เมื่อเพื่อนไปเรียนปริญญาโท


ความรู้ที่ได้รับกับคุณค่าของปริญญาบัตรและความภาคภูมิใจ

                   ได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนร่วมงาน 2-3  คน  ซึ่งคิดจะเรียนต่อปริญญาโท (เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยที่กำลังจะหมดแรงแล้ว) สาเหตุที่เพิ่งเริ่มคิดก็เพราะว่าสถานภาพในการปฏิบัติหน้าที่จะต้องเปลี่ยนไป  เป็นครูแต่ไม่ได้อยู่สถานศึกษาปฏิบัติหน้าที่อยู่สำนักงาน กศน.จังหวัด  ดังนั้น ปัญหาที่ตามจึงมาหลายประการ  เริ่มตั้งแต่ เงินวิทยฐานะ (3,500 บาท) ที่เคยได้อยู่ก็จะไม่สามารถเบิกได้เพราะไม่ได้อยู่สถานศึกษา  พอจะไปเป็นบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรับเงินวิทยฐานะ  ก็เป็นเพียงแค่ครูชำนาญการ (เรียกกันว่าซี 7) ไม่สามารถเบิกได้จะได้เงินวิทยฐานะก็ต้องเป็นนักวิชาการ (8 ว) ถึงจะได้   พอคิดจะเปลี่ยนตำแหน่งไปเป็นศึกษานิเทศก์  ตอนไปขอใบประกาศวิชาชีพศึกษานิเทศก์  ก็ไม่ได้จบการศึกษาในระดับปริญญาโท   แล้วจะเป็นอะไรดีนะ  ช่างน่าเศร้าเหลือเกิน   ดังนั้น จึงมีคนคิดอยู่ 2 วิธี คือ  วิธีแรกย้ายไปอยู่สถานศึกษาคือ กศน.อำเภอ  และวิธีที่สองคือ ไปเรียนต่อปริญญาโทเพื่อจะขอเป็นศึกษานิเทศก์  ว่าแล้วเพื่อนกลุ่มนี้ก็เลือกไปเรียนปริญญาโท  สาขาบริหารการศึกษา

                        เมื่อไปลงทะเบียนเรียน (อย่ารู้เลยนะว่ามหาวิทยาลัยอะไร) วิชาแรกที่เรียนก็คือ ระเบียบวิธีวิจัย  ปรากฏว่าวันแรกก็แทบจะอาเจียนออกมาเป็นโลหิต  เพราะไม่รู้เรื่องเลยกับเรื่องวิจัย  มันยากมาก  ศัพท์แสงอะไรก็เป็นภาษาอังกฤษและเป็นคำพูดที่ไม่เคยได้ยินเลย ค่าอะไรก็เรียกไม่ถูก งานวิจัยก็ไม่เคยทำไม่เคยอ่านด้วยซ้ำไป ยากไปหมด สมองมึนตึบไปหมดแบบว่าไม่ไหวแล้ว    ก็ทำไหมจะไม่มึนละวิชานี้ จริง ๆ เขาต้องลงเรียนประมาณ ภาคเรียนเกือบสุดท้าย คือเรียนวิชาอื่นซึ่งเป็นพื้นฐานมาก่อน เช่น  หลักบริหาร   ภาวะผู้นำ  นโยบายและแผนงาน เป็นต้น  แต่มหาวิทยาลัยนี้เขาเรียนแบบวน ก็คือนักศึกษาจะเข้าไปภาคเรียนไหนก็ช่าง แต่ภาคเรียนนี้ลงทะเบียนวิชาอะไรคุณก็ต้องเรียนวิชานั้น  จึงทำให้นิสิตใหม่แต่เก่าทางวัยรับไม่ไหว  ไปกัน 3 คน  อีกคนเรียนสัปดาห์เดียวแล้วเลิกเลย  อีกคนกำลังตัดสินใจจะเลิก  แต่อีกคนไม่รู้คิดอย่างไร เพราะยังไม่รู้ว่าเพื่อนไม่เอาด้วยแล้ว

มิหนำซ้ำระบบของที่นี่คือ  ต้องดูแลอาจารย์ยิ่งกว่าดูแลเจ้านายของตัวเอง

เสียอีก  แถมด้วยทุกอย่างคือเงินไปหมดแม้แต่การต้องจ่ายเงินค่าอาหารกลางวันแบบเหมาจ่ายคนละ 100 บาท ความจริงก็ทราบเรื่องนี้มาบ้างแล้วหละ  เพราะคนที่รู้จักกันเป็นนายก อบต.เรียน กศน.จบ ม.ปลาย  ก็ไปเรียนระดับปริญญาตรีที่สถาบันนี้หละ  แค่ 2 ปีกว่าเองก็จบแล้ว  เค้าบอกว่ามีเงินอย่างเดียวจ้างทำรายงานบ้างดูแลอาจารย์บ้างก็จบแน่นอน  ก็เป็นวัฒนธรรมใหม่ที่แปลกดีนะ 

                        เมื่อได้พูดคุยกับเพื่อนและปลอบใจให้รู้สึกดีขึ้น  และแนะนำวิธีที่เหมาะกับตัวเองที่สุดคือ เมื่อเป็นครูก็ลงมาอยู่สถานศึกษาเถอะ  ยังมีนักศึกษา กศน.ให้ดูแลอีกมากมาย  แล้วจะรู้สึกตัวว่าตัวเองมีค่ามากเมื่อ นักศึกษายกมือไหว้และเรียกเราว่าครู  เพราะเราคือผู้ให้ความรู้แก่ผู้พลาดโอกาสเหล่านั้น    และหากยังจะเรียนอยู่ก็ถือเป็นเรื่องดีมาก ๆ  เพราะไม่มีใครแก่เกินเรียนหรอก  อย่าคิดว่าเรียนเพื่อที่จะได้วุฒิปริญญาโท ให้เรียนเพราะทำให้เรามีความรู้มากขึ้น   อยากน้อยก็ทำให้สมองไม่ฝ่อเพิ่มรอยยักในสมองให้ชัดมากขึ้น  แต่ควรเปลี่ยนมหาวิทยาลัยเรียน   เพราะชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยนี้โด่งดังเหลือเกินในเรื่องของความเป็นธุรกิจ 

                        หลังจากนั้นก็เล่าเรื่องการทำงานวิจัยแบบง่าย ๆ ให้เพื่อนฟัง  จริง ๆ แล้วการทำงานวิจัย  ถ้าไม่คิดตั้งหลักว่าเป็นงานวิจัยก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรนักหนา  เช่น ถ้าเราอยากรู้เรื่องอะไร แล้วยังไม่รู้ก็ต้องไปขวนขวายหาความรู้ในเรื่องนั้น ๆ  คือดูงานวิจัยในเรื่องที่เราอยากรู้มาอ่านสักสองสามเล่ม  เวลาอ่านก็ให้อ่านแค่บทที่หนึ่งและบทที่สองก่อน  บทที่สาม สี่ และห้า อย่าเพิ่งไปอ่าน เดียวจะรับไม่ไหว   เมื่ออ่านแล้วก็จะพบว่าเรื่องที่เราอยากรู้ก็มีหลายคนที่เขาเคยอยากรู้แล้วเหมือนกัน และเขาก็ไปค้นคว้าหาหนังสือมาอ่าน  หางานวิจัยมาอ่าน  เพื่อหาความรู้ที่เป็นจริงจากตำรา ต่าง ๆ จากผู้รู้ต่าง ๆ ในลักษณะของทฤษฎี  และงานวิจัยที่ค้นพบแล้วนั่นเอง   ก็จะพบว่าความรู้จริง ๆ แล้วมันคืออะไร  เพราะหลักการและทฤษฎีมันก็ไม่ต่างกันสักเท่าไร  เพียงแต่ใครจะค้นพบและอ้างอิงอย่างไรเท่านั้นเอง  ที่เขาเรียกกันว่า แก่นความรู้  นั่นหละ   ส่วนบทที่สาม สี่ และห้า  เมื่อเรียนไปได้สักพักพอมีความรู้เรื่องวิจัยขึ้นมาบ้าง หรือพอปรับสมองให้รับกับศัพท์ทางวิชาการ เช่น กลุ่มตัวอย่าง  ประชากร  ค่าสถิติที่ใช้ในงานวิจัย  ก็ค่อยไปอ่านเพื่อดูว่านักวิจัยเขาทำกันอย่างไร

                        เมื่อมาถึงตอนนี้ก็รู้สึกว่าสีหน้าของเพื่อนชักเริ่มดีขึ้น  กลับมาถึงที่ทำงานก็ค้นงานวิจัย ที่ตัวเองเคยทำ (เกี่ยวกับงาน กศน.)ไปลองอ่านเล่น ๆ อย่างน้อยก็เพื่อให้รู้งานก็ กศน.ในกิจกรรมอื่น ๆ ที่ตัวเองไม่เคยได้สัมผัสก็ยังดี    อีกสัก สี่ห้าวัน จะมาเล่าให้ฟังว่าสรุปแล้วเพื่อนคนนี้เขาตัดสินใจอย่างไร

                        หลังจากนั้นก็คิดไปเรื่อยเปื่อยว่า  ขนาดสถาบันทางการศึกษายังเห็นเรื่องของการศึกษาเป็นธุรกิจ  ที่จะกอบโกยผลประโยชน์ให้กับหน่วยงาน  โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักวิชาการ  คุณธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพตนเองเลยว่าเราคือครู  ครูคือผู้ให้  ดังนั้นสถาบันทางการศึกษาก็ควรเป็นสถาบันที่จะให้ความรู้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษามากกว่าต้องการได้รับผลประโยชน์จากผู้ต้องการศึกษา    หรือโลกจะเริ่มเปลี่ยนไปแล้วเราลืมปรับตัวเองให้เข้ากับโลกยุคใหม่แล้วนะ!

 

หมายเลขบันทึก: 181751เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2008 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 02:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ศูนย์วิทยบริการกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยนเรศวร

เปิดรับนิสิตใหม่ประจำปีการศึกษา 2553

55 ชั้น 8 อาคาร Wave Place ถ.วิทยุ - เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน

อาคารเชื่อม BTS สถานีเพลินจิต

เริ่มจำหน่ายใบสมัครตั้งแต่วันที่ 1 พฤษจิกายน 2552

1. ปริญญาโท หลักสูตรนานาชาติ (Dual-degree program) ร่วมกับ Southern Cross University ออสเตรเลีย รับปริญญาจาก 2 สถาบัน**

* Master of International Tourism and Hotel Management

2. หลักสูตรปริญญาโท หลักสูตรไทย

* ศิลปศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว

* บริหารธุรกิจมหาบัญฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

* บริหารธุรกิจมหาบัญฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด

อำนวยการหลักสูตรและดำเนินการสอน โดย รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา

* การศึกษามหาบัญฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

* รัฐประศาสนศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชานโบายสาธาราณะ

* วิทยาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาพลังงานทดแทน

3. ปริญญาโท หลักสูตร English Program ทุกวิชาสอนเป็นภาษาอังกฤษ

* MBA (Marketing Communication)

อำนวยการหลักสูตรและดำเนินการสอน โดย รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา

4. ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการท่องเที่ยว ใช้เวลาเรียน 2ปี

* หลักสูตรพัฒนาบุคคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เทียบโอนรายวิชาจากประสบการณ์การทำงานได้

วันเปิดภาคเรียน

หลักสูตรเรียนวันธรรมดา วันจันทร์ 31 พฤษภาคม 2553

หลักสูตรเรียนวันเสาร์/อาทิตย์ วันเสาร์ 5 มิถุนายน 2553

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-655-3700-3

Website: www.nubkk.nu.ac.th E-mail / MSN: [email protected]

สั่งซื้อใบสมัคร Online ได้ที่ http://www.nubkk.nu.ac.th/regisonline.php

มีทุนการศึกษา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nubkk.nu.ac.th/gif.php

MBA, MBAป.โท, MBAกรุงเทพฯ, บริหารธุรกิจ, ปริญญาโท, เรียนต่อ, ศึกษาต่อ, INTER, เรียนMBA, ทุนการศึกษา, เรียนฟรี, MBA Program, Hotel, การโรงแรม, การท่องเที่ยว, การจัดการ, Tourism, Management, Business Administration, ป.โท, นเรศวร, กรุงเทพ, เสรี วงษ์มณฑา, บริหารการศึกษา, MPA, รัฐประศาสนศาตร์, นโยบายสาธารณะ, การจัดการภาครัฐและเอกชน, ป.ตรี, ป.ตรีจบเร็ว, ป.ตรี 2ปี, ป.ตรีเรียนจบเร็ว, พลังงานทดแทน, Renewable Energy, การจัดการพลังงาน, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานทางเลือก, พลังงานสะอาด, พลังงานลม, พลังงานน้ำ, การศึกษาป.โท, Australia, ออสเตรเลีย, เพลินจิต, รถไฟฟ้า, BTS, English Program, Southern Cross University, มหาวิทยาลัย, ใบสมัคร, มหาบัณฑิต, นานาชาติ, รับสมัคร,

ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามาบอกเรื่องดี ๆ

เป็นศิษย์ ม.นเรศวร เหมือนกันค่ะ หลังจากจบได้ไม่ถึงปี ก็สอบเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาค่ะ

ภาคภูมิใจกับสถาบันมาก ระลึกถึงอาจารย์ทุกคน ว่าง ๆ จะแวะเข้าไปเยี่ยมที่ศูนย์ฯ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท