ปากคาดปากยิ้ม
สำนักงานเกษตรอำเภอปากคาด สำนักงานเกษตรอำเภอปากคาด

เสวนายางพาราที่ปากคาด จ.หนองคาย (2)


เมื่อก่อนจะกรีดยาง 2 วันเว้น 1 วัน แล้วเปลี่ยนมากรีด 1 วันเว้น 1 วัน ปริมาณน้ำยางจะมากขึ้น อีกทั้งเป็นการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของต้นยางไว้ด้วย

เริ่มหัวข้อเสวนา โดยเกษตรอำเภอปากคาด

1) การผลิตยางพาราของเกษตรกรและปัญหาที่พบ

-  ตัวแทนขององค์กร ตำบลนาดง (นายแน่น)  

เริ่มปลูกยางพารา  สนับสนุนเมื่อปี 2532 จำนวน 10 ไร่ ทุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร ประสบผลสำเร็จพอประมาณ  ปี 2538 ได้เข้ารับการฝึกอบรมกรีดยาง

รุ่นแรก ทำให้ได้ความรู้และเทคนิคจนสามารถจัดการสวนยางของตน ปี 2540 ได้รับทุนสนับสนุนจากสกย. อีก 14  ไร่ จำนวน  1,200  ต้น รวมทั้งสิ้นปัจจุบันมีสวนยางพารา 72 ไร่ ปัญหาที่พบได้แก่ โรคเส้นดำและอาการเปลือกแตก เมื่อทิ้งไว้  3  ปี หลังกลับมากรีดใหม่ก็ได้ผลผลิตเช่นเดิม ศัตรูพืชที่พบไม่ค่อยสร้างปัญหามากนัก  พร้อมกันนี้ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า อาชีพทำสวนยาง สร้างรายได้ให้เกษตรกร

เป็นที่น่าพอใจ  หากมีพื้นที่ปลูกอย่างน้อย 7 ไร่ หรือประมาณ  500  ต้น จะสามารถทำเงินได้  20,000  บาท/เดือน

- นายทองจันทร์  อัคลา   (เกษตรกรผู้ปลูกสวนยางพาราใหม่)

ปัญหาที่พบ  คือ 

1)  ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลรักษาต้นยาง ตามหลักวิชาการ วิธีการต่างๆที่ปฏิบัติอยู่  อาศัยคำแนะนำจากเพื่อนบ้านการบอกต่อกันมา ทำให้

ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มที่

2)  ปัญหาเรื่องต้นทุนปุ๋ยเคมี มีราคาแพง  จากเดิม  500  600  บาท เพิ่มขึ้นเป็น  1,000 1,200  บาท  ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากในสวนยางใหม่ที่ยังไม่ได้เปิดกรีด

3)  ปัญหาเรื่องสุขภาพ ชาวสวนเนื่องจากใช้สารกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชเป็น

ระยะเวลานาน

- นายสุชาติ  คงเจริญ   (เกษตรกร)

ให้ข้อเสนอแนะเรื่องการเสียภาษี  กับเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราว่า น่าจะยกเว้นให้เพราะต้นทุนการผลิตในปัจจุบันสูงมากแล้ว

- นายนิกร  สกุลไทย  (รองประธานกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกยางพารา)

เล่าถึงประสบการณ์การทำสวนยางว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณมากขึ้น ปริมาณน้ำยางก็จะมากขึ้นด้วย อาการหน้ายางเกิดจากขาดปุ๋ยเคมีหรือได้รับในปริมาณที่น้อย

การกรีดยางก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ปริมาณน้ำยางที่กรีดได้น้อย  กล่าวคือ เมื่อก่อน

จะกรีด  2 วัน เว้น  1 วัน  แล้วเปลี่ยนมากรีด 1 วันเว้น 1 วัน  ปริมาณน้ำยางจะมากขึ้น  อีกทั้งยังเป็นการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของต้นไว้ด้วย

- ตัวแทนจากสยามยางพารา  (นายศักดิ์ชัย แป้นพิบูลย์ลาภ) 

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ยางที่เกษตรกร อำเภอปากคาด ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ 

RRIM 600  ซึ่งเป็นพันธุ์มาตรฐาน ดูแลรักษาง่าย  แต่ถ้าเปรียบเทียบกับพันธุ์

RRIT 251 แล้ว พันธุ์ RRIT 251 จะให้ผลผลิตน้ำยางดีกว่าแต่มีข้อจำกัดเรื่อง แปลง

กิ่งพันธุ์ และมีเปอร์เซ็นต์การติดตาติดต่ำกว่าพันธุ์ RRIM 600

 

2) มุมมองของภาครัฐและภาคเอกชน ต่อการผลิตยางพาราในอำเภอปากคาด

<p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">- ตัวแทนจาก  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย  </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">กล่าวถึง จุดแข็ง จุดอ่อนของยางพารา (แหล่งข้อมูลจากเศรษฐกิจการเกษตร) ดังนี้</p> <h2 style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">จุดแข็ง</h2> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt 32.4pt; TEXT-INDENT: -14.4pt; mso-list: l1 level1 lfo1">1.    สวนยางพาราสามารถปลูกพืชแซมได้ เช่น  ไม้ผล</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt 33.8pt; TEXT-INDENT: -15.8pt; mso-list: l1 level1 lfo1">2.     มีการประมูลราคา  ทำให้เกิดการแข่งขันกัน</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt 33.8pt; TEXT-INDENT: -15.8pt; mso-list: l1 level1 lfo1">3.     มีโรงงานรับซื้อผลผลิต ที่ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการประมูลราคาด้วย</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt 33.8pt; TEXT-INDENT: -15.8pt; mso-list: l1 level1 lfo1">4.     สร้างความมั่นคง  สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt 33.8pt; TEXT-INDENT: -15.8pt; mso-list: l1 level1 lfo1">5.     มีหน่วยงานบริการให้ความรู้ทางวิชาการตลอดเวลา</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt 33.8pt; TEXT-INDENT: -15.8pt; mso-list: l1 level1 lfo1">6.     เป็นพื้นที่ เพิ่มสีเขียวให้กับประเทศ สร้างความชุ่มชื้นให้กับสภาพอากาศ</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt 33.8pt; TEXT-INDENT: -15.8pt; mso-list: l1 level1 lfo1">7.     เป็นพืชที่มีความเสียหายน้อยที่สุด (ทนแล้ง)</p> <h2 style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">จุดอ่อน</h2> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt 36pt; TEXT-INDENT: -18pt; mso-list: l0 level1 lfo2">1.       ใช้เวลานานกว่าจะได้ผลผลิต (ให้ผลในระยะยาว) ลงทุนสูงในระยะแรก</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt 36pt; TEXT-INDENT: -18pt; mso-list: l0 level1 lfo2">2.       ดินขาดความอุดมสมบูรณ์</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt 36pt; TEXT-INDENT: -18pt; mso-list: l0 level1 lfo2">3.       ในสภาพอากาศชื้น เชื้อราสาเหตุโรคพืชมักสร้างปัญหา และระบาดได้ง่าย</p> <ol style="MARGIN-TOP: 0cm" type="1"> <li class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l0 level1 lfo2; tab-stops: list 36.0pt"> ผลผลิตยังต่ำ </li> <li class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l0 level1 lfo2; tab-stops: list 36.0pt"> การทำอาชีพสวนยางพาราทางภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นสวนขนาดเล็ก(เกษตรกรรายย่อย) ซึ่งยากต่อการพัฒนาให้เป็นระบบ </li> <li class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l0 level1 lfo2; tab-stops: list 36.0pt"> สถาบันเกษตรกรอ่อนแอ มีการแบ่งปันผลประโยชน์หลายขั้นตอน ซับซ้อน </li> <li class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt; mso-list: l0 level1 lfo2; tab-stops: list 36.0pt"> ผู้มีความรู้เฉพาะด้านขาดแคลน </li> </ol> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">              สำหรับสถานการณ์ยางพาราไทยในปัจจุบัน พบว่ารัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการผลิตที่ชัดเจน โรงงานรับซื้อผลผลิตมีมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก เพราะต่างประเทศประสบปัญหาวิกฤตทางธรรมชาติ</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ประโยชน์ที่ได้จากน้ำยางแล้วยางแก่ยังสามารถส่งขายให้กับโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ได้อีกด้วย ซึ่งคาดการณ์ในอีก  20 ปีข้างหน้า แต่ด้านการตลาดต้นทุนการผลิตยังสูง และราคาก็ขึ้นอยู่กับตลาดโลก จะเกิดภาวะขาดแคลนได้</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">- ผอ. สกย. (นายปัญญา  วรพิทยาภรณ์)</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">       ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับยางพาราว่า การจะผลิตยางพาราให้ประสบความสำเร็จ  </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">สิ่งสำคัญ คือ กระบวนการเรียนรู้ ในที่นี้หมายถึงการอ่านหนังสือ ต้องตามข่าวสาร บ้านเมือง หมายถึงการติดตามราคายางพาราทั้งในและต่างประเทศ ตามสื่อต่างๆ </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">จะทำให้สามารถวิเคราะห์ราคายางและคาดการณ์ได้ล่วงหน้าซึ่งจากการวิเคราะห์ ความต้องการในต่างประเทศ พบว่า ประเทศผู้สั่งซื้อยางพารารายใหญ่ของโลก คือ จีนและอินเดีย ในอีก  12 ปี ข้างหน้า จะมีความต้องการยางพาราถึง  1.4  ล้านตัน </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">คือปี 2563  เพราะฉะนั้นความต้องการยางพาราในตลาดโลกจะยังสูงขึ้นเรื่อยๆ</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">      การปฏิบัติดูแลรักษาต้นยาง  :  การใช้สารเคมีปราบวัชพืช  แม้ว่าจะมีต้นทุนต่ำ เนื่องจากราคาถูก แต่เมื่อพิจารณาผลต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว พบว่า สร้างความเสียหาย</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">กับสภาพแวดล้อมพอสมควร ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินถูกทำลาย ธรรมชาติเสียสมดุล เกิดสารตกค้างในดิน </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">ดินเสื่อมสภาพเร็ว จึงขอเตือนให้ชาวสวนยางพิจารณาให้ถ้วนถี่ก่อนใช้ ส่วนเรื่องการเก็บภาษียางพาราเป็นข้อกำหนดตามกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตาม  แต่จะเสียอย่างไร  เท่าไร เป็นประเด็นที่ต้องตกลงกันอีกครั้ง</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">- ตัวแทนจาก  ศูนย์วิจัยยางหนองคาย  (นายเกษตร  แนบสนิท)</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">   แนะนำเรื่องการปฏิบัติดูแลรักษาสวนยาง  ดังนี้</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">1. พันธุ์ที่ปลูก :  ควรเลือกให้เหมาะสมกับพื้นที่  ขณะนี้ศูนย์ฯ มีการศึกษาวิจัย </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">พันธุ์ยางที่เน้นให้น้ำยาง  พันธุ์ที่มีลักษณะเด่น ให้เนื้อไม้และพันธุ์ที่ให้น้ำยางและ</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">เนื้อไม้</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">2. ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงในขณะนี้เกิดจากกลไกการตลาดและนำเข้าจากต่างประเทศ  ในเรื่องนี้ทางศูนย์ทำการศึกษาวิเคราะห์ การใช้ปุ๋ยเคมี โดยศึกษาสภาพดินว่าขาด</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">ธาตุอาหารอะไร แล้วจะนำมาปรับปรุงผลิตขึ้นเอง ส่วนหนึ่งเพื่อลดต้นทุนการผลิต ด้านปุ๋ยเคมีลง</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">           ศูนย์วิจัยยางประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า ทางศูนย์ฯ กำลังก่อสร้างตลาดกลาง  รับซื้อยางพาราที่บ้านน้ำเป อ.รัตนวาปี ราคาซื้อขายจะอิงจากราคากลาง ถือว่าเป็น</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">อีกทางเลือกหนึ่งที่จะสนับสนุนราคาผลผลิตเกษตรกรอย่างเป็นธรรม หากใครต้องการข้อมูลด้านวิชาการเกี่ยวกับยางพาราหรือมีข้อซักถาม  คำแนะนำต่างๆ  สามารถติดต่อไปยังศูนย์วิจัยยางหนองคาย ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์  042 421396</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"> </p>   <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"> </p>

คำสำคัญ (Tags): #ยางพารา#สกย.
หมายเลขบันทึก: 179973เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2008 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ้อยมีสวนยางอยู่บ้านนาดงใหญ่ แต่ตอนนี้ให้พี่ชายดูแลอยู่ ปีหน้าจะเลือกเปิดหน้าอย่าง แต่ไม่กี่เดือนมานี้ ที่สวนโดนไฟไหม้ไปประมาณ 700 ต้น ซึ่งปีที่แล้วก็ไหม้ อยากให้เข้ามาช่วยเหลือเกี่ยวกับความรู้ การดูแลรักษา และการเยี่ยวยา ซึ่ออ้อยไปดูยางมาเมื่อวันเสาร์ ตายเยอะมาก แต่ทำงานอยู่ระยอง ซึ่งปีหน้ามีโครงการจะปลูกอีกประมาณ 20 ไร่ อยากให้มีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบคนที่จะปลูกยางใหม่มาเช็คสภาพดินและเลือกพันธุ์และให้ความรู้เกี่ยวกับดินที่จุดนั้น หรือให้บริการตรวจสภาพดิน พร้อมบอกวิธีบำรุงรักษาดินในแต่ละสภาพ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมช่วยส่งมาที่เมล์ด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

อยากทราบว่าทำไมราคายางพาราของภาคอิสานถึงได้แค่ครึ่งหนึ่งของราคาจริงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท