ไปเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร


เมื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกอ.บ.จ.

  

วันอาทิตย์ที่  20 เมษายน  2551  ได้มีการเลือตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร (อ.บ.จ.) พร้อมกันทั่วประเทศ  เช้านี้ได้ทำหน้าที่ประชาชนคนไทยที่ดี  สนับสนุนการปกครองในระบบประชาธิปไตย  โดยไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งฯ  ตั้งแต่เลือกตั้ง  ส.ส.เมื่อ  23  ธันวาคม  2550 เลือกตั้ง  ส.ว. เมื่อ  2  มีนาคม  2551  และวันนี้เลือกตั้งนายกอ.บ.จ.การไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งนี้ถือว่าเป็นหน้าที่ของคนไทยในระบบประชาธิปไตย  และเป็นการยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ซึ่งเป็นจรรยาบรรณของครูเราพึงปฏิบัติ  การเลือกตั้ง ส.ส.  และส.ว. ที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการหน่วยเลือกตั้ง  แต่ครั้งนี้ไม่ได้ทำหน้าที่อะไร  ก็ไปใช้สิทธิที่หน่วยเลือกตั้งโรงเรียนวัดวังไผ่  หมู่ที่  3  ตำบลวังไผ่  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดชุมพร  ปฏิบัติตัวตามขั้นตอนจนถึงขั้นตอนสุดท้ายหย่อนบัตรเลือกตั้ง  ก็เป็นอันเสร็จสิ้น
เลือกเสร็จแล้วก็สงสัย  ชาวบ้านเขาจะรู้ทุกคนไหมหนอ!  ว่าเลือกนายก อ.บ.จ.ไปทำอะไร? เวลาเขาหาเสียงเขาบอกจะสร้างนั่น  จะทำนี่ให้ชาวบ้าน  เหมือนกับหาเสียง ส.ส.อย่างไรก็อย่างนั้น  ผู้สมัครบางคนก็เป็นอดีต ส.ส. หลายสมัย  เราได้ยินเขาโฆษณาหาเสียง  จะสร้างโน่น  สร้างนี่ให้พี่น้องชาวชุมพร  เรายืนฟังเขาพูดด้วยความสนใจ  (บังเอิญเดินผ่านไปได้ยิน)จึงหยุดฟัง  ฟังแล้วก็คันปากยิบ ๆ อยากจะถามเขาว่า "แล้วทำไม?เมื่อเป็นส.ส.จึงไม่คิดจะทำ"  เพิ่งจะคิดทำเมื่อสมัครนายก อ.บ.จ.นี่นะ  เฮ้อ!! เราเองเป็นครูก็เห็นประโยชน์ของการมีอ.บ.จ.ก็ตอนผู้บริหารโรงเรียนทำโครงการของบประมาณสนับสนุนการศึกษา  2-3  ปีติดต่อกัน  และก็ได้ตามที่ขอถึง 90 % ขณะนี้โรงเรียนมีโปรแจคเตอร์  มีคอมพิวเตอร์ใช้ในงานบริหารโรงเรียน (เพราะโรงเรียนมีห้องคอมฯเพื่อการเรียนการสอนเท่านั้นจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจาก สพฐ.) แต่เมื่อจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามกระบวนการของหลักสูตรตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึง  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไม่พอเพียงกับการจัดการเรียนการสอน  (เดิมมี 15  เครื่อง  นักเรียนบางห้อง ถึง 50  คน) จะทำอย่างไรดีล่ะคราวนี้  งบจัดสรรจากหน่วยเหนือก็ไม่มีให้  หรือถ้ามีก็ต้องรอก่อน  ผู้บริหารโรงเรียนได้ทำโครงการเสนอของบประมาณจาก อ.บ.จ.เพื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์อีก 15  เครื่อง  รวมกับของเดิม  ก็เป็น  30  เครื่อง  ผู้สอนก็ชื่นใจมีคอมฯให้เด็กได้เรียนอย่างทั่วถึง  เป็นคอมฯจอ LCD เครื่องประกอบเอง  ในวงเงิน  250,000  บาท  ไม่ต้องคิดอะไรมากขั้นตอนและที่ไปที่มาเป็นอย่างไรนั้น  ไม่ต้องสนใจ  คิดแต่เพียง  "มีคอมฯสอนเด็กก็พอแล้ว"  และที่เห็นชัดเจนก็คือหนังสือห้องสมุดจำนวนมากที่โรงเรียนไม่ได้ขอ  แต่ได้รับมา  สำนักงานเขตพื้นที่ได้มีหนังสือสั่งการให้ตรวจสอบคุณภาพของหนังสือเหล่านั้น  บรรณรักษ์และคุณครูได้ช่วยกันตรวจสอบก็ใช้ได้นะหนังสือมีปะปนกันหลายประเภท  สรุปว่าใช้ได้  ทั้งหมดที่กล่าวนี้เราเห็นประโยชน์ที่ได้รับจากนายก อ.บ.จ.ในด้านการศึกษา  แต่ในด้านอื่นเราไม่ทราบเพราะไม่ได้สัมผัส   
ก็เป็นประชาชนคนไทยที่ไม่ดีคนหนึ่ง  ที่หูตาไม่กว้างไกล   บังเอิญโรงเรียนอยู่ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบล  ก็เห็นก็รู้เฉพาะเรื่องของเทศบาลตำบลเท่านั้น  รู้เพียงเท่านี้ก็ปวดหัวแล้วเรา

 

อุ๊ย !!!ทำไมนอนหลับทับสิทธิล่ะ


 

 

คำสำคัญ (Tags): #บันทึกประจำวัน
หมายเลขบันทึก: 177739เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2008 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท