Indicator Oriented Improvement : IOD;อีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อนในการพัฒนา


หลัก Begin with the end in mind : การเริ่มต้นด้วยตัวชี้วัด เป็นเป้าหมาย คือที่มาของ IOD นี้

เพื่อนชาว KM ที่รัก นับถือยิ่ง

ก็เช่นเคยครับ

วันนี้ ตั้งใจนำ บทความทางวิชาการ มาเพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ [share to learn]

เชิญพิจารณา ใคร่ครวญ เองเถิด

และ...และกรุณาอย่าลืม ข้อคิดเห็นอันมีค่าของท่าน

ผมพร้อมน้อมรับฟัง  เชิญครับ

Indicator  Oriented  Improvement : IOD

; อีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อนในการพัฒนา

พิสุทธิ์  บุญเจริญ

ผมเองเลือกใช้เวลาในการสืบค้นข้อมูลทาง Internet

ซึ่งกระทำเป็นประจำ

เป็นการลดทรัพยากรในการเดินทางไปค้นคว้าที่ห้องสมุด

ประหยัดทั้งเวลา น้ำมันรถและสะดวกปลอดภัยยิ่งนัก

 

 เช่นวันเวลาช่วงนี้

ที่กระผมเองในฐานะหัวหน้าโครงการติดตามการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

ที่ต้อง up date ข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนี้อยู่เสมอ

จากการ search ข้อมูล ทาง Website ตัวโปรด

และวันนี้ ก็ได้พบสิ่งที่ต้องการ

แหละ...ที่มากไปกว่านั้น

ผมได้พบข้อความที่ โดนใจ มาก คือ

 กรอบความคิดในการขับเคลื่อน "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ให้เป็นรากฐานของชีวิตประชาชนในหมู่บ้าน

ซึ่งเป็นหลักการสำคัญ คือ

หลักการ                  ใช้หลักการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม " ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" คือ  1. ยึดหลัก " การทำงานร่วมกัน" ( work with, not work for)

        และ 2.หลัก " การเรียนรู้จากการปฏิบัติ" (learning  by doing)

เป็นหลักการสำคัญในการทำงานร่วมกัน

 เทคนิค 1. ใช้เทคนิค "กระตุ้นความคิด สร้างจิตสำนึก ด้วยการตั้งคำถามที่โดนใจ" (asking the right questions) "ถามให้คิด" (คิดเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและลงมือทำ) ไม่ใช่ "บอกให้จำ" (แล้วเฉย)  และ2. เริ่มต้นด้วยตัวชี้วัด 6 Í 2 เป็นเป้าหมายว่ามี/ทำแล้ว หรือไม่ (begin with the ends in mind)

 

 

                             โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลัก    Begin with the ends in mind               

คือ เริ่มต้นด้วยตัวชี้วัด เป็นเป้าหมาย [ ว่ามี/ทำแล้ว หรือไม่]

นี่แหละ คือที่มาของ

 Indicator  Oriented  Improvement : IOD

[การพัฒนาโดยยึด ตัวชี้วัด เป็นตัวตั้งต้น]

; อีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อนในการพัฒนา[1] ครับ

โปรดติดตาม

 

ด้วยหลัก  Begin with the ends in mind ที่จงใจให้มีความหมายที่เจาะจงถึง

การเริ่มต้นจัดการกิจการใดๆ ด้วยตัวชี้วัด เป็นเป้าหมาย [ ว่ามี/ทำแล้ว หรือไม่]

ไม่ว่าจะเป็น การปฏิบัติการ  ป้องกัน  แก้ไข เยี่ยวยาซึ่งปัญหาใดๆ

 หรือแม้กระทั่ง การพัฒนา ซึ่งสิ่งใดๆ ก็ตาม

  ให้เริ่มต้น [Begin] ด้วยการนำ  ตัวชี้วัด [Indicator] ของ งานนั้นๆ มาเป็นตัว ตั้งต้น

แล้ว เลือกสรร  นวัตกรรม[2]  ที่เหมาะสม   เหมาะเจาะมาใช้ จัดการ ให้แนบเนียน แยบยล เพื่อส่งผลให้ ตัวชี้วัด ดังกล่าวบรรลุ  เป้าหมาย [3]   ตามเกณฑ์ ที่ตั้งไว้

 

 

คำสำคัญและความหมาย

                   เบื้องต้นนี้ใคร่ขอนำเรียนคำสำคัญและความหมายเพื่อกรุณาทราบเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อน

                        ตัวชี้วัด [Indicator]

 

ข้อมูลเพิ่มเติม                                        Indicator : ตัวชี้วัด

ภาษาอังกฤษ              :   Indicator

ความหมาย               :   ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จ หรือการบรรลุเป้าหมายในด้านความประหยัด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ ระยะเวลา สถานที่ และต้นทุน หรือค่าใช้จ่าย โดยจะต้องมีความเชื่อถือได้และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติด้วย

                                :   การกำหนดตัวชี้วัด จะต้องสามารถวัดได้ และวิธีการไม่ยุ่งยากมาก มีต้นทุนในการวัดผลสำเร็จไม่สูงจนเป็นภาระงบประมาณ โดยทั่วไปตัวชี้วัดผลสำเร็จ ประกอบด้วย ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ตัวชี้วัดเชิงเวลา และตัวชี้วัดเชิงต้นทุน

ตัวอย่าง                    :   กระทรวงพลังงาน มีเป้าหมายการให้บริการ คือ มีพลังงานเพื่อเป็นพื้นฐานในการผลิตและการบริการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีตัวชี้วัด 2 ประการ คือ

                                1.     ราคาไฟฟ้าภาคการผลิตเปลี่ยนแปลงไม่เกิดร้อยละ 3 ต่อปี

                                2.     Final Energy Consumption/GDP ไม่เกิน 16 ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อล้านบาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                        เป้าหมาย

*      ข้อมูลเพิ่มเติม                                                เป้าหมาย

ภาษาอังกฤษ      :  Target

ความหมาย       :  ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต หรือต้องการทำให้สัมฤทธิ์ผลภายในระยะเวลาหนึ่งๆ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นระดับชั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น

                        :  เป้าหมายของประเทศไทย สามารถแบ่งเป็นระดับต่างๆ เพื่อความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติได้ 4 ระดับ คือ

1.      เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ

2.      เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์จัดสรรงบประมาณ

3.      เป้าหมายการให้บริการสาธารณะระดับกระทรวง

4.      เป้าหมายการให้บริการสาธารณะระดับหน่วยงาน

 

 

 

            ดังที่ สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย   ได้เผยแพร่เป้าหมาย  หมู่บ้านที่ยึดถือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานของชีวิต  ปี 2550 ไว้ดังนี้

 

                       

 

เกณฑ์ [Criterion] ในที่นี่ให้หมายความรวมถึง  ตัวเลขที่กำหนดขึ้นไว้เป็นบรรทัดฐานเพื่อใช้ในการเทียบเคียง ในการตีค่า  หรือประเมิน

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

 

 

ตัวชี้วัด [Indicators] 

             สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย   ได้เผยแพร่ตัวชี้วัด   6  2  หมู่บ้านที่ยึดถือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานของชีวิต ดังนี้

 

 

การบริหารจัดการ  IOD

          ดังที่ได้เกริ่นไว้ในเบื้องต้นแล้วว่า

การบริหาร จัดการโครงการ กิจการงานใดๆ นั้น  สามารถกระทำได้ด้วยการหยิบยกเอา ตัวชี้วัด [Indicater] มาเป็น ตัวตั้งต้น   ไม่ว่าจะเป็น การปฏิบัติการ  ป้องกัน  แก้ไข เยี่ยวยาซึ่งปัญหาใดๆ

 หรือแม้กระทั่ง การพัฒนา สิ่งนั้นๆ ก็ตาม

  นั่นคือ ให้เริ่มต้น [Begin] ด้วยการนำ  ตัวชี้วัด [Indicator] ของ งานนั้นๆ มาเป็นตัว ตั้งต้น

แล้ว เลือกสรร  นวัตกรรม[4]  ที่เหมาะสม   เหมาะเจาะมาใช้ จัดการ ให้แนบเนียน แยบยล เพื่อส่งผลให้ ตัวชี้วัด ดังกล่าวบรรลุ  เป้าหมาย [5]   ตามเกณฑ์ ที่ตั้งไว้

 

ในส่วนของการคัดสรรเอา นวัตกรรม นั้น ผู้ศึกษาอาจพิจารณาเลือกใช้  นวัตกรรม [Innovation] ที่เรียกว่า นวัตกรรมทางเลือก [ alternative  Innovation ]ที่เหมาะสมได้ จากนวัตกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน km
หมายเลขบันทึก: 179939เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2008 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท