ถนนพหลโยธิน


ถนนพหลโยธิน

ถนนพหลโยธิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

ถนนพหลโยธิน (อังกฤษ: Thanon Phahon Yothin) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (กรุงเทพมหานคร-แม่สาย (เขตแดน)) เป็นถนนที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะราษฎร ผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ตั้งชื่อว่าถนนพหลโยธินเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ก่อนหน้านี้ถนนพหลโยธินมีชื่อเดิมว่า "ถนนประชาธิปัตย์"

ถนนพหลโยธินตอนแรกไปถึงดอนเมืองเมื่อปี 2479 แต้ได้ขยายต่อมาถึงจังหวัดลพบุรีเมื่อ 24 มิถุนายน 2483 จากนั้นจึงขยายตัวไปเรื่อย ๆ ในที่สุดได้มีการรวมทางหลวงสายลำปาง-เชียงราย เข้าเป็นส่วนหนึ่งของถนนพหลโยธินด้วย

ถนนพหลโยธินเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยตัดผ่าน เขตพญาไท เขตจตุจักร เขตบางเขน เขตดอนเมือง และเขตสายไหม ขึ้นไปสู่จังหวัดทางภาคเหนือ เริ่มตั้งแต่จังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ แล้วออกไปทาง กำแพงเพชร (โดยไม่ผ่านพิษณุโลก) ตาก ลำปาง พะเยา ไปที่จังหวัดเชียงราย และสิ้นสุดที่อำเภอแม่สาย ระยะทางยาวประมาณ 1,005 กิโลเมตร

[แก้] ทางแยก

ถนนพหลโยธินเป็นถนนสายหลักตัดผ่านหลายจังหวัด มีแยกสำคัญๆ ดังนี้

กรุงเทพมหานคร
จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดสระบุรี
จังหวัดลพบุรี
จังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดชัยนาท
จังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดกำแพงเพชร
  • แยกสลกบาตร
  • แยกขาณุวรลักษบุรี
  • แยกคลองขลุง
  • แยกทุ่งเศรษฐี
  • แยกนครชุม - ถนนกำแพงเพชร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101) ตัดออกทางด้านฝั่งขวา (เข้าเมืองกำแพงเพชร) และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1116 ตัดออกทางฝั่งซ้าย
  • แยกโกสัมพีนคร - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 104 (บ้านน้ำดิบ) (ถนนพหลโยธินสายเก่า) แยกออกทางฝั่งขวา
จังหวัดตาก
จังหวัดลำปาง
  • แยกแม่พริก
  • แยกดอนชัย-ทุ่งเสลี่ยม
  • แยกเมืองดอนชัย
  • แยกวังชิ้น
  • แยกเกาะคา(ใต้)
  • แยกเกาะคา(เหนือ)
  • แยกบ้านฟ่อน
  • แยกย่าเป้า (ถนนพหลโยธิน แยกเข้าเมือง)
  • แยกภาคเหนือ
  • แยกขนส่ง
  • แยกเวียงทอง
  • แยกศรีชุม
  • แยกสนามบิน
  • แยกดอยพระบาท
  • แยกค่ายสุรศักดิ์ (บรรจบ ถนนพหลโยธิน สายเข้าเมือง)
จังหวัดพะเยา
  • แยกแม่ต๋ำ
  • แยกประตูชัย
  • แยกแม่ใจ
จังหวัดเชียงราย

 

หมายเลขบันทึก: 177604เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2008 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ทรงเป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท ตามพระราชประวัติในคัมภีร์อโศกาวทาน ของฝ่ายมหายาน ใน อรรถกถาสมันตปาสาทิกา คัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์ ของฝ่ายเถรวาท และทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นักถือศาสนาเชน โดยการถวายถ้ำหลายแห่ง ให้แก่เชนศาสนิกชน เพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา

[แก้] ทรงเป็นหนึ่งใน 6 ในอัครมหาบุรุษ

เอช. จี. เวลส์ (H.G.Wells) นักประวัติศาสตร์คนสำคัญในตะวันตกก็ยกย่องพระเจ้าอโศกมหาราช ว่าทรงเป็นอัครมหาบุรุษท่านหนึ่ง ใน 6 อัครมหาบุรษแห่งประวัติศาสตร์โลก คือ พระพุทธเจ้า โสเครติส อริสโตเติล โรเจอร์ เบคอน และอับราฮัม ลิงคอล์น

[แก้] คุณธรรมที่ควรเป็นแบบอย่าง

ทรงมีปัญญาเป็นเลิศ ได้ฟังธรรมจากพระสมุทระส่งพระกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนบรรลุพระโสดาบัน

เป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง เมื่อพระอลัชชี คือพวกนอกศาสนาปลอมตัวเป็นพระมาทำลายศาสนา พระองค์ทรงส่งอำมาตย์ไปไกล่เกลี่ยแต่อำมาตย์ฆ่าพระโดยโทสะ พระองค์ทรงยอมรับผิดแต่โดยดี แม้จะไม่ได้ทำ ทรงรับผิดชอบโดยการชำระสังฆมณฑลให้ขาวรอบ

ทรงนับถือศาสนาพุทธ แต่มิได้เบียดเบียนศาสนาอื่น กลับสนับสนุนอีก แม้มิได้นับถือ เช่น ทรงอุทิศถ้ำอชันตาให้แก่พวกนักบวชศาสนาเชนดั่งคำหลักศิลาจารึกที่13ว่า " การเหยีดหยามศาสนาอื่น มิได้ทำให้ศาสนาของตนดีเลย กลับแย่ลงเสียอีก"

ทรงมีพระทัยอันกว้างใหญ่ เช่น ทรงอนุญาตให้ พระมหินท และพระสังฆมิตตา อุปสมบทได้ ทั้งสองทำวิปัสสนาด้วยความเพียรจนบรรลุอรหัตตผล และเป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา ควรถือเป็นแบบอย่าง

ทรงปกครองบ้านเมืองโดยเป็นธรรม โดยใช้หลักพรหมวิหารธรรม4 ไม่ขาดและไม่ทำลาย เป็นตัวอย่างแก่ผู้นำบริษัทและเจ้าขุนมูลนายทั้งสมัยโบราณกาลและสมัยปัจจุบันอย่างยิ่ง

เป็นมหาราชในอุดมคติ พระองค์ทรงใช้ หลัก"ธรรมราชา"คือการปกครองบ้านเมืองโดยธรรม เป็นหลักการปกครอง พระมหากษัตริย์ต่างเมืองต่างประเทศทั้งสมัยอดีตจนสมัยปัจจุบัน ได้กระทำตามจนบ้านเมืองของตนเจริญรุ่งเรือง

ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย เช่น

หัวเสารูปสิงห์ 4 ทิศ รัฐบาลอินเดีย นำมาใช้เป็นตราราชการแผ่นดิน

ทรงเป็นอัครศาสนาณูปถัมภ์ การสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ใช้เวลาสอบสวนสะสางสำเร็จภายใน 9 เดือน

ทรงส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งประเทศอินเดีย และนอกประเทศอินเดีย

ทรงสร้างวัดทั้ง 84000 วัดและพระสถูปทั่วชมพูทวีป ทั้ง 84000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ และทรงให้จารึกธรรมะที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 และหลักธรรมวิชัย คือการชนะจิตใจคนด้วยพระธรรม ฯลฯ

ทรงชำระสังฆมณฑล โดยจับพระปลอมจับสึกจำนวน 60000 รูป

ทรงค้นพบสังเวชนียสถาน 4 ตำบล และประดิษฐานด้วยเงิน 100000 กหาปณะ

ทรงปักหลักเสาศิลาจารึก ณ พุทธสถานที่สำคัญ ทำให้นักโบราณคดีค้นพบพุทธสถานมากมาย หัวเสาอโศกเป็นรูปสิงห์4ตัวหันหลังชนกัน ซึ่ง ต่อมาเป็นตราแผ่นดินประจำประเทศอินเดีย

ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้าง โรงพยาบาล ขุดสระน้ำ ปลูกต้นไม้ ที่พักคนเดินทาง เป็นต้น

ทำนุบำรุงพระสงฆ์อย่างยิ่งใหญ่ เช่นสร้างวัด และวิหาร ถวายพระสงฆ์ เพื่อเป็นที่ศึกษาพระธรรมวินัย

ทรงประดิษฐานจารึกอโศก ทั่วแคว้นหลายแคว้น จารึกเกี่ยวกับหลักธรรมะที่ทรงสั่งสอนประชาชนและข้าราชการ พระราชกรณียกิจของพระองค์ หลักการปกครอง และหลักการบริหารประเทศชาติ เป็นต้น

ทรงใช้หลัก "ธรรมราชา" เป็นหลักนโยบายในการปกครอง พระมหากษัตริย์ทั่วเมืองทั่วประเทศทั้งสมัยอดีตจนสมัยปัจจุบัน ได้กระทำตามจนบ้านเมืองของตนเจริญรุ่งเรือง

ทรงศึกษาและประพฤติปฏิบัติธรรมะอย่างเคร่งครัด

ทรงประกาศห้ามฆ่าสัตว์โดยไม่สมควร

ทรงประกาศเลิกการชุนนุมเพื่อความบันเทิง ให้มาปฏิบัติกิจกรรมทางธรรมและกิจกรรมที่มีสาระแทน เช่นทรงสั่งสอนให้ประชาชนปฏิบัติธรรมทรงเสด็จเยี่ยมเยียน ประชาชน ทั้งชาวเมือง และชาวชนบท และทรงเสด็จไปนมัสการพุทธสถานที่สำคัญ

ทรงบริจาคทรัพย์ ให้ในการช่วยเหลือและ นวกรรม คือการก่อสร้างหลายสิ่งหลายอย่าง ให้ประชาชน และทรงเน้นเรื่องธรรมทาน คือการแนะนำสั่งสอนธรรมะ คือ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ให้แก่ประชาชน

ทรงแนะนำให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติธรรม และทรงส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี เช่น ลูกต้องเชื่อฟังบิดา มารดา ลูกศิษย์ ต้องเชื่อฟัง อาจารย์ ปฏิบัติต่อคนรับใช้อย่างดี เป็นต้น

ทรงให้เสรีในการนับถือศาสนาแก่ประชาชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท