OPAR การวิจัยปฏิบัติการในระดับเขตพื้นที่ด้วยสูตร P=C-F


ปัญหา[Problem] หมายถึง ส่วนต่างระหว่างเกณฑ์[criteria,mean] หรือระดับที่พอใจ[satisfaction level]ที่กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐานกับสภาพจริง[fact] ที่ปรากฏขึ้น

เพื่อน KM ที่รักคิดถึงยิ่ง วันนี้ขอถือโอกาสนำสาระน่ารู้ น่าใช้มานำเสนอเพื่อเผยแพร่ ในฐานะสมาชิก KMนะครับ ท่านผู้รู้กล่าวไว้ว่า  อันความรู้นั้นไซ้ หากไม่นำมาใช้ก็จักด้อยค่า  จึงจงใจนำมาเสนอในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ !!! โปรดติดตาม

 

OPAR  การวิจัยเชิงปฏิบัติการในเขตพื้นที่  ด้วยสูตร P = C – F

 

ความหมาย

            OPAR ในที่นี่ให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  หัวหน้าหน่วยงาน /หัวหน้าสำนักงานหรือบุคลากรในเขตพื้นที่ลงมือปฏิบัติร่วมกันในการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ โดยใช้ข้อมูล [DATA] สารสนเทศ [INFORMATION] ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ของตนเพื่อพัฒนางานของตนเองและหรือพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY  OF  LIFE]

 

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา  ๓๐   ระบุ

ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน

ในแต่ละระดับการศึกษา

 

 

                        จึงเป็นข้อผูกพันที่เรา-ท่านที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย [STAKEHOLDERS]ในกิจการการศึกษาของบ้านเมืองของเราที่จักต้องดูแล  เอาใจใส่ร่วมกันในการแปลสาระบัญญัติดังกล่าวนี้ออกสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาการศึกษาผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ถือ  ผู้เรียนสำคัญที่สุด

                   และในที่นี่ก็จึงเป็นหนึ่งในหลายๆความพยายามในพันธกิจเพื่อให้บรรลุตามสารบัญญัติแห่งกฎหมายสำคัญดังกล่าวข้างต้น

 อธิบาย/ขยายความ

            ในการศึกษาวิจัย OPAR  นี้ดำเนินการภายใต้กรอบของความหมายของ คำ OPAR และสูตร P = C-F ดังนี้

OPAR เป็นคำย่อ ของคำต่อไปนี้

                             O : OFFICE/ORGANIZATION

 ในที่นี่หมายถึง สำนักงาน/องค์การ  เป็นการวิจัยโดยใช้ข้อมูล/สารสนเทศในหน่วยงาน หรือองค์การนั่นเอง

  P : PARTICIPATION ในที่นี่หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย[STAKEHOLDERS] ในชั้นเรียน ในที่นี่เน้นที่ ครูผู้สอน / ครูในสายชั้น / ครูในหมวดวิชา  / ผู้บริหาร นักเรียน /ผู้ปกครอง /นักวิชาการ หรือ……

   A : ACTION ในที่นี่จงใจให้มีความหมายครอบคลุมถึง การลงมือปฏิบัติการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยแบบมีส่วนร่วม

  R : RESEARCH ในที่นี่ก็จงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การศึกษาค้นคว้า ทดลองวิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวครูผู้สอนเอง

                        ดังนั้น OPAR ในที่นี่จึงจงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การที่ผู้บังคับบัญชา  หัวหน้าหน่วยงาน หรือบุคลากรในเขตพื้นที่ลงมือปฏิบัติร่วมกันในการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูล [DATA] สารสนเทศ [INFORMATION] ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ของตนเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY  OF  LIFE] ตามรูปแบบ และขั้นตอน ดังต่อไปนี้

 

 รูปแบบ [MODEL] การค้นหา ปัญหา [PROBLEM]

          ในที่นี่เน้นให้ค้นหา ปัญหา  [PROBLEM]  ด้วยสูตร  P = C-F

นั่นคือ ผู้ศึกษาวิจัยต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

          1.เก็บข้อมูล [DATA   /สารสนเทศ [INFORMATION COLECTING] ในชั้นเรียนที่สำคัญ 2 ตัว ือ

  

2. การเก็บข้อมูล [DATA   /สารสนเทศ [INFORMATION COLLECTING]  เน้นที่การเก็บรวบรวมในรูปของตาราง [TABLES] โดย COMPUTER โปรแกรม  EXCEL ดังเช่น

          3.การแปลง ข้อมูล [DATA   /สารสนเทศ [INFORMATION COLLECTING] ในตารางออกเป็นแผนภูมิ[GRAPH]  โดย COMPUTER โปรแกรม  EXCEL

4.  แปลความ/อธิบายความจาก แผนภูมิ[GRAPH]

5. ระบุปัญหา/จุดที่ยังไม่พอใจ ด้วยสูตร   

P=C-F

 

6.  วิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหา [ALTERNATIVES]  ด้วย  FGD.TECHNIQUE

7. คัดเลือกแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ที่สุด [SELECTED ALTERNATIVE]

8.  จัดสร้างนวัตกรรม [INNOVATIN] ที่สอดคล้องกับแนวทางแก้ปัญหาในข้อ 7

 9.ขียนรายงานการศึกษาวิจัย [REPORTING]

10.เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ ด้วย   SYMPOSIUM และหรือ อื่นๆ

 

 

       ************ 

 

                                  กรณีตัวอย่าง                                                     

เรื่อง การศึกษา วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ  OPAR

 

           ปัญหา[PROBLEM]หมายถึงส่วนต่างระหว่างเกณฑ์ [CRITERIA,MEAN,NORM]  หรือ ระดับที่พอใจSATISFACTION  LEVEL]ที่กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐานกับสภาพจริง[FACT] ที่ปรากฏ ดังกำหนดเป็นสูตรขึ้นไว้ดังนี้

P=C-F

                         นั่นคือ ถ้าความแตกต่างมีมากก็แสดงว่าสิ่งนั้นมีปัญหามาก แต่หากความแตกต่างมีน้อย ก็แสดงว่าสิ่งนั้นก็มีปัญหาน้อย

                   ดังนั้นจะเห็นว่าในการมองสภาพปัญหาตามสูตรดังกล่าว ผู้มองต้องศึกษาให้รู้ถึง ข้อมูล สารสนเทศหรือดัชนีถึง 3 ตัวคือ

                        1.ข้อมูล[DATA] หรือ สารสนเทศ [INFORMATION]หรือดัชนี[INDICATOR]    ที่เป็นเกณฑ์ [CRITERIA,MEAN,NORMหรือ SATISFACTION  LEVEL]ที่กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐาน

                   2.ข้อมูล[DATA]หรือสารสนเทศ [INFORMATION]หรือดัชนี [INDICATOR] ที่เก็บมาได้

                   3.ค่าที่ได้จากการลบตัวเลขระหว่างเกณฑ์ (ในข้อ1)กับข้อมูลที่เก็บมาได้ในข้อ 2

                   4.แล้วนำค่าที่ได้จากข้อ 3 ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน [STANDARD LEVEL]ที่ตั้งไว้เป็นบรรทัดฐานแล้ว ก็จะทราบได้ว่า มีมาตรฐานระดับใด.

 

 

  รูปแบบในการศึกษาวิเคราะห์

         

ในการศึกษาครั้งสำคัญนี้ ผู้เขียนตั้งใจจะนำเสนอใน 6 ประเด็นหลักคือ

          1.นำเสนอสภาพปัจจุบันในรูปของข้อมูลเป็นตาราง

          2.จัดกระทำเป็นแผนภูมิ [GRAPH]

          3.วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบด้วยการอธิบาย/ขยายความ ตามสูตร P=C-F

          4.ชี้ประเด็นที่เป็นปัญหา/จุดที่ยังไม่น่าพอใจ

5.ชี้โอกาสการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาในประเด็นปัญหานั้นๆ

6.การสร้างนวัตกรรม /แนวคิด /ทฤษฏี เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

 

ซึ่ง  ศักยภาพ ให้หมายถึงขีดความสามารถในการลดช่องว่าง[GAP]ระหว่างเกณฑ์[CRITERIA]กับสภาพจริง [FACT]

          และ การเพิ่มศักยภาพ ก็ให้หมายถึงการใส่ทรัพยากรการบริหารจัดการ[ADMIINISTRATIVE RESOUCES]เข้าไปในระบบ [SYSTEM APPROACH]คือ ปัจจัย[INPUT] กระบวนการ [PROCESS] เพื่อส่งให้เกิดผลผลิต [OUTPUT]และผลลัพท์[OUTCOME]ของการพัฒนาใดๆได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐาน[STANDARD LEVEL]ที่กำหนดไว้

 

อธิบาย

      1. หากได้พิจารณาร่วมกันด้วย FGD.Technique ก็จะเกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ปัญหา/จุดที่ยังไม่พอใจ  (ด้วยสูตร P = C – F)

    2. หากได้พิจารณาร่วมกันด้วย FGD.Technique   ก็จะเกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การเพิ่มศักยภาพ

    3. หากได้พิจารณาร่วมกันด้วย FGD.Technique   ก็จะเกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สร้างนวัตกรรม/ทฤษฏี/แนวคิด

   4. หากได้พิจารณาร่วมกันด้วย FGD.Technique   ก็จะเกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

 

    ผู้ศึกษา วิเคราะห์       …………………………

    ผู้รับรอง                    ..………………………..

    วัน/เดือน/ปี                ………………………….

 

*************************

 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน km
หมายเลขบันทึก: 182104เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2008 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท