ลูกเสือกับ Bench Mark (ฐานทักษะทางลูกเสือ)


จุดที่ต้องก้าวให้ถึง

   ลูกเสือน้อยกลุ่มชาติพันธุ์ (ค่อนข้างภูมิใจ) ได้เข้ารับการฝึกทักษะทางลูกเสือ ทั้งผู้กำกับและลูกเสือก็ไม่รู้หรอกว่า ฐานนี้เขาให้แข่งขันกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ โดยมีเวลาเป็นตัวกำกับ ทีแรกนึกว่าให้มาฝึกเหมือนกับทำกิจกรรมที่โรงเรียน ที่ใหนได้ให้แข่งขันกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และกลุ่มลูกเสืออีกหลายกลุ่มเฉพาะ กรุ๊ฟ C ประมาณ 50 กลุ่ม ในวิชาเงื่อนเชือกเราไม่ประสบความสำเร็จ ไม่สามารถทำตามเวลาที่กำหนดไว้ได้ แต่บ่นใหญ่ว่า "มัดเชือกไม่คล่องเลยครูต้องกลับไปสอนพวกผมให้เก่งและคล่องกว่านี้นะครับ" (เห็นหรือเปล่าครับเด็กให้ข้อมูลย้อนกลับ) ผมก้บอกว่าไม่เป็นไร เราก็ใช้ข้อบกพร่องนี้แหละไปเล่าให้คณะครูที่โรงเรียนฟัง เล่าให้เพื่อน ให้น้องฟัง จะได้มาแก้ไข  

   วิชาที่ 2 งานฝีมือ กำหนดเวลา 45 นาที ให้ทำป้ายชื่อลูกเสือ และว็อคเกิ้ล จากไม้ไผ่ที่ยังเป็นปล้องอยู่ วิชานี้ ผู้กำกับที่ควบคุมอยู่บอกว่า ป้ายชื่อเป้นกิจกรรมบังคับ ต้องทำให้เสร็จครบทุกคน กลุ่มเรามี 10 คน จะต้องทำ 10 ป้าย ส่วนว็อคเกิ้ล ถ้ามีเวลาก็ให้ทำ ก่อนที่จะลงมือทำ ผมให้นักเรียนไปถามผู้ช่วยในฐานนี้ว่า ผลงานอย่างไรจึงจะได้ใบประกาศเกียรติบัตรชนะเลิศ (ให้รู้ Bench Mark) ผู้ช่วยก็บอกว่า ต้องมีขนาดเท่ากัน ตัวหนังสือเหมือนกัน  สวยงามและครบทุกคน สำหรับป้ายชื่อ และที่สำคัญต้องสามารถทำว็อคเกิ้ล ได้ด้วยถ้าครบทุกคนยิ่งดี เมื่อนักเรียนได้คำตอบ ผมก็ดูในเรื่องกระบวนการกลุ่ม (การเกิดภาวะผู้นำ) ของนักเรียนว่าทำอย่างไร นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความถนัดของแต่ละคน กลุ่มที่ 1 คนที่เก่งจักสานให้ทำป้ายให้มีขนาดเท่ากัน คนลายมือสวยให้เขียนชื่อ คนที่เหลือขัดไม้กับกระดาษทราย นำไม้ไปเคลือบ เป็นต้น กลุ่มที่ 2 ตัดไม้เป็น ว็อคเกิ้ล ระบายสี เคลือบเงา  ผลปรากฏว่า โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้าชนะที่หนึ่ง ได้รับใบประกาศ นักเรียน ยิ้มและภาคภูมิใจมาก จึงบอกกับนักเรียนว่า ต่อไปอะไรที่ไม่รู้ให้ถาม เราอยากจะมีระดับคุณภาพใดก็ทำตามเกณฑ์เอา (สรุปบทเรียน)

   วิชาที่ 3 การสร้างที่พัก เราไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเต้นที่นำมาให้ทำ เป็นเต็นท์สำเร็จรูป ที่ไม่ต้องประยุกต์ใช้เต็นท์ผ้าใบ ที่เขาใช้ปูรองถั่วเหลือง รองข้าว ผืนใหญ่ๆ มาทำ เด็กจึงไม่ถนัด เพราะว่าที่โรงเรียนสอนกางเต็นท์ แบบประยุกต์ใช้เอา แต่เด็กก็สามารถทำได้ตามเวลาที่เขากำหนดได้ แต่อาศัยการดูเป็นแบบอย่างจากกลุ่มข้าง ๆ เราไม่ถึงเกณฑ์ในเรื่อง ไมสอดคล้องกับสภาพจริง เพราะเต็นท์เราไม่มีร่องกันน้ำรอบ ๆ เนื่องจากว่าฝนจะตั้งเค้าที่จะตก เลยถามนักเรียนว่าเราขาดอะไรอย่างหนึ่ง นักเรียนว่า การสังเกตที่เราสู้เขาไม่ได้ จึงไม่สามารถประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรม จากฐานนี้ ครูและนักเรียนได้ ถอดสิ่งเรียนรู้ในตอนเย็น ซึ่งผมคิดว่าดีมานะครับ เพราะเด็กสามารถประเมินงานของตนเอง และสามารถเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป ดังนี้ถือเป็นบทเรียนหนึ่งที่ จะกลายเป็นหลุบการพัฒนา ต่อไป จริงไหมครับ   

        

หมายเลขบันทึก: 180181เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท