มองต่างมุม...อย่างคนนอก


ค่าครองชีพที่บอกว่าต่างจังหวัดต่ำกว่าในกรุงเทพฯ นั้นจริงแค่ไหน ? ในปัจจุบัน

     เมื่อเช้าได้ดูและฟังรายการทีวีช่องหนึ่ง เชิญนักวิชาการมาคุยเรื่องของการขอปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นของ สมาคมหรือสหกรรฃณ์ลูกจ้าง ที่เรียกร้องขอให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นอีก 9 บาท ทั่วประเทศ  ท่านนักวิชาการเสนอข้อคิดเห็นว่า ไม่สมควรปรับขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ เพราะค่าครองชีพไม่เท่ากัน ควรจะปรับเพิ่มขึ้นจากฐานเดิมเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น  5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำให้ค่าแรงขั้นต่ำของกรุงเทพฯ ที่เดิม 200 บาท ควรปรับเพิ่มขึ้นอีก 10 บาทเป็น 210 บาท  ส่วนต่างจังหวัดเช่นบางจังหวัด เดิม 140 บาท ก็เพิ่มอีก 7 บาท เป็น 147 บาทเป็นต้น  ได้ฟังแล้วผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยครับ (ต้องบอกก่อนครับว่าคิดแบบคนนอกวงวิชาการเรื่องนี้) เพราะเรื่องค่าครองชีพในกรุงเทพฯ สูงกว่าต่างจังหวัด ผมไม่แน่ใจว่าจริงแค่ไหน ?
      ดูตัวอย่างเช่น ค่าน้ำมัน ต่างจังหวัดยิ่งไกลจากกรุงเทพฯมากเท่าไหร่ ก็แพงขึ้นมากเท่านั้น  เมื่อค่าน้ำมันแพงมันกว่าก็ทำให้ราคาอะไรอะไร ในต่างจังหวัดแพงตามไปด้วย รวมทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ค่าเดินทางด้วยรถไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ (สองแถว) หรือ มอร์เตอร์ไซต์รับจ้างก็แพงเช่นเดียวกัน ด้วย  ค่าอาหารก็เช่นเดียวกัน  ถ้าเป็นอาหารในภัตาคารหรู ๆ ในกรุงเทพฯก็แพงกว่าในต่างจังหวัดจริง แต่ถ้าเป็นอาหารของคนที่มีรายได้น้อยที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำ ในกรุงเทพฯอาจจะมีที่ให้เลือกซื้อหาได้ถูกกว่าในต่างจังหวัดเสียอีก
       เรื่องค่าครองชีพที่บอกว่าต่างจังหวัดต่ำกว่าในกรุงเทพฯ ไม่ทราบว่าเป็นข้อมูลวิจัยเมื่อ 20-30 ปีมาแล้วหรือเปล่า  ที่สมัยโน้นในต่างจังหวัดยังไม่มีศูนย์การค้า ไม่มีร้าน 7 ไม่มีร้านเกมส์ ร้านกาแฟสด และอื่น ๆ เหมือนในกรุงเทพฯ คนชนบทไปไหนก็ยังเดินไปหรือขี่จักรยานไป  รวมทั้งคนกำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำก็อยู่ที่กรุงเทพฯหมด
       ถ้าปรับขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์ตามฐานเดิม ยิ่งปรับก็ยิ่งห่างกันมากขึ้นไปทุกที ระหว่างกรุงเทพฯกับต่างจังหวัด แล้วอย่างนี้จะไม่ให้คนต่างจังหวัด พากันละทิ้งบ้านเรือน ครอบครัว ดิ้นรนเข้ามาหาทำงานในกรุงเทพฯ มากขึ้นได้อย่างไร ? และเกิดปัญหาการว่างงาน และ คนเร่ร่อนในกรุงเทพฯตามมามากขึ้นไปเรื่อย ๆ ....ก็เป็นมุมมองจากคนธรรมดาคนหนึ่งครับ

หมายเลขบันทึก: 179649เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2008 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท