สินทรัพย์ที่จะนำมาแปลงเป็นทุนจะต้องเป็นสินทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองอยู่
แต่ไม่มีสิทธิ เด็ดขาด จะโอนขายถ่ายเท ไม่ได้ หรืออยู่ในรูปของการเช่า
ซึ่งโครงการนี้แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
1. ประเภทที่ดินและทรัพย์ติดกับที่ดิน ได้แก่
หนังสือแสดงสิทธิต่างๆของที่ดิน เช่น
ที่ดินที่กรมที่ดินออกใบรับรองในการทำ ประโยชน์ตามประมวลกฏหมายที่ดิน
ที่ดิน ส.ป.ก. สัญญาเช่าที่ดิน สัญญาเช่าซื้อที่ดิน ที่ดิน นค. 1
ประเภทสัญญาเช่า เช่าซื้อ
ซึ่งสามารถนำไปเป็นหลักทรัพย์คำประกันกู้เงินกับธนาคารออมสิน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส.)
2. ประเภทสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ ได้แก่
สิทธิการเช่าที่ดินและอาคารในความดูแลของกรมธนารักษ์ การเคหะแห่งชาติ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ซึ่งสามารถนำไปเป็นหลักทรัพย์คำประกันกู้เงินกับธนาคารออมสิน
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส.)
3.
ประเภทหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่สาธารณะและหนังสือรับรองอื่นๆ
ได้แก่ ที่ดินสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กรุงเทพมหานคร
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ซึ่งสามารถนำไปเป็นหลักทรัพย์คำประกันกู้เงินกับธนาคารออมสิน
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
4. ประเภททรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่
ทรัพย์สินทางปัญญาที่กฎหมายรับรองและได้จดทะเบียนสิทธิบัตร
ซึ่งสามารรถนำไป
เป็นหลักประกันกู้ยืมเงินจากบรรษัทเงินทุนอุตสาห-กรรมแห่งประเทศไทย
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ง ประเทศไทย
5. ประเภทเครื่องจักร
ได้แก่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ได้จดทะเบียนไว้กับกรมโรงงาน อุตสาหกรรม
ซึ่งสามารรถนำไปเป็น
หลักประกันกู้ยืมเงินจากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ง ประเทศไทย
เรียนคุณทราย
ขอบคุณค่ะที่ได้สอบถามเกี่ยวกับที่ดิน สปก. ดิฉันใคร่ขอตอบดังนี้ค่ะ
1. กรณีที่คุณทรายต้องการนำที่ดิน สปก.ไปค้ำประกันการกู้ยืมเงินนั้น จะสามารถกระทำได้ต่อเมื่อการกู้ยืมเงินนั้นทำเพื่อการเกษตรและอยู่ภายในจังหวัดนั้น ๆ เท่านั้น
2. สามารถขอรับการสนับสนุนเงินทุนในรูปของสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรได้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามโครงการที่กรมป่าไม้และ ธ.ก.ส.จัดทำขึ้น
และดิฉันใคร่ขอเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตมีสิทธิทำกินเพิ่มเติม ดังนี้ค่ะ
- เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่ใช่นิติบุคคล)
- บรรลุนิติภาวะแล้วและเป็นหัวหน้าครอบครัว
- เป็นผู้ที่ได้ประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ที่ขอมีสิทธิทำกินอยู่แล้วสิทธิ
1. สามารถอยู่อาศัยและทำกินต่อไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยถูกต้องตามกำหนด
2. สิทธิทำกินตกทอดไปถึงทายาทได้
3. สามารถขออนุญาตนำไม้ที่ได้ปลูกขึ้นภายในที่ดินที่ได้รับอนุญาต (ตามแบบ สทก.1 ก หรือ สทก.2 ก หรือ สทก.1 ข) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องชำระค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่า
ขอรบกวนถามหน่อยนะคะ พอดีว่าทำ IS เกี่ยวกับเรื่องแนวทางการบัญชี เรื่องธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ แล้วต้องการกลุ่มตัวอย่างของบริษัทที่ได้มีการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ไม่ทราบว่าต้องไปหาข้อมูลจากที่ไหนหรอคะ คือไม่แน่ใจว่าจะต้องไปเจาะกลุ่มธุรกิจประเภทไหนดีอ่ะค่ะ รบกวนหน่อยนะคะ มืดแปดด้านแล้วอ่ะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ