3.1.6. อนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO convention)


 

                    ในส่วนนี้ผู้เขียนจะได้ศึกษาถึงสิทธิในการคุ้มครองแรงงานภายใต้อนุสัญญาขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(ILO convention) ที่ประเทศไทยเข้าผูกพัน ดังต่อไปนี้

                    ในที่ประชุมใหญ่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1957 และโดยได้พิจารณาปัญหาของแรงงานบังคับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องได้คำนึงให้มีการกำหนด ให้มีการดำเนินทางมาตรการที่จำเป็นทั้งมวนเพื่อป้องกัน ไม่ให้การเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับพัฒนาการไปสู่สภาวะที่คล้ายคลึงกันกับการเป็นทาสและอนุสัญญาเสริมว่าด้วยการเลิกเป็นทาส การค้าทาสและสถาบันและการปฏิบัติคลึงกับการเป็นทาส ค.ศ. 1956 กำหนดให้มีการยกเลิกแรงงานใช้หนี้ผูกพันและความเป็นทาสติดโดยสิ้นเชิงและโดยคำนึงถึงว่าอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองค่าจ้างงาน ค.ศ. 1949 กำหนดให้มีการจ่ายค่าจ้างเป็นประจำ และห้ามมิให้ใช้วิธีการจ่ายค่าจ้างงานที่เป็นการลิดรอนสิทธิของคนงานในการบอกเลิกการจ้างของตนได้อย่างแท้จริง และโดยได้ตกลงรับข้อเสนอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยกเลิกการเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับที่เป็นการฝ่าฝืนสิทธิของมนุษยชนที่อ้างถึงในกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน[1]

                    นอกจากความตกลงในการประชุมที่กล่าวมาข้าต้นนั้นยังอนุสัญญาต่างๆขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหลายฉบับที่ได้ยั้งยืนถึงการให้ความคุ้มครองแรงงานไว้เช่น

อนุสัญญาฉบับที่ 29 ว่าด้วยการเกณฑ์แรงงานบังคับ ค.ศ. 1930

อนุสัญญาฉบับที่ 105 ว่าด้วยยกเลิกแรงงานบังคับ ค.ศ. 1957

อนุสัญญาฉบับที่ 100 ว่าด้วยการตอบแทนที่เท่ากัน ค.ศ. 1951

อนุสัญญาฉบับที่ 111 ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ(การจ้างแรงงานและประกอบอาชีพ) ค.ศ. 1958

อนุสัญญาฉบับที่ 87 เสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ค.ศ. 1948

อนุสัญญาฉบับที่ 98  สิทธิในการรวมตัว และร่วมเจรจาต่อรอง ค.ศ. 1949

อนุสัญญาฉบับที่ 138 อายุขั้นต่ำ ค.ศ. 1973

อนุสัญญาฉบับที่ 182 ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของแรงงาเด็ก ค.ศ. 1999

อนุสัญญาฉบับที่ 100 ว่าด้วยการหยุดพักผ่อนประจำสัปดาห์ในงานอุตสาหกรรม ค.ศ. 1921

อนุสัญญาฉบับที่ 19 ว่าด้วยการปฏิบัติโดยเท่าเทียมกันในเรื่องค่าตอบแทนสำหรับคนงานชาติในบังคับและคนต่างชาติ ค.ศ. 1925

อนุสัญญาฉบับที่ 104 ว่าด้วยการเลิกบังคับทางอาญาแก่กรรมกรพื้นที่ละเมิดสัญญาการจ้างงาน ค.ศ. 1955

อนุสัญญาฉบับที่ 22 ว่าด้วยนโยบายการทำงาน ค.ศ. 1964

อนุสัญญาฉบับที่ 123 ว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่อนุญาตให้ทำงานในเหมืองใต้ดิน ค.ศ. 1965

อนุสัญญาฉบับที่ 127 ว่าด้วยน้ำหนักสูงสุดที่อนุญาตให้คนงานคนหนึ่งแบกหามได้ ค.ศ. 1951

                    ถึงแม้ยังมีอนุสัญญาที่ไทยมิได้เป็นภาคีแต่มีผลผูกพัน ทั้งนี้โดยผลของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบกล่าวคือ

อนุสัญญาฉบับที่ 111 ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ(การจ้างแรงงานและประกอบอาชีพ) ค.ศ. 1958 โดยอนุสัญญาฉบับนี้มีสาระสำคัญดังนี้

                    ให้ประเทศสมาชิกดำเนินนโยบายแห่งชาติ ซึ่งส่งเสริมความเสมอภาคของโอกาสและปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

                    มาตรการใดๆ ที่ส่งผลต่อปัจเจกบุคคลผู้ต้องสงสัยหรือเกี่ยวข้องในกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ ไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยบุคคลผู้เกี่ยวข้องผู้นั้นมีสิทธิในการอุทธรณ์ การแบ่งแยก การกีดกั้น หรือการลำเอียงใดๆ ในเรื่องเฉพาะงาน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความต้องการอย่างแท้จริงของงานนั้น ไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ

                    ทั้งนี้คำว่า การจ้างงาน และ อาชีพ รวมถึง การเข้ารับการฝึกอาชีพการเข้าทำงานและการประกอบอาชีพบางประเภท และข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆของการจ้างแรงงาน ส่วน การเลือกปฏิบัติ หมายถึง

                    ก) การแบ่งแยก การกีดกัน หรือการลำเอียงใดๆที่กระทำนบพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติ หรืสถานภาพทางสังคม ซึ่งมีผลลบล้างหรืความเสียหายแก่ความเสมอภาคทางโอกาส หรือในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างงานหรืออาชีพ

                    ข) การแบ่งแยก การกีดกัน หรือการลำเอียงอื่นมีผลลบล้างหรือความเสียหายแก่ความเสมอภาคในโอกาสหรือในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างแรงงานหรืออาชีพตามที่อาจกำหนดโดยประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องภายหลังจากการปรึกษาหารือกับองค์องค์การตัวแทนของนายจ้างและลูกจ้าง(คนงาน)

                    นอกจากนั้น มาตร 2 ของอนุสัญญาฉบับนี้ บัญญัติ รัฐสมาชิก อนุสัญญาฉบับนี้ใช้บังคับ รับรองที่จะประกาศและดำเนินนโยบายแห่งชาติ ซึ่งมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความเสมอภาคในโอกาสและการเลือกปฏิบัติในเรื่องการจ้างแรงงานและอาชีพ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติในใดๆเกี่ยวกับเรื่องนั้น ด้วยระเบียบวิธีที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ และแนวปฏิบัติภายในประเทศ

 



[1] อนุสัญญาว่าด้วยการเลิกจ้างแรงงานบังคับ, ฉบับที่ 105, 1975.

หมายเลขบันทึก: 177623เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2008 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท