vocation


     

おはようございます みんなで、 はじめまして 私 は ジャブです。 ขอทักทายเป็นภาษาญี่ปุ่นนะคะเพราะ ช่วงนี้ทำงานเป็นเลขาพี่มุ วันนี้มีเรื่องมาเล่าให้ฟังจากการไปทำงานที่ต่างจังหวัด  3 จังหวัดก็มี โคราช ชัยภูมิ(บ้านตัวเอง) และสระบุรี     กำหนดการของวันที่  23 เม. 2551 คือเดินทางไปอำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา มีคณะผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่น 3 ท่าน  พี่มุทิตา(ล่าม) และเจ้าหน้าที่จากกรมสหกรณ์การเกษตรอีก 2 คน(กรุงเทพฯ) เดินทางโดยรถตู้ ออกเดินทางเวลา 07.30 นาฬิกา ระหว่างที่เดินทางพี่มุให้นั่งตรงกลางและด้านข้างก็จะมีญี่ปุ่น 2 คน พี่มุอยากให้ฝึกภาษาญี่ปุ่น ได้บ้าง  ไม่ได้บ้างคงไม่เป็นไร (แต่รู้สึกว่าจะเป็นอันหลังมากกว่า)  เขาพยายามพูดช้าๆ กับเรา  แต่เราฟังแล้วก็ไม่เข้าใจมิหนำซ้ำยังตีความหมายผิดอีก สุดท้าย ก็เลยต้องนั่งฟังเขาคุยกัน   นั่งรถนานพอสมควรกว่าจะถึง สหกรณ์ การเกษตรกรอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา  พอถึงก็รีบเข้าห้องประชุมเพราะวันนี้ต้องไปอีกหลายที่  เจ้าหน้าที่กรมสหกรณ์ การเกษตรกร (กรุงเทพฯ) ได้ พูดถึง เรื่องของการไปดูงานด้านสหกรณ์ของประเทศญี่ปุ่นให้ประธานสหกรณ์การเกษตรที่อำเภอเมือง นครราสีมาฟัง  และอยากนำวิธิ การทำงานของญี่ปุ่นมาปรับใช้ในชนบทดูบ้าง เห็นว่า การทำงานของกลุ่มสหกรณ์ที่ประเทศญี่ปุ่นเขาใช้หลักการตลาดแบบ farmer market (การขายตรง) แต่ที่ญี่ปุ่นเขาสามารถทำได้ก็เพราะ ผู้บริโภคประเทศญี่ปุ่นมีอยู่มากมีกลุ่มผู้ที่บริโภคถึง 50,000 คน

           ประธานสหกรณ์ การเกษตร จังหวัดนครราชสีมา ได้ฟังแล้วก็คิดว่าที่อำเภอชุมพวงน่าจะจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์การเกษตรได้ เพราะที่อำเภอชุมพวงมีกลุ่มผู้บริโภคมาก ยกตัวอย่างเช่นปั๊มน้ำมันบางจากของอำเภอชุมพวง ที่สามารถขายน้ำมันได้ถึง 100,000 ลิตร/วัน ถือว่าเป็นปั๊มน้ำมันบางจากที่มียอดขายสูงที่สุดในประเทศไทย ก็นับว่ามีผู้ใช้บริการมาก  ส่วนทางด้านเกษตรกรในอำเภอชุมพวงส่วนใหญ่ ทำการเกษตร ควบคู่กับ การงานอาชีพ เช่นกลุ่มทำหมวก ก็คือทำหมวกจากใบตาล                                                          

         หลังจากนั้นคณะผู้เชี่ยวชาญของญี่ปุ่น ก็เดินทางต่อไปยังอำเภอชุมพวงเพื่อดูกลุ่มสหกรณ์ของอำเภอชุมพวง  การเดินทางนานก็จริงแต่ก็สนุกมากคนญี่ปุ่นอารมณ์ดีคุยสนุก หัวเราะบ้าง (ทำให้บรรยากาศในรถไม่เงียบ)  ดูเหมือนเขาไม่เหนื่อยเลย เขาจะคุยกันตลอดระหว่างเดินทาง เรื่องงานบ้าง เรื่องทั่วไปบ้าง (พี่มุเล่าให้ฟัง) เสียดายมากที่ฟังภาษาญี่ปุ่นไม่ค่อยเข้าใจ รู้สึกว่าเป็นภาษาที่ยากมาก  มีผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นคนหนึ่ง มาที่นี้เป็นครั้งแรกรู้สึกว่าเห็นอะไรก็ดูแปลกตาไปหมดเลยเวลาเจออะไรแปลกๆก็จะถามล่าม อย่างเช่น หญ้าคา วัว (มันแปลกตรงไหนนะ)  ไปถึงที่สหกรณ์อำเภอชุมพวงเวลา 12.28. กลุ่มนี้เขาจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นแล้ว แต่เขาต้องการที่จะขยายพื้นที่ และสร้างสหกรณ์ในพื้นที่ใหม่ จึงอยากได้คำแนะนำจากคณะผู้เชี่ยวชาญของญี่ปุ่นและหลังจากประธานกลุ่มสหกรณ์กล่าวเปิดพิธี ก็ได้ฟังบรรยายพอสังเขปเกี่ยวกับอำเภอชุมพวง หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จากสหกรณ์ที่ไปดูงานที่ญี่ปุ่นก็เล่าว่า ญี่ปุ่นจะถือความสะอาดเป็นลำดับแรก เพราะ ที่ญี่ปุ่นมีทั้งตลาดติดแอร์  ตลาดขายตรง  ตลาดริมถนนที่สะอาดมาก  มีการบรรจุภัณฑ์อย่างดี  จึงไม่น่าแปลกใจที่คนญี่ปุ่นจะอายุยืนที่สุดในโลกเพราะเขาห่วงความสะอาดเป็นลำดับแรกนี่เองและเขายังให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุอีกด้วย ถึงแม้ว่าผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหกรณ์จะมีอายุมากแต่ ที่นั่นเขาจะไม่ทอดทิ้งกลุ่มผู้สูงอายุเพราะ ถือว่าคน เหล่านั้นยังเป็นสมาชิกกลุ่มสหกรณ์อยู่และ ที่ประเทศญี่ปุ่นเขาจะแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุออกเป็น 2 แบบ คือ แบบคึกคักและไม่คึกคัก (ฟังดูแปลกๆ) คือกลุ่มผู้สูงอายุที่คึกคักมีความพร้อมในการทำงานอยู่ และยังทำงานได้แต่จะเป็นงานที่ไม่หนัก งานสบายๆ และอีกกลุ่มคือกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่คึกคัก จะตรงข้ามกับกลุ่มผู้สูงอายุที่คึกคักทุกอย่าง(ฟังดูน่าสนใจ)   ทางด้านผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นก็ได้แนะนำกลุ่มสหกรณ์อำเภอชุมพวงว่าการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ขึ้นมานั้น  ก่อนอื่นสมาชิกสหกรณ์ต้องมีความสมานสามัคคีกัน  และพร้อมในเรื่องของทุนทรัพย์อีกด้วย หลังจากนั้นก็ พักทานข้าวเที่ยงอาหารก็มีอยู่หลายอย่าง แต่เสียดายที่ไม่ได้กินอาหารพื้นบ้านเลย มาที่อีสานแท้ๆยังไม่ได้กินอาหารพื้นบ้าน น่าจะมี ส้มตำปูปลาร้า, พัดหมี่โคราช,   แหนม ก็คงจะดี  กินข้าวเสร็จแล้วก็เช่นเคยกลับมาที่ห้อง conference room  คุณ โยชิโกะได้ เล่าว่าจากประสบการณ์ทำงานด้านการตลาดมาถึง 10 ปี คุณโยชิโกะ ก็ได้สำรวจตลาดมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันนี้กลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรของคุณ โยชิโกะ  มีสมาชิกถึง 500 คน  ดังนั้นคุณ โยชิโกะ จึงอยากจะให้กลุ่มสหกรณ์การเกษตรอำเภอชุมพวงเข้าใจในงานสหกรณ์การเกษตร มองที่คุณภาพสำคัญ ก่อนตัวเงิน และได้ให้การบ้านกลุ่มสหกรณเก็บไปคิด และปรึกษาหารือกัน ก็คือทำงานสหกรณ์การเกษตรเพื่ออะไร   ใครรับผิดชอบงานสหกรณ์การเกษตร  แล้วสหกรณ์การเกษตรขายอะไร  สถานที่ตั้งสหกรณ์การเกษตรตั้งที่ไหน   คนที่เข้ามาดูแลสหกรณ์การเกษตรคือใคร  และสหกรณ์การเกษตรเปิดบริการเมื่อใด ?

    เวลา 14.45นาฬิกา  เดินทางไปที่หมู่บ้านยายพา ตำบล ประสุข  เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่ต้อนรับคณะญี่ปุ่นดีมาก มีดนตรี ฟ้อนรำของกลุ่มสหกรณ์การเกษตร   มีการคล้องพวงมาลัยที่ทำจากดอกมะลิ (ชอบที่สุด) และมอบหมวกที่ทำจากใบตาล  เขาทำหมวกกันได้สวยมากๆ ดูแล้วประณีต  แต่คงจะทำยากน่าดู  และตัวแทนของหมู่บ้านก็เล่าประวัติของหมู่บ้านพอสังเขป( scrip ) หมู่บ้านนี้มีพระไม้อายุราว 200 ปี และมีลำน้ำไหลผ่าน 3 สาย ได้แก่ ลำน้ำมูล ลำน้ำมาศ ลำน้ำเค็ม เกษตรกรที่นี่ทำนาปี นาปัง เลี้ยงปลา เพาะปลูก ปลูกผักปลอดสารพิษ ก็เช่น มะนาว ผลไม้หลักๆก็มีกล้วย  แก้วมังกร (ผลไม้โปรด)  และกลุ่มผลิตหมวกใบตาล   ดอกไม้ประดิษฐ์  หมอน  ฯลฯ หากใครสนใจก็มาดู มาซื่อได้ที่นี่เลยที่หมู่บ้านยายพา จังหวัดนครราชสีมา  (มีรูปมาให้ดูด้วย)

                                                    

                  

           ส่วนที่ใช้มาสานเป็นหมวกใบตาล

            เวลา 17.44. ระหว่างทางที่จะไปหมู่บ้านยายพา คุณ โยชิโกะ เห็นวัวเข้าพอดี ก็ถ่ายรูปเก็บไว้ รู้สึกจะถ่ายรูปทุกอย่างที่เจอเลย   เพราะบางอย่างที่ประเทศเขาก็ไม่มี อย่างเช่น มด แมลงบางชนิด   กลับมาเข้าเรื่องต่อแล้วกันกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นได้ไปชมสวนผักปลอดสารพิษ 2 สวน ในหมู่บ้านยายพาที่นี่ มีผักหลายชนิด เช่น บวบ(ลูกโตมากไม่เห็นเหมือนตามท้องตลาดเลย) พริก ต้นหอม มะเขือพวง ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง(ทำให้นึกถึงผักบุ้งแถวคลอง 7 ที่นั่นไม่น่ากินเหมือนที่นี่เลย) มะละกอ  ส่วนใหญ่ก็เป็นผักสวนครัวที่ปลูกตามบ้าน  แต่ที่นี้แตกต่างกับที่ตลาดตรงที่  พืชผักปลอดสารพิษ  ผักที่นี้จะสะอาดดูน่ากินกว่าตามท้องตลาดเยอะเลย  คนไทยน่าจะหันมากินผักปลอดสารพิษจะดีกว่าแม้ราคาอาจสูงไปนิดแต่ก็คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้รับ  เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและ สารพิษจะไม่ตกค้างในร่างกายมากจนเกินไป และที่สำคัญถือว่าเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย   

 

  หลังจากดูแปลงผักเสร็จแล้ว ก็ไปดูงานฝีมือที่หมู่บ้านลังกาใหญ่ ที่ อ. พิมาย  กลุ่มนี้เขาใช้หวายในการทำผลิตภัณฑ์ ก็อย่างเช่น  furniture, กระติบข้าว, กระเป๋า  ฯลฯ หากใครสนใจก็แวะไปซื่อของที่ร้านได้คะ (จำชื่อร้านไม่ได้) เอาเป็นว่าหากใครสนใจก็ที่หมู่บ้านลังกาใหญ่ อ.พิมาย โคราช แล้วกันนะคะ พี่เจ้าของร้านใจดีมากๆเลย  ดูงานเขาแต่ละชิ้นแต่สวยและประณีตมากเห็นว่าใช้เวลาทำนานมากต้องยอมรับในฝีมือและคุณภาพจริงๆ ก่อนกลับที่พักพี่เจ้าของร้านใจดีมากมีให้ของ ที่ระลึกมาคนละชิ้น ยังไง ก็ขอขอบคุณมากค่ะ                                                                                          

 และแล้วก็ถึงเวลากลับที่พักจริงๆสักที ระหว่างที่นั่งรถกลับที่พักฝนก็ตกพอดี ไฟก็ดับ บังเอิญจริงๆ เป็นครั้งแรกที่กินข้าวที่ร้านอาหารในบรรยากาศสลัวๆ ใต้แสงเทียน แต่ดูแล้วก็ดูแปลกไปอีกแบบหนึ่ง เจ้าหน้าที่สหกรณ์คนหนึ่งนำเอาผักบุ้งที่ชาวบ้านให้ตอนไปดูงานมาให้ที่ร้านผัด เราก็เลยได้กินผักบุ้งที่อร่อย และก็ปลอดสารพิษด้วย ส่วน เมนูวันนี้ก็มี ต้มยำ หมูตุ๋น ปลาทอดเกลือ ไข่เจียว ไส้กรอก ที่จริงมีมากกว่านี้  แต่ที่ชอบที่สุดจะเป็น ต้มยำไม่เห็นได้กินอาหารพื้นบ้านเลย เสียดายมากๆ (อีกแล้ว)  เสร็จจากกินข้าวก็ check in ที่โรงแรมราชพฤกแกรนโฮเทล(โคราช)แต่ ดีหน่อยที่ไฟไม่ดับ  เห็นพี่มุว่าหากพรุ่งนี้ถ้าตื่นเช้าก็จะออกไปเดินเล่น แถวลานย่าโม (เพราะเวลาที่พี่มุอยู่บ้านก็จะเดินออกกำลังกายทุกเย็น ) น่าจะเอาเป็นแบบอย่าง

คำสำคัญ (Tags): #vocation
หมายเลขบันทึก: 180803เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2008 06:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

  • กิจกรรมน่าสนใจดีมาก แต่ตัวหนังสือเล็กไปหน่อยนะจ้า คนแก่อ่านไม่ค่อยออกครับ
  • ภาษาญี่ปุ่นอ่านได้แต่ประโยคแรก おはようございます โอฮาโยโกไซมัส สวัสดียามเช้าครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับคุณมุทิตา ขอบคุณสำหรับเรื่องน่าสนใจ กว่าอ่านจบก็แสบตา เพราะตัวหนังสือเล็กมากๆ
  • เป็นญาติอะไรกับคุณเกรียงศักดิ์ พานิช ที่สุพรรณครับ

ที่ที่คุณไปส่วนใหญ่เป็นบ้านเกิดผม มีงานให้ผมทำบ้างไหม ผมพูดภาษาญี่ปุ่น

ได้ดี เคยทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่นเป็นเวลาประมาณ 10 ปี อยากไปทำงานด้วยน่าสนุก

และได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะแยะ แถมได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นทำให้ไม่ลืม ขอหิ้วกระเป๋าเดิน

ตามก็ได้ครับ ตอนนี้ตกงานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท