แผนการดำเนินนโยบายต่างประเทศ


เครื่องมือและแบบแผนการดำเนินนโยบายต่างประเทศ

การดำเนินนโยบายต่างประเทศ

วัตถุประสงค์หรือจุดหมายปลายทางของนโยบายอยู่ที่ความมั่นคงของชาติ  แผนการดำเนินงาน  ได้แก่  ขั้นตอนในการรักษาความมั่นคง  และกระบวนการนั้นก็คือ  วิธีการต่างๆ  เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน  ส่วนวิธีการอาจรวมไปถึงการต่อรอง  การตระเตรียมและการใช้เครื่องมือต่างๆ

แผนการดำเนินนโยบายต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2551 นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ในส่วนของนโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
                รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อตอบสนองผลประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชน โดยจะดำเนินบทบาทเชิงรุกในการส่งเสริมความร่วมมือและขยายความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และยึดมั่นในพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศตามสนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาเศรษฐกิจไทยทุกสาขาให้ได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และสานต่อนโยบายทีมประเทศไทย (Team Thailand) เพื่อให้การดำเนินงานด้านต่างประเทศมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีเอกภาพ  
โดยจะดำเนินการ ดังนี้

  -   ส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่งเสริมความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและความใกล้ชิดระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การขยายการคมนาคมขนส่ง และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) และความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) เป็นต้น

-   ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย กรอบความร่วมมือเอเชีย และเพิ่มบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และผลักดันบทบาทอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในวาระที่ไทยเป็นประธานอาเซียน

-  มีบทบาทที่สร้างสรรค์ในองค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเวทีสหประชาชาติและองค์กรระดับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อรักษาสันติภาพ ความมั่นคง ส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขประเด็นปัญหาข้ามชาติทุกด้านที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์

-  กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศและกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก จัดทำข้อตกลงการค้าเสรีในกรอบพหุภาคีและกับประเทศต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศโดยรวม สร้างกลไกเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวรับผลกระทบและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี

-   ดำเนินงานเชิงรุกทางการทูตเพื่อประชาชน วัฒนธรรม และการศึกษา ตลอดจนการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชนกับนานาประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนา และสานต่อความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อความเข้าใจอันดีกับองค์กรทางศาสนาอื่น ๆ

-  คุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทย ดูแลคนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะคนไทยที่ประกอบอาชีพและมีถิ่นฐานในต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาทของชุมชนชาวไทยในการรักษาเอกลักษณ์และความเป็นไทย

กระบวนการกำหนดนโยบาย

1.  รวบรวมและประเมินข้อมูลต่างๆ  ผู้ที่ทำหน้าที่ในการหาข้อมูลเหล่านี้  ได้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระทรวง  ทบวง  กรม  ต่างๆ  ทั้งในและนอกประเทศ

2.  การหาข่าวสารต่างๆ  สำหรับเจ้าหน้าที่ในการหาข่าวสารต่างๆ  นั้น  คือหน่วยงานทางการทูตและกงสุล

3.  วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับเพื่อให้เกิดความถูกต้องและแน่นอน 

4.  การกรอง  ข้อมูลจากการวิเคราะห์นั้นอาจจะได้มาทั้งเปิดเผยและปกปิด

5.  การวางแผน  เมื่อทราบผลจากการวิเคราะห์และกรองแล้วก็เริ่มทำการวางแผน  เพื่อกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้รับ

นโยบายต่างประเทศอาจจะพิจารณาจากปัจจัยที่สำคัญ  คือ

                -  พิจารณาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ  การคลัง  ทหารและวัฒนธรรม  ซึ่งจะเป็นผลต่อการให้เกิดนโยบายในด้านเศรษฐกิจ  การคลัง  การทหารและวัฒนธรรม

-  พิจารณาจากปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์  โดยที่บางประเทศจะกำหนดนโยบายตามพื้นที่ที่ความสำคัญทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก

หลักการในการกำหนดวัตถุประสงค์แห่งนโยบาย 

1.  การรักษาบูรณภาพแห่งรัฐ   หมายถึง  การที่จะต้องดำเนินการให้เป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ 

                ลักษณะของนโยบายที่จะสัมฤทธิ์ผล  ดังนี้

                -  มีแผ่นดินติดต่อเป็นผืนเดียวกัน

                -  มีเผ่าพันธุ์เดียวกัน

                -  นับถือศาสนาและยึดถือขนบประเพณีเดียวกัน

                -  มีอุดมการณ์ทางการเมืองเดียวกัน

2.  ส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องส่งเสริมในด้านเศรษฐกิจ

                การทำให้เกิดความรุ่งเรืองนั้นมีปัจจัยที่สำคัญ   ดังนี้  ทรัพยากรตามธรรมชาติ  รวมทั้งที่ตั้งของประเทศ ตลอดจนภูมิอากาศ  ขนาดพื้นที่  และจำนวนประชากร  ตลอดจนวิธีการดำเนินการของรัฐนั้นๆ 

วิถีทางของรัฐกับการกำหนดนโยบายและการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศ

กระบวนการนโยบายของรัฐ

1.       การตั้งเป้าหมาย  หมายถึง  การกำหนดแยกแยะผลประโยชน์ของชาติ  วัตถุประสงค์ของนโยบาย  นำมาจัดลำดับความสำคัญ

2.       การรวมข่าวกรอง

3.       การกำหนดทางเลือก  ทุกรัฐได้มีการจัดทำทางเลือกต่างๆเสนอต่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ

4.       การวางแผนและการจัดทำโครงการ

5.       การตัดสินใจ

6.       การดำเนินนโยบาย

7.       การประเมินนโยบายและการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

 

เครื่องมือในการดำเนินการระหว่างประเทศนั้นๆ

1.       การทูต

2.       การข่มขู่

3.       การปิดบังอำพรางหรือตบตา

 

 

การฑูตไทย

ประวัติศาสตร์การทูตของไทย

ก่อนสมัยสุโขทัยคนไทยในแถบนี้ได้รวมตัวกันเป็นชุมชนแล้วแต่แยกกันอยู่ในแต่ละภูมิภาค เช่น อาณาจักรศรีวิชัย ตามพรลิงค์ หริภุญชัย ศรีโคตรบูรณ์ ฯลฯ ไม่ได้รวมกันเป็นอาณาจักรเดียว (คนไทยมีหลายเผ่าอาศัยอยู่กระจัดกระจายในดินแดนสุวรรณภูมิมานานแล้ว ส่วนใหญ่ปลูกบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำ กินข้าวกับปลา จะทำบุญอะไรมักแห่กล้วยแห่อ้อยซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญในการประกอบอาหาร ปลูกบ้านเป็นเรือนใหญ่ใต้ถุนสูงป้องกันน้ำท่วม หลังคาสูงเพื่อระบายความร้อน แต่คนไทยปัจจุบันเอาค่านิยมฝรั่งมาในการปลูกบ้านชั้นเดียวติดดินเพื่อให้ได้ความอบอุ่น ขุนนางนิยมสร้างปราสาทบนเนินเขาไม่นิยมอยู่ใกล้แม่น้ำที่อากาศเย็นและน้ำจะท่วม)

การที่คนไทยอยู่กระจัดกระจายชี้ให้เห็นว่าการติดต่อกับต่างประเทศนั้นมีมานานแล้ว ถึง

สมัยสุโขทัยถือเป็นอาณาจักรที่มีการรวบรวมผู้คนไว้เป็นปึกแผ่นปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเด็ดขาดมีเพียงคนเดียวคือหัวหน้าผู้ปกครองเรียกว่า พ่อขุนพ่อขุนรามคำแหงมหาราชถือเป็นกษัตริย์ผู้เชี่ยวชาญทางการทูตทรงเป็นทั้งนักการทูตและนักการค้าโดยใช้เศรษฐกิจการค้านำหน้า สุโขทัยรับเทคโนโลยีการทำเครื่องปั้นดินเผามาจากจีนจนกลายเป็น Production House ในการผลิตถ้วยชามสังคโลกส่งไปขายญี่ปุ่นจนญี่ปุ่นยึดเป็นต้นแบบ ส่วนฝรั่งเรียกว่าเครื่องปั้นดินเผามะตะบันเพราะต้องส่งไปลงเรือที่อ่าวเมาะตะมะ (ตอนนั้นอาณาจักรมอญมีสัมพันธไมตรีที่ดีกับสุโขทัย)

สมัยกรุงศรีอยุธยามีการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่รองรับการติดต่อกับต่างประเทศเปรียบเสมือนทนายหน้าหอเรียกว่ากรมพระคลัง (การติดต่อแต่ละครั้งได้เงินเข้าคลัง) จนเมื่อการค้ารุ่งเรืองมากกรมพระคลังรับไม่ไหวต้องแบ่งงานออกเป็นกรมท่า (Port of Authority) กรมท่าซ้ายติดต่อกับตะวันออก กรมท่าขวาติดต่อกับตะวันตก แผนการติดต่อกับต่างประเทศอยู่ในมือพระมหากษัตริย์ ผู้ปฏิบัติในระดับสูงต้อง Outsourcing เอาคนต่างด้าวเข้ามาทำ เช่น เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (ชาวกรีก) ออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะชาวญี่ปุ่น) กิจกรรมที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศในยามสงบที่เด่นชัดที่สุดคือการค้าขาย ต่างชาติที่เข้ามาติดต่อกรุงศรีอยุธยาเป็นชาติแรกคือโปรตุเกส ชาวโปรตุเกสได้รับพระราชทานที่ดินให้อยู่อาศัยทำมาหากินเป็นหมู่บ้านโปรตุเกสมีหลักฐานปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้

ในสมัยอาณานิคมประเทศไทยรอดพ้นมาได้เพราะพระปรีชาสามารถด้านการต่างประเทศของพระมหากษัตริย์ไทย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยอมรับในพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในขณะที่ประเทศอื่น ๆ รอบบ้านเราไม่ได้รับการยอมรับจากตะวันตกจึงถูกยึดเป็นอาณานิคมทั้งสิ้น แต่ไทยได้รับการยอมรับมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้ว ส่วนการที่ไทยเสียกรุงครั้งที่สองให้พม่าแล้วไม่ถูกตะวันตกล่าเป็นอาณานิคม เพราะตอนนั้นฝรั่งเศสกำลังวุ่นวายอยู่กับสงครามนโปเลียน อังกฤษต้องวุ่นวายอยู่กับการคอยหย่าศึกให้ฝรั่งเศสแถมอาณานิคมของตนเองในอเมริกาก็ฮึ่ม ๆ จะประกาศเอกราช ทั้งอังกฤษกับฝรั่งเศสจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี

สมัยรัชกาลที่ 5 กรมท่าเปลี่ยนเป็นกระทรวงการต่างประเทศ มีกรมพระยาเทววงศ์วโรปการเป็นบิดาแห่งการทูตไทย แต่เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศคนแรกคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ช่วง บุนนาค สืบเชื้อสายมาจากจุฬาราชมนตรีผู้มีเชื้อสายเปอร์เซีย)

สรุป ในสมัยสุโขทัยและอยุธยานโยบายต่างประเทศไทยให้ความสำคัญกับการค้าต่างประเทศเป็นหลักโดยเฉพาะประเทศที่ห่างไกล ส่วนประเทศใกล้ ๆ ไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนักเพราะมีสินค้าเหมือน ๆ กัน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไทยต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดมากกว่าจะแสวงหาความมั่งคั่ง สมัยล่าอาณานิคมและสงครามโลกทั้งสองครั้งไทยต้องใช้การทูตเพื่อสร้างความอยู่รอดมากกว่าความมั่งคั่งเช่นกัน เช่น รัชกาลที่ 5  ต้องประพาสยุโรป

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 180708เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2008 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท