ปากคาดปากยิ้ม
สำนักงานเกษตรอำเภอปากคาด สำนักงานเกษตรอำเภอปากคาด

เสวนายางพาราที่ปากคาด จ.หนองคาย (1)


การผลิตยางพารามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายพื้นที่กรีดยางใหม่เริ่มทยอยให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง

บันทึกการจัดกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกร

 

เรื่อง  โครงการอบรมองค์กรเกษตรกรระดับอำเภอ (สินค้าเกษตรยางพารา)

1. แผนงาน

1.1   กำหนดกลุ่มบุคคลเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา อำเภอปากคาด จำนวน 105 ราย ประกอบด้วย             -  ชาวสวนยางพารา อำเภอปากคาด จำนวน  90  ราย

                  -  กรรมการผู้จัดตลาดรวบรวมยางพารา  7  แห่ง  จำนวน  25  รายโดยมีผู้ร่วมเสวนาทั้งจาก

1.1.1.        ตัวแทนจากภาครัฐ  ได้แก่

-          สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด

-          สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย

-          สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดหนองคาย

-          สถาบันวิจัยยางหนองคาย กรมวิชาการเกษตร

-          สำนักงานสหกรณ์จังหวัดหนองคาย

1.1.2.        ตัวแทนจากภาคเอกชน  ได้แก่

-          ร้านเคมีภัณฑ์อำเภอปากคาด  จำนวน  4  ร้าน

-          บริษัทรับซื้อยางพารา  3  แห่ง

-          ผู้ประกอบการเพาะขยายพันธุ์ยางพารา  จำนวน  3  แห่ง

1.2   วัน เวลา และสถานที่  :  วันที่  28  มีนาคม  2551  ระหว่างเวลา  08.00 16.30  น.

       หอประชุมอำเภอปากคาด 

1.3   วัตถุประสงค์   : เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับยางพารา และร่วมกัน

      หาแนวทางพัฒนายางพาราในอำเภอปากคาด

@ อำเภอปากคาดได้ทำอะไรกับยางพารา

1.       สำรวจข้อมูลการปลูกยางพารา  และแจ้งให้ชาวสวนยางพาราได้มาขึ้นทะเบียนเกษตรกรปลูกยางพาราวิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนายางพาราของอำเภอ

1.1.    ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต

1)  จดหมายข่าวเตือน ประกาศผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน

           - การระบาดของโรคในยางพารา

           - การเฝ้าระวังไฟไหม้

           - การติดตามภูมิอากาศ

- การใช้สารเคมีในแปลงยางพารา

                         2)  ประสานองค์การบริหารส่วนตำบล  ฯลฯ จัดหลักสูตรอบรม

                                    - ขยายพันธุ์ยางพารา   2  รุ่น  31  ราย

                                    - ฝึกกรีดยางพารา  7  รุ่น  330  ราย

                         3)  พัฒนาชาวสวนยางพาราให้เป็นผู้ช่วยครูฝึกกรีดยาพารา 

จำนวน  12  ราย

                         4)  เตรียมและทำความสะอาดแปลงฝึกกรีดยางพารา  พื้นที่  35  ไร่

                  2.2. ส่งเสริมให้ชาวสวนรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

@ แนวโน้มยางพารา ปี 2551

                        การผลิตยางพารามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายพื้นที่กรีดยางใหม่เริ่มทยอยให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าการส่งออกจะทรงตัว เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ราคายางที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มสูงขึ้นจากการเก็งกำไรในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ตามภาวะน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น 

                        คาดการณ์ว่าราคายางพาราในตลาดโลกน่าจะอยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ และเศรษฐกิจ

ของอินเดียที่กำลังมีการใช้ยางธรรมชาติเพิ่มขึ้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 179971เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2008 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท