บนถนนการนิเทศ Best Practices" on the job training"


การพัฒนาบุคคลากรในสภาวะการทำงานปกติ แนวทางการพัฒนาครูที่ไม่ทิ้งห้องเรียน

บนถนนการนิเทศ Best Practices" on the job training"  

       ดีใจที่มีผู้เข้ามาเสนอแนะแนวคิด แนะนำ แลกเปลี่ยน เรามีมิติการเรียนรู้ร่วมกัน

       บนถนนการนิเทศหน้านี้ขอบันทึก Best Practices อีกเรื่องหนึ่งคือ " on the job training" เป็นผลงานที่มาจากการนำแนวคิดสู่การปฏิบัติระหว่างปีการศึกษา2546-2548 กับโรงเรียนต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และเป็นการทำงานในสำนักงานโครงการพิเศษ  การนำสู่การปฏิบัติเรื่องนี้จะ ต่างกับ Coaching เพราะเป็นการดำเนินการทั้งระบบของโครงการ มีท่านผอ.ชัยพฤกษ์ และท่านผอ.เบญจลักษณ์ ซึ่งเป็นผอ.สำนักงานโครงการพิเศษในเวลานั้นเป็นผู้ดูแลการดำเนินงาน จากนั้นนำมาสรุปเป็น Best Practices จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่โดยเฉพาะการดำเนินงานโรงเรียนในฝัน ซึ่งมีหลายโรงเรียนดำเนินการต่อ ขอชื่นชมและได้ตามไปดู จะนำมาบันทึกไว้ต่อไป

On  the job training 

         การนิเทศโดยการพัฒนาบุคลากรในสภาวะการทำงานปกติเน้นการนิเทศเป็นรายคน แนวทางในการปฏิบัติการนิเทศมาจากแนวคิดหลัก ดังนี้

    1.     การนิเทศโดยพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน  (ครู  ผู้บริหาร หรือ เจ้าหน้าที่ )  สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับการนิเทศเป็นรายบุคคล

    2.     สาระในการพัฒนาหรือการนิเทศเป็นงานที่ผู้รับการนิเทศปฏิบัติอยู่อย่างปกติ

    3.     สถานที่ และ เวลาในการพัฒนาหรือการนิเทศ เป็นสถานที่ผู้รับการนิเทศปฏิบัติเป็นปกติ  สำหรับเวลาเป็นเวลาปฏิบัติงานปกติและอาจมีเวลาอื่นบ้างที่ใช้ในการเพิ่มเติมข้อความรู้

 การปฏิบัติการนิเทศ  ในที่นี้นำเสนอมา  2  ส่วน  ซึ่งมีความสอดคล้องกัน

ส่วนที่      การจัดทำแผนหรือโครงการนิเทศ (พัฒนา) จุดเน้นการนิเทศเป็นการนิเทศรายบุคคล                          ดำเนินการ ดังนี้         

                    1.     การกำหนดเป้าหมายการพัฒนา  หรือการนิเทศ โดยการวิเคราะห์  ความจำเป็น  ความสำคัญ ความจำเป็นซึ่งเป็นการกำหนดจุดที่ต้องการพัฒนา

                    2.     จัดทำหลักสูตรการพัฒนา   หลักสูตรประกอบด้วยส่วนสำคัญ  คือ  Concepts  ของหลักสูตร  จุดประสงค์  เนื้อหาสาระ  ระยะเวลา  กลุ่มเป้าหมาย   การประเมินผล  (วิธีการประเมิน  เครื่องมือประเมินและ  เกณฑ์การผ่านหลักสูตร)

                    3.     จัดทำแผนการนำหลักสูตรที่กำหนดไปใช้ในการพัฒนา โดยมีกิจกรรมสำคัญ  คือ  การสร้างความเข้าใจกับผู้รับการนิเทศ  โดยเฉพาะวิธีการพัฒนาที่จะสอดคล้องกับการทำงานในสาระปกติ (กำหนดรายละเอียดในช่วงชั้นที่ 2)  กำหนดระยะเวลาและการประเมินผลตลอดการใช้หลักสูตร  การประสาน วิทยากรในการต่อเดิมข้อความรู้ การจัดหา /จัดทำสื่อ  อุปกรณ์  และงบประมาณ

  ส่วนที่  2    การนำหลักสูตรที่กำหนดสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมดำเนินงาน 8  ขั้นตอน  ประกอบด้วย

                    ขั้นที่  1  การประชุมผู้รับการนิเทศ  การทำความเข้าใจกับหลักสูตรการพัฒนา  ซึ่งเมื่อประชุมกลุ่มใหญ่แล้วอาจแยกเป็นกลุ่มย่อย ๆ  ตามสาระและความต้องการ  มีวิทยากรให้ความรู้ก่อนลงมือปฏิบัติ  

                     ขั้นที่  2  ผู้รับการนิเทศกำหนดแผนปฏิบัติงานของตนเองอาจจะมีข้อตกลงเฉพาะระหว่างผู้รับการนิเทศว่าต้องการให้มีการสาธิต  มีการสังเกตการสอนการสอน  การประชุมปรึกษาหารือ  หรือการประชุมกลุ่มย่อยหรือไม่            อย่างไร  ระยะเวลาใด  จึงจะเหมาะสม 

                    ขั้นที่  3  ทำแผนกำหนดการปฏิบัติในสถานการณ์ปกติ  ควรมีการเติมบันทึกข้อมูลด้วยวิธีการที่เหมาะสมเพื่อนำสู่ขั้นที่  4

                    ขั้นที่  4  ผู้นิเทศสรุปผลการปฏิบัติเพื่อเตรียมผลการดำเนินงาน ทั้งผลที่ปรากฏต่องานของผู้รับการนิเทศ  เช่น  คุณภาพนักเรียน  ความพอใจของผู้รับบริการ  หรือ  กิจกรรมดี ๆ (Best Practices)  ที่ค้นพบในขณะลงมือทำ ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะรวมถึงการเตรียมสื่อ ในการนำเสนอ

                    ขั้นที่  5  ประชุมกลุ่มใหญ่ครั้งที่  2  ผู้นิเทศจำเป็นต้องจัดบรรยากาศให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยทบทวนข้อตกลง  นำเสนอผลงาน  รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  วิทยากรเติมเต็มต่อยอด  ผู้รับการนิเทศสรุปข้อควรพัฒนา  ปรับแผนเพื่อพัฒนาต่อบรรยากาศการนำเสนอ  อาจจัดเป็นนิทรรศการย่อย ๆ เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยน เรียนรู้จากนิทรรศการ

                    ขั้นที่  6  ผู้รับการนิเทศทำแผนปฏิบัติต่อในสภาวะการทำงานปกติในขั้นนี้อาจจะใช้เวลาที่สั้นกว่าขั้นที่  3  ทั้งนี้  เพราะจะเน้นในจุดที่ต้องปรับปรุง   และเข้าสู่การประชุมครั้งที่ 3  เป็นการสรุปผลโดยการนำเสนองานที่ปรับปรุงในขั้นนี้อาจไม่มีวิทยากรพิเศษเติมเต็ม  และเข้าสู่การพัฒนาทั้งระบบ   ระบบการนิเทศยังคงดำเนินการต่อในกลุ่มเป้าหมายต่อไปในการทำงานปกติ 

 ปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ   ประกอบด้วย

                    1.     กำหนดให้ On the job  training   เป็นการนิเทศภายในทั้งภายในโรงเรียน  ภายในหน่วยงาน  ภายในกลุ่มงาน

                    2.     กรณีที่เป็นการนิเทศจากภายนอกควรเชื่อมโยงกับการนิเทศภายใน

                    3.     การยอมรับกันระหว่างผู้รับการนิเทศ  และผู้นิเทศเป็นเรื่องสำคัญ ควรให้ความสำคัญตลอด การนิเทศ

                    4.     ผู้นิเทศควรให้ความสำคัญการนิเทศต่ออการเติมเต็ม ต่อยอด  ดังนั้น  ระหว่างการนิเทศเมื่อมีข้อนี้ จะต้องปรับปรุง  ควรหาวิธีพัฒนาต่อยอด  เช่นเดียวการวิเคราะห์กิจกรรมดี ๆ  เป็นบทเรียน  เพื่อเผยแพร่หรือ            พัฒนาครูต่อไป

                    5. ควรมีการแลกเปลี่ยนผลงานที่หลากหลายทั้งผ่านระบบปกติหรือระบบ ICT

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 182630เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2008 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณที่เข้ามาชม

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท