดทำสวัสดิการกับเด็กที่เกิดใหม่และปัจจุบันก็ยังทำอยู่ กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ที่นี่อยากให้ที่หุบกะพงเป็นเหมือนแหล่งท่องเที่ยว เป็นสถาน ที่พักก่อนสำหรับผู้ที่สัญจรผ่านไปมา เพื่อต้องการให้คนที่เดินทางได้พักระหว่างการเดินทาง ก็จะทำให้ที่หุบกะพงสามารถขายสินค้าได้ เพราะสินค้าที่นี่มีทั้งทำเอง และสินค้าบางอย่างก็รับซื้อจากที่อื่น  ส่วนทางด้านปัญหาใหญ่ของที่นี่คือมีน้ำใช้ไม่เพียงพอ เพราะบางหมู่บ้านน้ำในเขื่อนก็เข้าไปไม่ถึง(ปัญหานี้เจอมาหลายจังหวัดแล้ว) หลังจากนั้นก็คณะผู้เชี่ยวชาญก็ได้ให้คำแนะนำเสร็จแล้วก็ประมาณบ่ายโมงต่อจากนั้นก็เดินทางไปต่อไปกินข้าวที่ศูนย์ถ่ายถอดเทคโนโลยีการเกษตรในพระราชนูปถัมภ์ ภายในบริเวณแห่งมีต้นไม้หลายหลายชนิด เป็นที่ที่ร่มรื่นเหมาะกับการพักผ่อนและมาเที่ยวมาก (แต่ตอนกินข้าวต้องระวังเพราะมีแมลงวันเยอะมาก) ต่อจากนั้นก็เดินทางไปดูกลุ่มที่ทำผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็น หมวก กระเป๋าสะพาย  พวงกุญแจ ฯลฯ เห็นว่าพรุ่งนี้คนญี่ปุ่นจะมาที่นี่อีกเพราะเขาจะมาช่วยแนะนำเกี่ยวกับการออกแบบลวดลายและการจัดเรียงสินค้าภายในร้าน เพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อของมากๆ  แต่ก่อนกลับก็ได้มีการโชว์วิธีการจัดของในตู้ให้ดู เป็นตัวอย่าง เพื่อว่าที่ร้านชอบก็สามารถนำวิธีการจัดแบบญี่ปุ่นไปใช้ได้

หลังจากนั้นก็เดินทางต่อไปยังกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ที่รวมกลุ่มกันผลิต สินค้า โดยการนำสมุนไพรมาผสม  อย่างเช่นเกลือขัดผิว ครีมอาบน้ำ(น้ำผึ้งผสมกับนม)  ครีมอาบน้ำผสมสมุนไพรดอกปีบ  เกลือสปา (นมผสมกับโยเกริ์ต) ครีมสปาจากดอกพุด ครีมนวด  ผม ฯลฯ ที่นี่เขาจะมีที่ให้ทดลองใช้เกลือสปาขัดผิวดูก่อน หากใครทดลองใช้แล้วขัดดูแล้วชอบก็ซื้อ  ส่วนใหญ่จะชอบสินค้ากันมากโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง  และซื้อกันไปเยอะเหมือนกัน  วันนี้มีทัวร์มาลงเยอะมากทำให้ในร้านดูแคบถนัดตา  หลังจากนั้นก็เดินทางกลับที่พักวันนี้พักที่โรงแรม แถวชะอำ  อยู่ใกล้กับทะเลมาก พอเก็บของเรียบร้อยก็ไปเดินเล่นแถวชายหาดกับพี่มุ บรรยากาศเย็นสบาย คนไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ ดูแล้วเป็นส่วนตัวดี เหมาะกับการมาเที่ยวกับครอบครัวมาก  เดินเล่นได้สักพักก็กลับที่พัก เพราะมีนัดไปกินข้าวกันกับคนญี่ปุ่นเวลา 18.00 และวันนี้ก็ได้ที่กินข้าวกันอยู่ใกล้ๆ กับโรงแรม ตอนแรกก็คิดว่าไกลเหมือนกัน ก็พี่คนขับรถเล่นขับวนไปวนมา แต่สุดท้ายก็ได้ที่ใกล้ๆ มีส้มตำด้วย(แต่ไม่ใช่ตำปูปลาร้า) อาหารที่นี่อร่อยค่ะ ......วันนี้ไม่รู้โชคร้ายหรือโชคดีเพราะพี่ที่กรมสั่งอาหารเยอะมากแล้วคนญี่ปุ่นก็กินไม่ค่อยมาก สุดท้ายเราอายุน้อยที่สุดก็เลยต้องกินอาหารที่เหลือให้หมด (ทำไงได้ก็เป็นโรคเสียดายของเหลือเพราะคิดว่ากับข้าวแต่ละอย่างแพงทั้งนั้น   นานทีได้กินอาหารดีๆ ต้องกินให้มากเข้าไว้ค่ะ แต่นี่ไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่าไรหากกเทียบกับการที่เด็กบางคนไม่มีอะไรจะกิน ต้องอดมื้อกินมื้อ  แต่เรามีอะไรให้กินเราก็ควรกิน........ให้หมดไม่ดีกว่าหรือ.......)  

A-z  

วันที่ 7 พ.ค.51 เดินทางไปหมู่บ้านไทดำ(อยากไปนานแล้ว) เพราะที่นี่เขาจะมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือน ที่ไหนทั้งขนบธรรมเนียม และเรื่องของการทอผ้าไทดำ ที่นี่มีสินค้าที่ทำจากผ้าหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ชุดฮี (ใส่ในงานศพ) ผ้าพันคอ ผ้าคาดเอว กระเป๋า ผ้าไหมผสมผ้าฝ้าย หมวกสมัยก่อน( เรียกว่า มู่ ) ชุดอ้วงนม( ใช้ในงานอุปสมบท ) ผ้าขาวม้า ตอนนี้เรามาเรื่องประวัติของชาวไทดำ ไทดำ พื้นเพมาจาก เมือง ยูนานประเทศประเทศเวียดนาม ชาวไทดำจะมีการทอผ้าใช้กันเอง ผ้าที่ทอก็เป็นผ้าที่ได้ยกตัวอย่างไปในตอนต้นแล้ว พี่ที่เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้(สถานที่ทอผ้า) ผ้าพื้นของกลุ่มไทดำ จะเป็นสีดำเพราะเขาต้องการอนุรักษ์ความเป็นพื้นบ้านของกลุ่มไทดำในสมัยก่อน แต่ต่อมาก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสีอื่น เพราะลูกค้าบางคนเขาอาจจะชอบสีที่สดใส ดูแล้วสบายตา (ยังคงเอกลักษณ์ของลวดลายไว้เหมือนเดิม) ส่วนเสื้อของที่นี่เขาจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบ่งตามสีตก และแบบสีไม่ตก มีการใช้จักรเย็บและมือเย็บ ทางด้านสมาชิกที่ทอผ้ามีทั้งหมด 6 คน (ดูแล้วมีแต่คุณยายทั้งนั้น) คุณยายบางคนอายุแก่มากแล้ว 75 ปีก็มี แต่ก็ยังสามารถทอผ้าได้(เทียบกับผู้สูงอายุที่คึกคักในญี่ปุ่นได้อย่างสบาย)  คุณยายบอกว่าทอเสื้อตัวหนึ่งจะใช้เวลาประมาณหนึ่งอาทิตย์

          บางครั้งที่นี่เขาจะนำเข้าผ้าที่ย้อมสีแล้วจากโรงงานมาทอ(สีจะไม่ตก)และผ้าที่ย้อมเอง(สีจะตกแต่ก็เป็นธรรมชาติ เพราะปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่เขาจะไม่นิยมใส่ผ้าที่มีสีตกแต่ลายไหมของที่นี่จะใช้สีธรรมชาติ ที่ได้จากเปลือกของผลไม้ (อีกอย่างหนึ่งก็เป็นความเชื่อของชาวไทดำ)   และคุณ Endou ก็ได้ช่วยสมาชิกกลุ่มของที่นี่คิดวิธีวางขายสินค้า (เพราะเธอเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น) ยกตัวอย่างเช่น กล่องบรรจุภัณฑ์ของที่นี่คุณ Endou ก็นำกระดาษหนังสือพิมพ์มารองภายใน กล่องแล้วถึงได้นำผ้ามาใส่ ต่อจากนั้นภายนอกกล่องก็จะนำกระดาษสีขาวหรือสีอะไรก็ ที่ ชอบได้มาวางไว้ด้านหน้ากล่องแล้วนำเอาเส้นใยป่านที่ถักเปียแล้วนำมา  ผูกรอบกล่องและทำสัญญาลักษณ์  หรือ โลโก้ แต่ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายให้ลูกค้าดู ก็อาจจะม้วนผ้าเข้าหากันเป็นลักษณะกลมๆ  แล้วใช้เส้นใยป่าน ผูกรอบผ้า (แบบฉบับญี่ปุ่น)  เสร็จจาก ดูกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองของชาวไทดำแล้ว ก็ไป กินข้าวเที่ยง วันนี้มีน้ำอ้อยให้ดื่มด้วยแต่หวานไปหวานแบบธรรมชาติ   พอดีช่วงที่นั่งกินข้าวอยู่มีนายตำรวจนั่งอยู่ในร้านคุณเอนโด้ ก็เลยไปขอตำรวจถ่ายรูป (เขาบอกว่าตำรวจไทยเท่มาก) เสร็จจากกินข้าวก็ออกเดินทางไปที่หมู่บ้านหุบตะพงมาที่เดิม  เพราะคุณเอนโดจะมาช่วยกลุ่มสมาชิกสหกรณ์จัดร้านและแนะนำวิธีการตกแต่งผลิตภัณฑ์ เรื่องรูปแบบ รูปทรง ลวดลาย แต่ที่นี่จะมีปัญหาหนักตรงที่เส้นใยป่านที่นำมาทำกระเป๋าหรือหมวกเวลาสะพายจะคันๆ (จากกลุ่มผู้บริโภค) ดังนั้นกลุ่มนี้ต้องหาวิธีที่ทำให้กระเป๋าหายคัน แต่ที่ญี่ปุ่นเขาก็จะมีวิธีของเขาคือจะใช้บุกที่เป็นผงแล้วนำผงบุกมาละลายน้ำต่อจากนั้นก็ให้นำหมวกลงไปแช่ทิ้งไว้ ความคันก็จะลดลง (ผงบุกที่ญี่ปุ่น 1 ช้อนชา ราคา 60 บาท)

คุณเอนโด้ยังแนะนำอีกว่าสินค้า เช่น กระเป๋าไม่ควรมีหลายสีจนเกินไป  ฉลากก็เป็นสินค้าอีกตัวหนึ่ง ถ้าหากฉลากดูดี ก็ทำให้สินค้าดูดีมีราคาไปด้วย และไม่ควรตกแต่งด้วยดอกไม้เพียงอย่างเดียว ควรจะมีแบบอื่นบ้าง เช่นผีเสื้อ นก ปลา (อาจทำยากหน่อย)

แต่ที่ที่เมืองไทยคงราคาไม่แพงเท่าญี่ปุ่น ต่อจากนั้นก็จัดร้านให้ดูเป็นบางส่วนโดยการนำผ้าสีพื้นๆ ส่วนสินค้าที่อยู่ในตู้ ควรจะอยู่ในห่อสวยๆ หรืออาจทำโชว์ลูกค้าเป็นบางผลิตภัณฑ์ ผ้าที่ปูพื้นในตู้ไม่ควรเป็นสีสดไป หรือหากมีกล่องก็ควรนำมาวาง สีพื้นๆ อาจจะใช้หนังสือพิมพ์ เพื่อให้สินค้าโดดเด่น การนำลูกไม้ประดับตกแต่งกระเป๋าทำให้กระเป๋าขายยาก เพราะที่ญี่ปุ่นไม่นิยมใช้กัน หรือถ้าใช้ลูกไม้ก็จะใช้สีลูกไม้ที่มีสีกลมกลืนกับกระเป๋า  การทำกระเป๋าก็อาจแบ่งเป็น รูปแบบธรรมชาติ และแบบหลากหลาย ( จ๊าบๆ)

คุณเอ็นโด (artist) พูดว่าเราควรคิดว่าเราทำงานแบบศิลปิน ไม่ใช้ทำงานแบบสาวโรงงาน ให้ถือว่าของที่เราทำมีเพียงเดียวในโลกแล้วผลงานที่เราทำก็จะออกมาดี(เพราะเธอเป็นศิลปิน)

·      สุดท้ายคุณโอคาว้า ก็ได้แนะนำว่าข้างหน้าร้านควรมีหมวกใบใหญ่ๆสักใบแขวนไว้ หน้าร้านเพื่อเป็นจุดเด่นและจุดสนสนใจของลูกค้าที่เดินทางผ่านไปมา

·      ที่ญี่ปุ่นจะใช้เลือกลูกพลับทำถุงกระดาษ เพราะเปลือกลูกพลับจะทำให้ถุงแข็ง

A-c 

 

 

 วันที่ 8 พ.ค. กลับไปดูที่กลุ่มสหกรณ์หุบกะพงเหมือนวันแรกที่มา  แต่วันนี้พิเศษหน่อยเพราะพี่ที่ดูแลร้านเขานำวิธีการที่คุณ เอนโด แนะนำมาจัดร้านเขาให้ดูสวยขึ้น และวันนี้มีรถทัวร์มาลงที่ร้านเยอะเหมือนกัน ทำให้พื้นที่ในร้านดุแคบไปทันตา ระหว่างที่มีลูกค้าเลือกซื้อของ มีผู้ชายคนหนึ่งที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้ ทำให้คุณเอนโด และคุณ โอคาว่า ดีใจใหญ่เลย เห็นว่าเขามาจากนนทบุรี รู้สึกว่าภาษาต่างประเทศเข้ามามีบทบาทกับคนไทยมากเลย คงไม่แปลกที่คนส่วนมากจะพูดภาษาอื่นได้ดีเพราะตอนนี้มีคนต่างชาติมาลงทุน ทำธุรกิจในประเทศไทยเยอะมากเลย ต่อจากนั้นก็เดินทางกลับกรุงเทพฯ ช่วงบ่าย

 

หมายเลขบันทึก: 182897เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2008 07:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท