กรณีครอบครัวแสงเทียน "โรงพยาบาลไม่ยอมออกหนังสือรับรองการเกิด"


ในตอนนี้เลยมีคำถามที่อยากได้คำตอบว่าทำไม โรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัด ปทุมธานี ถึงไม่ยอมออกหนังสือรับรองการเกิดให้แก่เด็กชายสาริยา แสงเทียน ?

 วันนี้ผมได้ลงพื้นที่กับพี่ใสแดงโดยไปเยี่ยมเยียน ครอบครัว แสงเทียน พวกเขาประสบปัญหาอะไร แล้วทำไมถึงเป็นเรื่องที่ผมสนใจ

 ครอบครัวแสนเทียนนั้นเป็นครอบครัวที่เดินทางมาจากประเทศพม่าเข้ามาอย่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 โดยมีนาย แสง ผู้เป็นบิดาได้พากันอพยพเข้ามาอยู่ที่บ้านลาน ต.ม่อนปิ่น อ.ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2525 (เป็นคำบอกกล่าวจากนายแสงผู้เป็นบิดา) หลังจากนั้นไม่นานโดยการชักชวนและแนะนำจากเพื่อนบ้านที่ได้เข้ามาทำงานที่สวนส้มธนาธร ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ว่ามีงานจากนายจ้างที่จังหวัดปทุมธานี ด้วยประการนี้นายแสงก็ได้พาครอบครัวคือตัวนายแสงและภรรยาของเขานั่นคือนาง จ๋า แสงเทียน ไปทำงานที่จังหวัดปทุมธานี

  การไปทำงานครั้งนี้นายแสงก็ทำงานอยู่ยังไม่ครบปีดี(ประมาณ ไม่น่าจะเกินปี2526) นายแสงก็ได้พาครอบครัวอพยพกลับไปฝั่งประเทศพม่าอีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ.2532 นางจ๋า แสงเทียนก็ให้กำเนิดบุตรน้อยของตนเอง ชื่อนางสาวปาริยา แสงเทียน เกิดที่ประเทศพม่า (นางสาวปาริยา ได้เล่าว่าได้คลอดและเติบโตที่ประเทศพม่าอยู่จนตัวเองอายุประมาณ 4-5ขวบ) หลังจากนั้นนายแสงก็ได้พาครอบครัวอพยพกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้ง(ประมาณปี พ.ศ. 2536-2537) โดยเดินทางเข้ามาในประเทศไทยทางเดิม (การเดินทางเข้ามาในประเทศไทยทั้งสองครั้งนั้นนายแสงไม่มีเอกสารหลักฐานใดที่มาช่วยยืนยันว่าตนได้เข้ามาทางนั้นจริง และก็ได้เดินทางลงไปทำงานที่จังหวัดปทุมธานีต่อ  และนางจ๋า แสงเทียน ก็ได้มาให้กำเนิด น้องชายของ นางสาวปาริยา แสงเทียน ที่โรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี 27 ตุลาคม พ.ศ.2538 น้องชายของน้องปาริยา ชื่อ เด็กชาย สาริยา แสงเทียน น้องชายของน้องปาริยานั้นเกิดในประเทศไทย แต่ทางโรงพยาบาลหนอเสือนั้นไม่ยอมที่จะออกหนังสือรับรองการเกิด ว่าเด็กชาย สาริยา แสงเทียนนั้นได้เกิดไทย ทำไมโรงพยาบาลถึงไม่ยอมออกหนังสือรับรองการเกิดให้แก่เด็กชาย สาริยา แสงเทียน?

    ซึ่งหากจะว่าไปแล้วก็มีตัวบทกฎหมายที่กำหนดให้ทางสถานพยาบาลทุกที่ที่มีการเกิดของเด็กนั้นจะต้องออกหนังสือรับรองการเกิด ใน มาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๒๓ วางหลักกฎหมายไว้ว่า "เมื่อมีคนเกิดหรือคนตาย ผู้ทำคลอดหรือผู้รักษาพยาบาลต้องออกหนังสือรับรองการเกิดหรือการตายตามแบบพิมพ์ที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้แก่ผู้มีหหน้าที่ต้องแจ้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๑"

  จากที่ได้กล่าวในข้างต้นเป็นตัวบทกฎหมายที่กำหนดบังคับว่าทางสถานพยาบาลที่เป็นผู้ทำคลอดจะต้องออกหนังสือรับรองการเกิดให้แก่เด็กที่เกิดที่สถานพยาบาลนั้น เพื่อที่ตัวผู้ปกครองเด็กจะได้สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอเพื่อที่จะทำให้เด็กสามารถมีเลข ๑๓ หลัก ในทางทะเบียนราษฎรและเป็นหนทางในการกำจัดการไร้รัฐของเด็กที่เกิดขึ้นภายในรัฐ(แม้เด็กที่เกิดนั้นอาจจะมีข้อเท็จจริงที่ว่าตัวเด็กอาจจะไม่สามารถมีสัญชาติไทยได้ในขณะที่เด็กเกิดก็ตาม)
  แต่การกระทำของโรงพยาบาลหนองเสือ ที่ไม่ยอมออกหนังสือรับรองการเกิดให้แก่เด็กชายสาริยา แสงเทียน นั้นก็ถือว่าไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายที่ได้กำหหนดให้ต้องปฎิบัติ และเป็นการทำให้เกิดผลเสียต่อตัวเด็กชายสาริยาเป็นอย่างมาก เพราะต้องตกเป็นเด็กไร้รัฐนานถึง  ๑๒ ปี และแม้ตอนนี้ตัวเด็กชายสาริยา แสงเทียนนั้นจะได้รับการสำรวจเข้าสู่ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ก็ตามแต่การที่จะพิสูจน์ว่าตัวเด็กชายสาริยา แสงเทียนได้เกิดในประเทศไทยจริงนั้นก็คงเป็นเรื่องยากถ้าหากไม่มีหนังสือรับรองการเกิดที่ซึ่งเป็นเอกสารที่สำคัญในการที่จะระบุได้ว่เด็กได้เกิดในประเทศไทยจริง (ผู้ให้สัมภาษณ์ระบุว่ามีพยานรู้เห็นการเกิดของเด็กชายสาริยา แต่ไม่รู้ว่าเขาย้ายไปอยู่ที่ไหนแล้วและไม่แน่ใจว่าจะตามหาตัวพยานเจอหรือไม่)
   ด้วยในขณะนี้ตัวนายแสงและครอบครัวซึ่งยกเว้นแต่น้องสาริยานั้นก็ได้ไปขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว(ทร38/1) ไว้ ซึ่งในข้อเท็จจริงยังเป็นที่ไม่แน่ชัดว่าเป็นเข้าช่องทางของกฎหมายที่จะกำหนดสถานะได้ถูกต้องหรือไม่
 ในตอนนี้เลยมีคำถามที่อยากได้คำตอบว่าทำไม โรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัด ปทุมธานี ถึงไม่ยอมออกหนังสือรับรองการเกิดให้แก่เด็กชายสาริยา แสงเทียน ?
หมายเลขบันทึก: 178503เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2008 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท