หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

เพิ่งรู้ว่าชื่อ..เพลี้ยไก่แจ้


ความแปลกใหม่ทำให้เร้าใจ ความสดใสทำให้เกิดความสนใจ

ไปเที่ยวภูหินร่องกล้ามา เจอเจ้าตัวนี้กระโดดได้  คลานได้    เกาะนิ่งๆบนกิ่งไม้ก็ได้  ดูแล้วเหมือนไก่แจ้ตัวกระจิดริ๊ดที่กำลังซุกซน    เลยเก็บภาพมาถามไถ่ว่าตัวอะไรหนอ   ใครรู้ช่วยบอกที   

แมลงบนภูหินร่องกล้า

แมลงบนภูหินร่องกล้า

แมลงบนภูหินร่องกล้า

หมายเลขบันทึก: 177024เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2008 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีครับ คุณหมอ

      เจ้าตัวที่ว่า สมัยเด็กๆ ที่บ้านผมก็มีครับ   เด็กๆชอบเล่นกัน  เด็กมักเรียกกันว่า "ตัวไก่"   แต่ผู้ใหญ่เรียก "เพลี้ยไก่แจ้"  มันชอบเกาะตามต้นส้ม    (ไม่ทราบว่าจะเป็นตัวเดียวกันหรือเปล่า)

                         ขอบคุณครับ

ตัวเขาน่ารักนะคะ แต่ท่าทางชาวสวนทุเรียนจะไม่ชอบแน่ๆค่ะ คุณหมอเจ๊ มีรายละเอียดที่นี่ค่ะ http://www.doa.go.th/fieldcrops/ipm/th/Pests/Durian_psyllid.htm http://www.doae.go.th/pest/fruit/durian/duall.htm

  • ขอบคุณค่ะ อ. small man , คุณโอ๋-อโณ
  • .........
  • หมอเจ๊ไปค้นจาก google แล้วค่ะ
  • .........
  • มีข้อมูลมาบอกต่ออย่างนี้ค่ะ
  • .........
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Allocaridara malayensis Crawford

 

  • รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อพืช ทำให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือน้ำตาลตามใบเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 8 - 14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนขนาดยาวประมาณ 3 มม. และมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของลำต้นมีปุยสีขาวคล้าย ๆ กับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า “เพลี้ยไก่แจ้” หรือ “เพลี้ยไก่ฟ้า” เมื่อแมลงนี้ลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยสีน้ำตาลปนเขียว ขนาดยาวประมาณ 5 มม. มีอายุได้นานถึง 6 เดือน มักไม่ค่อยบินนอกจากได้รับความกระทบกระเทือน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ด้านหลังใบตลอดเวลา

  • ลักษณะการทำลาย

แมลงชนิดนี้ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโตและเล็กผิดปกติ เมื่อระบาดมาก ๆ ใบจะหงิกงอ แห้งและร่วงหมด นอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ ตัวอ่อนของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมา เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารสีขาวขับออกมา ระยะที่ทำลายมากที่สุดคือในระยะตัวอ่อน แมลงชนิดนี้ทำความเสียหายให้กับทุเรียนพันธุ์ชะนีมากที่สุด

  • การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
  • ระยะที่พบ ระหว่างเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน
  • ระยะควรระวัง กลางเดือนมิถุนายน - กลางเดือนกรกฎาคม และกลางเดือนสิงหาคม - กลางเดือนกันยายน

 

  • ศัตรูธรรมชาติ

แตนเบียนเอนเซอร์ติด Encyrtidae ด้วงเต่าโรโดเลีย Rodolia sp. ด้วงเต่าปีกลายหยัก Menochilus sexmaculatus ด้วงเต่าสีส้ม Micraspis discolor แมลงช้างปีกใส Chrysopa sp. แมลงช้างปีกใสแปดจุด Ankyloptery octopunctata แมลงช้างปีกสีน้ำตาล Hemerobius sp. ต่อหลวง ต่อรัง Vespidae แมงมุม Spiders เชื้อรา Unidentified sp.

  • เพลี้ยไก่แจ้ส้ม ( Asian citrus psyllid )

    ชื่อวิทยาศาสตร์

    Diaphorina citri Kuawayama
    วงศ์
    Phyllidae
    อันดับ
    Homoptera
    ความสำคัญและลักษณะการทำลาย
    ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากตา และยอดอ่อน ตัวอ่อนจะกลั่นสารสีขาวมีลักษณะเป็นเส้นด้าย และอาจทำให้เกิดราดำติดตามมา ใบที่ถูกทำลายจะเป็นคลื่น ถ้าทำลายรุนแรงจะทำให้ใบร่วงติดผลน้อยหรือไม่ติดผลเลย เพลี้ยไก่แจ้ส้มนอกจากจะทำความเสียหายยังเป็นพาหะถ่ายทอดโรคใบเหลืองต้นโทรม หรือกรีนนิ่ง ต้นจะทรุดโทรมและตายในที่สุด
    รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ
    ตัวเต็มวัย เป็นแมลงขนาดเล็ก สีน้ำตาลอ่อน ความยาวจากหัวถึงปลายปีกประมาณ 3.0 - 4.0 มิลลิลิตร ขณะที่เกาะอยู่กับที่ลำตัวของแมลงจะทำมุม 45 องศา กับต้นส้ม วางไข่เป็นฟองเดี่ยวที่บริเวณตาหรือใบ ของยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่หรือตามซอกระหว่างก้านใบอ่อน
    ไข่ สีเหลืองเข้ม รูปร่างคล้ายขนมทองยอด ปลายข้างหนึ่งมีก้านเล็ก ๆ ฝังติดกับเนื้อเยื่อพืช
    ตัวอ่อน สีเหลืองค่อนข้างกลมแบน มีตาสีแดง 1 คู่เห็นชัดเจน
    การแพร่ระบาด
    พบมากในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม และพฤษภาคม - กรกฎาคม หรือในช่วงฤดูฝน
    พืชอาหาร
    พืชตระกูลส้มทุกชนิด และพืชอาศัยที่สำคัญคือต้นแก้ว
    ศัตรูธรรมชาติ
    แตนเบียน 2 ชนิด คือ Tamarixia radiata ( Waterston ) สามารถพัฒนาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้และ Diaphorencyrtus alegarhensis ( Shaffee , Alam and Agawal ) ซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าชนิดแรก
    การป้องกันกำจัด
    1. หมั่นสำรวจโดยการสุ่ม 10 -20 ต้น / สวน ต้นละ 5 ยอด และสำรวจตัวเต็มวัยโดยการใช้กับดักกาวเหนียวติด 5 กับดัก / ไร่ เมื่อพบต้องดำเนินการควบคุมทันที สำหรับยอดที่พบไข่ให้ตัดออกและนำไปเผาทำลาย ตัวเต็มวัยต้องควบคุมโดยการใช้สารเคมี
    2. สารเคมี ดังนี้
       - อิมิดาโครปริด เช่น คอนฟิดอร์ 10 %SL อัตรา 8 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
       - น้ำมันปิโตรเลี่ยม เช่น DC Tron Plus อัตราความเข้มข้น 0.3 % พ่นให้เปียกโชกทั่วต้น

ยอดอ่อนส้มเขียวหวานมี

ยอดอ่อนส้มเขียวหวานมี
ตัวอ่อนเพลี้ยไก่แจ้ส้มทำลาย

ไข่ของเพลี้ยไก่แจ้ส้ม

ไข่ของเพลี้ยไก่แจ้ส้ม

 

 

ตัวเต็มวัยของเพลี้ยไก่แจ้ส้ม

เพลี้ยไก่แจ้ส้ม

ตัวเต็มวัยของเพลี้ยไก่แจ้ส้ม

 

  • คอนฟิดอร์ มีผลต่อสุขภาพในฐานะเป็นสารเคมีตัวหนึ่ง
  • ..........
  • พิษมีมากถ้าไหม้ไฟ เพราะแปลงร่างเป็นก๊าซที่อันตรายต่อสุขภาพ  สูดดมแล้วกล้ามเนื้ออ่อนแรง หมดแรงหายใจได้
  • ............
  • พิษอ่อนๆ ทำให้คัน มีผื่นแพ้ที่ผิวหนัง
  • พิษมากขึ้นอีก คือ ใจสั่น หายใจหอบ
  • พิษสูงสุด คือ หมดลมหายใจ
  • ............
  • หากบังเอิญกลืนกินเข้าไปให้รีบดื่มน้ำตามเยอะๆ
  • ห้ามให้นมแก้พิษ เพราะยิ่งทำให้เพิ่มพิษ
  • ...........
  • หากสัมผัสมัน ให้ล้างออกด้วยสบู่และน้ำ
  • ..........
  • เกิดว่ามันไหม้ไฟ เพื่อลดและป้องกันการฟุ้งของก๊าซให้ดับไฟด้วยละอองน้ำ
  • ..........
  • ไม่เก็บในที่แดดส่องถึง เพราะติดไฟได้เอง เนื่องจากมีส่วนผสมของแอทิลแอลกอฮอล์อยู่เกือบ 1 ใน 3 ส่วน
  • ..........
  • พิษมันร้ายน่าดู  เห็นใครใช้โปรดช่วยเตือนว่าเก็บให้พ้นมือเด็ก
  • ..........
  • เจ้าตัวนี้ ไม่มียาแก้พิษ
  • ..........
  • ไม่ใช้เลยแน่นอนว่าปลอดภัย 100%
  • ส่วนน้ำมันปิโตรเลียม
  • ..............
  • พิษสะสมของมันก่อมะเร็งผิวหนัง
  • พิษอีกด้านของมันเมื่อมันสลายตัว คือ ทำให้หายใจลำบาก
  • ..............
  • หากมันสร้างปัญหาให้จัดการเหมือนตัวที่บอกไว้ข้างบน
  • .............
  • แม้ใครจะบอกว่าเป็นน้ำมันธรรมชาติ
  • แต่มันก็ร้ายนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท