การส่งเสริมธุรกิจบริการ...ที่รวมเรื่องของภาพยนตร์


การที่ประเทศไทยมีระเบียบกฏเกณฑ์ที่เข้มงวด (Red Tape) กับการสร้างภาพยนตร์ทุกชนิด (ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์บันเทิง, ภาพยนตร์สั้น, ภาพยนตร์โฆษณา หรืออื่นใดก็ตาม) และกลัวการออกเอกสารทางราชการที่มากเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบทางลบแก่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ เนื่องจากอุตสาหกรรมฯไม่อาจพัฒนาไปได้หากมีกฎระเบียบที่มากเกินไป และมีการจำกัดเสรีภาพจนไม่อาจจะสร้างอะไรใหม่ขึ้นมาได้

คุณประมุข มนตริวัต ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมธุรกิจบริการ กรมส่งเสริมการส่งออก

วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ในวันนี้มีประเด็นพูดคุยกันที่น่าสนใจอยู่ ๔ ประเด็น คือ

       ๑. ขอบเขตและหน้าที่การรับผิดชอบของกรมส่งเสริมการส่งออกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ คือ  การหาสถานที่ถ่ายทำ รวมถึงเสนอขายสถานที่ถ่ายทำ(ในเมืองไทย) / การส่งเสริมให้บริษัทรับผลิตภาพยนตร์ (Production House) หรือ บริษัทล้างฟิล์ม พิมพ์ฟิล์ม หรือแล็ปต่างๆ (Post-Production) ได้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ และการเปิดโอกาสให้ภาพยนตร์ไทยได้มีช่องทางการขายในตลาดสากล ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของกรมส่งเสริมการส่งออกได้เน้นในเรื่องเชิญชวนให้มีการเข้ามาใช้บริการด้านต่างๆ เหล่านั้นในประเทศไทย และแสดงให้เห็นศักยภาพของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ภายในประเทศ

สิ่งที่กรมส่งเสริมการส่งออกเน้นคือ เรื่องของ ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (Entertainment Industry) ซึ่งครอบคลุมถึงงานในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือสื่ออื่นๆ ที่จัดเป็นสื่อเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ โดยกรมฯไม่ได้เน้นขายเพียงแค่สินค้าเหล่านั้นเพียงอย่างเดียว แต่เน้นขายเรื่องบริการ (Service) ด้วย

๒. ทัศนะในเรื่องโอกาสทางด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ภายในประเทศ มีประเด็นที่น่าสนใจ ๓ ด้านคือ

๒.๑   ด้านหน้าที่ สิ่งที่สำคัญคือแต่ละหน่วยงานจะต้องรู้จักหน้าที่ของตนเอง รู้ว่าใครจะต้องทำอะไร อย่างไร

๒.๒   ด้านเครือข่าย (Network) ที่ผ่านมากรมส่งเสริมการส่งออกและททท. สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อมีการปรับเปลี่ยนภาระหน้าที่การรับผิดชอบเป็นกระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานจึงต้องสร้างเครือข่ายใหม่ (ทำความรู้จักกับหน่วยงานกระทรวงวัฒนธรรม) ซึ่งคงต้องดูท่าทีกันต่อไป

๒.๓   การที่ประเทศไทยมีระเบียบกฏเกณฑ์ที่เข้มงวด (Red Tape) กับการสร้างภาพยนตร์ทุกชนิด (ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์บันเทิง, ภาพยนตร์สั้น, ภาพยนตร์โฆษณา หรืออื่นใดก็ตาม) และกลัวการออกเอกสารทางราชการที่มากเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบทางลบแก่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ เนื่องจากอุตสาหกรรมฯไม่อาจพัฒนาไปได้หากมีกฎระเบียบที่มากเกินไป และมีการจำกัดเสรีภาพจนไม่อาจจะสร้างอะไรใหม่ขึ้นมาได้

๓. ข้อแนะนำจากกรมส่งเสริมการส่งออกที่มีต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ภายในประเทศ

๓.๑   หน่วยงานรัฐต้องมีการผ่อนปรนมาตรการบางอย่างที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ และเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่อยากจะมาลงทุน เช่น เรื่องของการเก็บภาษีดารานักแสดงที่สูงมาก

๓.๒   หากเป็นทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์บันเทิงหรือภาพยนตร์โฆษณา ควรจะมีสิ่งจูงใจในเรื่องของการคืนเงินภาษี (Refund) หรือแรงจูงใจอื่นๆ ที่ทำให้เขาอยากมาถ่ายทำที่ประเทศไทยให้มากขึ้น เพราะการเข้ามาใช้พื้นที่ถ่ายทำในประเทศไทย จะเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่าการเก็บเฉพาะภาษีรายได้หลายเท่า

๓.๓   ต้องส่งเสริมสาธารณูปโภคพื้นฐานภายในประเทศให้มีภาพความสะดวกสบาย และปลอดภัยที่ชัดเจนให้มากขึ้น

๔. ยกตัวอย่างกรณีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศจีน พบอุปสรรคสำคัญ คือ

๔.๑   ภาครัฐมีความเข้มงวดมากในทุกๆ เรื่อง

๔.๒   ขาดความยืดหยุ่นต่อเนื้อหา (ปัญหาด้านเซ็นเซอร์)

๔.๓   กฎหมายที่มีความเข้มงวดในหลายระดับต่างกัน

๔.๔   ไม่มีมาตรฐานทางการดำเนินธุรกิจ (ขาดบรรทัดฐานที่แน่นอน)

๔.๕   มีความไม่มั่นคงด้านการเมืองและกฎหมายด้านการลงทุน

หมายเลขบันทึก: 181653เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2008 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประเด็นแรงจูงใจในการลดหย่อนภาษี งานด้านจัดงานศิลปกรรมก็พูดคุยกันเสมอ แต่ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมซะที ชุมชนไม่เข้มแข็งจะเรียกร้องอะไรก็ไม่ได้ผลนะคะ...ว่ามั้ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท