ความเป็นมาของการถ่ายโอนโรงเรียน


การถ่ายโอนโรงเรียนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการกระจายอำนาจและการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

กลางปี 2549 โรงเรียนก็เปรียบเสมือนสาวสวย ที่ถูกหมายปองจากหนุ่มๆ ทั้งน้อยใหญ่ หนุ่มใหญ่ผู้มีประสบการณ์ด้านการจัดการศึกษา ก็คือ เทศบาลนคร หนุ่มน้อยผู้ไม่เคยมีประสบการณ์ ก็คือ อบจ. เพื่อเป็นการตกลงกันโดยสันติและไม่กระทบต่อโรงเรียน หนุ่มน้อยก็ทำความตกลงกับหนุ่มใหญ่ ผลปรากฏว่าหน่มน้อยเป็นฝ่ายยินยอมหนุ่มใหญ่ นั่นคือ อบจ.จะไม่ยื่นขอถ่ายโอนโรงเรียนนี้ เปิดโอกาสให้เทศบาลเป็นผู้ยื่นขอถ่ายโอน

เมื่อมีการยื่นขอถ่ายโอนเกิดขึ้น ด้วยระเบียบการถ่ายโอนโรงเรียนไม่เข้าเกณฑ์การถ่ายโอนอยู่เพียงประเด็นเดียว คือข้อที่ว่าด้วยขนาดของโรงเรียนที่ถูกขอถ่ายโอน จะต้องมีนักเรียนไม่เกิน 300 คน แต่โรงเรียนมีจำนวนนักเรียน 9xx คน ด้วยระเบียบข้อนี้ ดูเหมือนว่าโรงเรียนจะไม่ต้องเข้ารับการถ่ายโอน โดยไม่ต้องตัดสินใจใดๆทั้งสิ้น แต่แล้วระเบียบข้อนี้ก็ได้รับการยกเว้น ภาระหลักของการตัดสินใจก็มาตกอยู่กับคุณครูในโรงเรียน ขณะนี้(ณ ช่วงเวลาของการตัดสินใจ)โรงเรียนมีคุณครูราชการอยู่ 28 คน ช่วยราชการที่อื่นอีก 2 คน สำหรับ 2 คน ที่ช่วยราชการ ไม่จำเป็นจะต้องหนักใจใดๆ เนื่องจากหากไม่มีตัวให้ถือว่า ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการถ่ายโอน แต่อีก 28 นี่ซิ เป็นภาระหนักที่หนักยิ่ง บัดนี้ ในโรงเรียนเปรียบเสมือนเวทีแห่งการโต้วาที มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ทำอย่างไรดีล่ะ ก็ต้องเร่งศึกษาข้อมูลสิ

ถ้าถ่ายโอนไป ประโยชน์จะเกิดกับเด็กน้อยอย่างปฏิเสธไม่ได้ เด็กๆ จะได้อาคารเรียนหลังใหม่ทั้งหมด มีทัศนียภาพที่น่าอยู่ขึ้น มีงบประมาณอุดหนุนที่มากขึ้น มีสื่อการเรียนที่หลากหลาย ดูไปแล้วอะไรก็ดีไปซะหมด ทั้งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง งบประมาณ

แต่บุคลากรล่ะ!

"เหมือนเดิม ทุกอย่างเหมือนเดิม แน่นอน" นี่คือคำตอบ

"กบข. ล่ะ" คุณครูอยากรู้

"สำหรับครูถ่ายโอน กบข.โอนตามตัว" คำตอบ

"สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาลล่ะ" คุณครูถามต่อ

"ไม่ว่าคุณครูจะขึ้นกับกระทรวงใด ก็ยังใช้เงินจากกรมบัญชีกลาง สำหรับค่ารักษาพยาบาลก็ยังคงเบิกจากกรมบัญชีกลาง หรือถ่ายคุณครูได้ทำค่าเบิกจ่ายตรงไว้เรียบร้อยแล้วยิ่งเพิ่มความสะดวกมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ชื่อของคุณครูอยู่ในทำเนียบเรียบร้อยร้อยแล้ว เจ็บป่วย เมื่อเข้าใช้บริการ ณ โรงพยาบาลที่ทำทะเบียนเบิกจ่ายตรงแล้ว โรงพยาบาลจะเบิกค่ารักษากับกรมบัญชีกลางโดยตรงเอง สรุปโดยส่วนตัวแล้วคุณครูไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ" คำตอบ

"การทำผลงานเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะล่ะ" คุณครูอยากรู้ต่อ

"เหมือนกัน ขอได้ แถมจะดีกว่าด้วยซ้ำ! อยู่ สพฐ.คุณครูต้องรอเงินตกเบิก แต่อยู่กับท้องถิ่น ท้องถิ่นจะสำรองจ่ายให้โดยที่ครูไม่ต้องรอเลย" คำตอบ

ทุกสิ่งดูดี อยู่ที่ครูแล้วล่ะ!

หมายเลขบันทึก: 181041เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2008 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผลการศึกษาของ ศธ.พบปัญหาจากโรงเรียนที่ถ่ายโอนไปแล้วมากมาย..มิได้สวยหรูเหมือนตอนจีบกันใหม่ๆของหนุ่มสาวดอก ศึกษาข้อมูลละเอียดๆ อีกที!

แล้วพนักงานราชการถ่ายโอนแล้วชะตาชีวิตจะเป็นยังไงบ้างค่ะ เงินเดือนเท่าเดิม หรือลดลงครึ่งหนึ่งรึเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท