หลงฟัง


 

เรานี่เริ่ม “หลงฟัง” แล้วนะ
ฟังมากแล้วหลง หลงคิด หลงละเมอ

ฟังดีก็หลงดี ฟังชั่วก็หลงชั่ว หลงดีนี่แก้ยากกว่าหลงชั่วอีกนะ

ฟังน่ะฟังได้ ฟังเพื่อทำ ฟังเพื่อนำไปปฏิบัติ แต่อย่าฟังเพื่อหลง

ความหลงทำให้เกิดความอยาก อยากทำแต่ “ไม่ทำ”
ฟังมาก รู้มาก อัตตา ตัวตนมีมาก ลำบากกว่าคนที่ไม่ฟังเสียอีก...

ฟังแล้ว รู้แล้ว ต้องทำให้เกิดแรงบันดาลใจ  แรงกระตุ้น แรงจูงใจ
มีแรงบันดาลใจจะเกิดพลัง มีพลังแล้วจึงทำให้เกิดการปฏิบัติ

การฟังให้เกิดพลังต้องฟังที่แก่น ฟังแก่นให้ออก
ถ้าฟังแล้วไม่ได้ยินแก่น จิตเราจะไปหลงอยู่กับกะพี้นั่นคือความเพลิดเพลิน สนุกสนานในการฟัง ทำให้การฟังนั้นสร้างความหลงให้กับตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีความจำดี ฟังแล้วจำได้ยิ่งหลงเยอะ

ฟังแล้วนำไปทำ ประพฤติ ปฏิบัติได้ แสดงว่าฟังแล้วได้ยินแก่น
ฟังแล้วเคลิ้ม นำไปคุยทับถมชาวบ้าน เบ่ง โอ้อวด แสดงว่าฟังแล้วเจอแต่ของเสียหรือความโอ้อวดของผู้พูดที่ถ่มออกมาให้เราฟัง

ต้องหมั่นสังเกตตัวเองนะ เมื่อใดรู้สึกว่าเริ่มติด เริ่มอยาก อยากที่จะฟัง แสดงว่าเริ่มหลง เริ่มฟังผิดทางแล้ว

ขึ้นชื่อว่าความอยากเป็นสิ่งที่ควรละเสีย ไม่ควรให้เกิดให้มีขึ้นในจิตในใจ ทั้งอยากดีและอยากชั่ว
ความหลงก็เช่นเดียวกัน หลงดีก็วุ่น หลงชั่วก็วุ่น หลงฟังดีก็วุ่น หลงฟังชั่วยิ่งวุ่น
ความหลงพยายามไม่ให้เกิดขึ้นกับเราเสียเลยจะดีกว่านะ...


คำสำคัญ (Tags): #การฟัง#ความหลง
หมายเลขบันทึก: 177987เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2008 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กราบนมัสการพระอาจารย์คะ

ดิฉันเองเคยฟังแล้วหลง หลงเชื่อในภาพที่คนอื่นพูดแล้ววาดภาพให้ดู เป็นบทเรียนจนถึงวันนี้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท