ยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล : มิติใหม่ของการพัฒนาบนพื้นฐานแห่งเศรษฐกิจพอเพียง


                กรุงเทพมหานครเป็นมหานครที่มีการเจริญเติบโตทั้งด้านประชากรและเศรษฐกิจที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ามหานครอื่นของโลก  และที่สำคัญคือกรุงเทพมหานครมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์  ซึ่งแตกต่างไปจากมหานครอื่นๆ  และด้วยการเจริญโตทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์กรุงเทพมหานครจึงมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และกายภาพอย่างรวดเร็ว  ประชากรจาก  4.7  ล้านคน  ในปี  2523  เพิ่มเป็น  6.7  ล้านคน  ในปัจจุบันจนกระทั่งเป็นกังวลว่าเอกลักษณ์และวัฒนธรรมที่มีอยู่จะถูกลบเลือนหรือบิดเบือนไป  นอกจากนี้ภาวะด้านสิ่งแวดล้อมที่เคยมีความร่มรื่นสงบสุข  ก็ลดลงเป็นอย่างมาก  วิถีชีวิตของประชาชนในกรุงเทพมหานครก็เปลี่ยนไปในทิศทางที่ด้อยคุณภาพลง
               
ยุทธศาสตร์การพัฒนา  ประกอบด้วย  5  ยุทธศาสตร์  ดังนี้
                1.  ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงฐานเศรษฐกิจและการพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  โดยมีแนวทางในการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงการขนส่งรูปแบบต่างๆ  ทั้งทางน้ำ  โครงข่ายถนนและระบบรางที่เน้นการเชื่อมโยงพื้นที่เขตชั้นใน  ด้วยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน  โดยโครงข่ายรถไฟฟ้าใต้ดิน  การพัฒนาระบบขนส่งชานเมือง  ที่ต้องปรับปรุงระบบรถไฟให้ทันสมัยรวดเร็ว
                2.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ศูนย์กลางความเจริญของมหานคร  เพื่อเสริมสมรรถนะในการแข่งขัน  โดยมีแนวทางในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจหลักที่มีบทบาทด้านบริหาร  ธุรกิจ  การเงิน  การธนาคาร  การสร้างนวัตกรรมบนฐานความรู้สมัยใหม่ระดับภูมิภาค  และการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สามารถเชื่อมโยงทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและตลอดเวลา  และการพัฒนาแหล่งการศึกษาและวิจัยเพื่อให้สามารถต่อยอดองค์ความรู้นำไปสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง
                3.  ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและยั่งยืนในการพัฒนาพื้นที่  แนวทางพัฒนาประกอบด้วย  การส่งเสริมการใช้มาตรการทางผังเมืองและมาตรการการจัดรูปที่ดินเมือง  เพื่อกำกับการใช้ประโยชนที่ดินให้สามารถชี้นำการพัฒนาเมืองได้อย่างเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่
                4.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การเป็นมหานครที่แข็งแรงน่าอยู่  แนวทางการพัฒนาประกอบด้วย  การสร้างระบบการเดินทางที่สะดวก  สบาย  มีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย  โดยเน้นการเชื่อมโยงระบบการเดินทางให้สมบูรณ์ควบคู่ไปกับการสร้างทางเลือกในการเดินทางที่ประหยัดพลังงาน  เช่น  การพัฒนาช่องทางจักรยาน  การปรับปรุงทางเท้า  เป็นต้น
                5.  ยุทธศาสตร์การบริหารและการจัดการพัฒนามหานคร  แนวทางการพัฒนาประกอบด้วย  การจัดตั้งกลไกการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑลในระดับชาติ  โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
                การที่จะพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑลไปสู่บทบาทในระดับนานาชาติ  ที่มุ่งพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจด่านหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาและการดำเนินงานครอบคลุมในหลายมิติตั้งแต่ระดับชาติลงมาจนถึงระดับท้องถิ่นและเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของหน่วยงาน  และที่สำคัญการพัฒนาต้องได้รับบูรณาการให้สอดคล้องเป็นไปทิศทางและแนวนโยบายที่กำหนดด้วย  จึงจะส่งผลต่อการพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมายได้

                                        References
อำนาจ  พลเดชา.  ยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพฯและปริมณฑล :  มิติใหม่ของการพัฒนา.
              เศรษฐกิจและสังคม.  หน้าที่  9 , 12-13.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18280เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2006 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท