33. การทำบุญ ทำทานของคนอินเดีย


"เงิน" มิใช่ปัจจัยเดียวของการทำบุญ

การทำบุญ-ทานของชาวอินเดีย

        ดิฉันติดใจข้อความหนึ่งว่า "คนอินเดียไม่ชอบทำทาน" ดิฉันก็ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเพราะว่าเศรษฐกิจในบริเวณนั้นไม่ดีหรือเปล่าคะ ดิฉันยังติดใจเพราะสิ่งที่ดิฉันมีประสบการณ์มาดิฉันเห็นตรงข้าม จึงไปสอบถามเพื่อนชาวอินเดียว่าเป็นอย่างไร

      "ทานคือการให้" ในกรณีของวัดไทยที่เมืองกุสินารา ทราบว่าเขตนี้เป็นพื้นที่ยากจนแห่งหนึ่งของอินเดีย แต่ชาวบ้านช่วยกันบริจาคที่ดินเพื่อสร้างวัด ผู้แสวงบุญชาวไทยที่ไปที่นั่นคงบริจาคเงินให้ทางวัดคราวละไม่น้อย แต่คนท้องถิ่นก็คงบริจาคเป็นเหรียญรูปีมากกว่าเป็นธนบัตร ในเดือนกันยายนชาวอินเดียจะนิยมบริจาคมากที่สุดเพราะเป็นการทำบุญให้บรรพบุรุษ ดิฉันไม่อยากให้เทียบเป็นตัวเงินเพราะการทำบุญมิใช่การแข่งขัน

       ในที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่เขตยากจน คนที่ไปวัดฮินดูเมื่อทำพิธีบูชาไฟแล้ว       ดิฉันเห็นชาวอินเดียทำบุญด้วยการวางเงินไว้ในถาดที่บัณฑิตถือมาให้ศาสนิกชาวฮินดูรับพรจากไฟของเทพเจ้า หรือแม้แต่ช้างที่ยืนให้พรอยู่หน้าวัดฮินดูก็มีคนเอาเงินวางใส่ในรูจมูกช้างเพื่อให้ช้างแตะงวงที่ศรีษะเป็นการอวยพรก็มี ชาวอินเดียไม่มีข้อจำกัดในการทำบุญให้กับศาสนาต่างๆ

เพื่อนเล่าให้ฟังว่าคนอินเดียไม่นิยมทำบุญกับปัจเจกมากนัก แต่จะนิยมทำเพื่อคนส่วนมาก เช่น เลี้ยงอาหารคนยากจน ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ยากจน สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล สร้างวัด บริจาคที่ดิน เป็นต้น คนที่ไม่มีปัจจัยมากนักก็อาจลงแรงแทนเงินก็ได้ หรือร่วมบริจาคสมทบก็ได้ จะเห็นได้ว่าชาวอินเดียที่ประสบความสำเร็จในชีวิต มีฐานะทางการเงินที่มั่นคงหรือร่ำรวยเขาจะหาทางตอบแทนสังคมด้วยการทำบุญ ทำทาน บริจาคเพื่อสาธารณกุศล เพราะคำสอนของศาสนาฮินดูบอกว่าหากมีโอกาสช่วยเหลือคนอื่นได้แล้วไม่ช่วยถือว่าเป็นบาป การให้ทานไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินเสมอไป แม้แต่การช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยไม่หวังผลหรือสิ่งตอบแทนก็ถือว่าเป็นการทำบุญ ทำทานเหมือนกัน สาธุ!

หมายเลขบันทึก: 178801เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2008 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนอาจารย์โสภนา

เห็นด้วยครับว่า คงขึ้นอยู่สภาพเศรษฐกิจในย่านนั้นด้วย

เรื่องเล่าในศาสนาฮินดู เทพต่างๆ ก็มีการทำบุญทำทานเป็นคุณธรรมหลัก ซึ่งคนที่นับถือเทพ ก็จะทำตามด้วยความเชื่อและนับถือ

ตามวัดฮินดูต่างๆ ก็จะมีที่ให้ทำบุญด้วยเงินเสมอ ก็แสดงว่ามีคนทำบุญด้วยเงินเหมือนกัน

ส่วนเรื่องคนมีเงินตอบแทนสังคมด้วยการทำบุญทำทานนั้น ก็มีให้เห็นมากมาย เช่นวัดฮินดูของตระกูลดังๆ เช่น Birla หรือวัดหนุมาน ที่สร้างจากศรัทธาของคนในท้องถิ่น

แต่ถ้าเทียบกันกับคนไทยแล้ว ผมคิดว่าคนไทยคงเป็นแชมป์การทำบุญทำทานครับเพราะทำบุญได้ทุกวาระแล้วก็จะอธิษฐานได้มากมาย ทำให้ชีวิตมีความหวัง

ขอบคุณครับ มาแนะนำเรื่อง ทำบุญวันเกิด ด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท