ไวรัสคอมพิวเตอร์


ไวรัส

ไวรัสคอมพิวเตอร์

                                                           

  ปัญหาของการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ปัญหาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ดังนั้นเราควรทำความรู้จักและหาวิธีป้องกัน เพื่อไม่ให้ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้ามาสร้างความเสียหายกับระบบคอมพิวเตอร์ของเรา

ในสมัยก่อนเมื่อได้ยินคำว่าไวรัสคอมพิวเตอร์ก็เริ่มสงสัยว่าเป็นอย่างไร เหมือนกับไวรัสที่เป็นพวกเชื้อโรคที่ทำให้เราเป็นหวัดหรือไม่ แต่พอได้ยินคำว่าไวรัสคอมพิวเตอร์มันเป็นไวรัสชนิดใหม่หรืออย่างไรหลายท่านอาจจะสงสัย ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับไวรัสคอมพิวเตอร์กันดีกว่า

 

ไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร

ไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งที่ถูกเขียนขึ้นมาใหสามารถจัดการกับตวมันเองได้ โดยมีลักษณะเลียนแบบสิ่งมีชีวิต คือสามารถเจริญเติบโตเองได ขยายและแพรกระจายตัวเองได สามารถอยูรอดไดดวยการอําพรางตน เหมือนกับไวรสที่เปนเชื้อโรครายทําลายสิ่งมีชวิตทั้งหลายนั่นเอง

ปัจจุบันไวรัสคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฏิบัติการได้หลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นระบบปฏิบัติการ DOS, Windows, Linux หรือ Symbian เป็นต้น ซึ่งการทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์จะไม่เหมือนกัน แต่โดยส่วนใหญ่ไวรัสคอมพิวเตอร์จะทำงานอยู่ 2 รูปแบบ คือ

1.   ไม่ทำความเสียหายให้กับระบบ แต่จะคอยสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้ เช่น สั่งเครื่อง Restart หรือ Shutdown เป็นต้น

2.   ทำลายความเสียหายให้กับระบบ ไวรัสคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะทำลายไฟล์ข้อมูลต่างๆ  เช่น ลบข้อมูล, ฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

 

 

 

ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่พบบ่อย ๆ ในปัจจุบันเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท คือ

1.      ไวรัสโปรแกรม (Program Virus)

เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Dos และ Windows เป็นหลัก หากมีการเรียกใช้งานโปรแกรมที่ติดไวรัสก็จะทำให้มีการกระจายไปยังไฟล์อื่นในระบบของเรา ส่วนใหญ่จะติดไปกับไฟลโปรแกรมที่มีนามสกุลเปน .com, .exe, .sys, .dll โดยสังเกตุไดจากขนาดของไฟลโปรแกรมที่มีขนาดที่โตขึ้นจากเดิม บางชนิดอาจจะสําเนาตัวเองไปทับบางสวนของโปรแกรมซึ่งไมอาจสังเกตจากขนาดของไฟลได การทํางานของไวรัสจะเริ่มขึ้นเมื่อไฟลโปรแกรมที่ติดไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทํางาน โดยที่ไวรัสจะถือโอกาสเขาไปฝงตัวอยู่ในหนวยความจําของเครื่องทันทีแลวจึงใหโปรแกรมนั้นทํางานตอไป และเมื่อมีการเรียกโปรแกรมอื่นๆ ขึ้นมาทำงานไวรัสก็จะสําเนาตัวเองใหไปฝังตัวติดไปกับโปรแกรมตัวอื่นๆ ตอไปได้อีกเรื่อยๆ

2.      ไวรัสบู๊ต (Boot Sector Virus)

เป็นไวรัสที่ฝังตัวเองอยู่ในส่วนของการบู๊ตของดิสก์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบู๊ตเซ็กเตอร์(Boot Sector) เมื่อเครื่องคอมพิวเตอรเริ่มทํางานขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเขาไปอานโปรแกรมบู๊ตระบบที่อยูในบู๊ตเซ็กเตอรกอนเสมอ ถามีไวรัสเขาไปฝงตัวอยูในบู๊ตเซ๊กเตอรในบริเวณที่เรยกวา Master Boot Record (MBR) ก็จะทำให้ในทุกครั้งที่เราเปดเครื่องก็เทากับวาเราไดปลุกใหไวรัสขึ้นมาทํางานทุกครั้ง กอนการเรียกโปรแกรมอื่นๆ ด้วยซ้ำ ซึ่งปัญหาที่มักเกิดเมื่อติดไวรัสจำพวกนี้ก็คือ จะไม่สามารถเข้าสู่วินโดวส์ได้เพราะว่าไวรัสฝังตัวอยู่ในส่วนของการบู๊ตเครื่อง

3.      ไวรัสมาโคร (Macro Viruses)

ไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ตอนนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากโปรแกรมเมอร์สามารถพัฒนาไวรัสชนิดนี้ได้ง่าย ซึ่งจะเป็นสายพันธุ์ที่ก่อกวนโปรแกรมสำนักงานต่างๆ เช่น MS Word, Excel, PowerPoint โดยไวรัสชนิดนี้จะอยู่ในรูปแบบของชุดคําสั่งเล็กๆ ที่ทํางานโดยอัตโนมัติ สามารถติดตอด้วยการสําเนาไฟลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง มักจะทําใหไฟลมีขนาดใหญขึ้นผิดปกติ การทำงานหยุดชะงักโดยไมทราบสาเหตุ หรือทําใหไฟลเสียหาย ขัดขวางกระบวนการพิมพ เปนตน. หน้าที่ของไวรัสประเภทมาโครส่วนใหญ่จะคอยทำลายไฟล์เอกสารต่างๆ เช่น .doc, .xls, .ppt และ .mdb ของไมโครซอฟต์ออฟฟิศ เป็นต้น.

4.      ไวรัสสคริปต (Scripts Viruses)

ไวรัสสายพันธุนี้เขียนขึ้นมาจากภาษาที่ใชในการเขียนโปรแกรม เชน VBScript, Java Script ซึ่งไวรัสคอมพิวเตอรเหลานี้จะทํางานทันทีเมื่อผูใชเปดหรือเรียกใชงานไฟลนามสกุล .vbs, .js ที่เป็นไวรัส ซึ่งอาจจะติดมาจากการเรียกดูไฟล์พวก HTML ในหนาเว็บเพจบนเครือขายอินเตอรเน็ต

5.      ไวรัสเลียนแบบ (Companion Virus)

ไวรัสชนิดนี้มีหลักการทำงานที่แปลกจากหลักการทำงานของไวรัสทั่ว ๆ ไป นั่นคือไวรัสทั่วไปจะอาศัยการแฝงไปตามไฟล์ต่าง ๆ แต่ไวรัสเลียนแบบจะทำการสร้างไฟล์ขึ้นมาใหม่แล้วเลียนแบบไฟล์โปรแกรมที่มีอยู่ในระบบดอส จากนั้นจึงหลอกให้ดอสเรียกไฟล์ที่เลียนแบบขึ้นมาทำงาน  ซึ่งจะทำให้เครื่องติดไวรัสทันที

6.      ไวรัสหลบหลีก (Stealth Virus)

เป็นไวรัสที่มีความฉลาดในการหลบหลีกการตรวจจับ หรือการกำจัดจากโปรแกรมป้องกันไวรัส  เนื่องจากไวรัสชนิดนี้จะทำการขัดขวางการทำงานของโปรแกรมบางประเภทที่มีการป้องกันไวรัสด้วยวิธีการก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูลเดิมไว้ก่อน ถ้าไฟล์ข้อมูลนั้นเกิดมีปัญหาในการติดไวรัสโปรแกรมนั้นก็จะเลือกไฟล์ข้อมูลเดิมที่ได้ก๊อปปี้ไว้มาทำงานแทนไฟล์ที่ติดไวรัส และ Stealth นั้นสามารถทำการเปลี่ยนชื่อไฟล์หรือไดเร็กทอรี่ให้กับไฟล์ที่ติดไวรัสได้ ซึ่งจะทำให้โปรแกรมป้องกันไวรัสคิดว่าไฟล์นั้นไม่ได้ติดไวรัสนั่นเอง

7.      ไวรัสหลอกลวง (Polymorphic Viruses)

เป็นไวรัสที่เมื่อทำการแพร่กระจายเชื้อไปตามไฟล์ต่างๆ แล้วจะทำการแสดงผล เหมือนกับมีไวรัสอยู่หลายตัวในเครื่อง ซึ่งจะทำให้มีความยากในการตรวจสอบ

8.      ไวรัสสองหน้า (Multipartite Virus)

ไวรัสชนิดนี้มีความสามารถพิเศษกว่าไวรัสชนิดอื่น ตรงที่สามารถทำการแพร่ได้ทั้งโปรแกรม และ Boot Sector ได้พร้อม ๆ กันการทำงานของไวรัสขั้นตอนแรกจะทำการฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำของ Boot Sector ก่อนจากนั้นจึงทำการแพร่กระจายเชื้อไปตามไฟล์ต่างๆ

 

 

สาเหตุที่ทําใหเครื่องคอมพิวเตอรติดไวรัส

โดยปกติแลวไวรัสคอมพิวเตอรเขามาคุกคามในระบบคอมพิวเตอร์ไดเนื่องจากสาเหตุหลักๆ อยู่ 3 ประการ คือ

1.        มีการเรียกใชงานไฟลที่มีไวรัสคอมพิวเตอรฝงตัวอยู

ในสวนของสาเหตุจากการที่ผูใช้งานคอมพิวเตอรเรียกใชงานไฟลที่มีไวรัสคอมพิวเตอรฝังตัวอยู แลวทําให้ระบบถูกไวรัสคอมพิวเตอรเขามาคุกคามไดนั้น เปนสาเหตุซึ่งเปนที่รู้จักกันดี นอกจากการฝงตัวอยูกับไฟล์ของผูใชงานซึ่งเปนรูปแบบของไวรัสคอมพิวเตอรในยุคตนๆ แลวนั้น ในปจจุบันไวรัสคอมพิวเตอรมักจะใชหลักจิตวิทยาที่เรียกวา “Social Engineering” เพื่อทําการล่อลวงใหผู้ใชงานเรียกเปดไฟลที่เปนไวรัสได้ เชน แฝงมาในรูปแบบของโปรแกรมการดอวยพร หรือ โปรแกรม Screen Saver หรือ แฝงตัวอยูในไฟลที่ไดรับมาจากบุคคลที่ผูใชรู้จัก ซึ่งผูใชอาจจะไดรับมาทางอีเมล ที่มีการปลอมแปลงวามาจากบุคคลที่ผู้ใชรู้จัก หรือไวรัสอาจแฝงตัวอยูในรูปแบบของ จุดลิงค์ (Link) ในอีเมลหรือเว็บไซตต่างๆ ที่หลอกลวงใหผู้ใชคลิกเพื่อเรียกใชงาน เปนตน

 

 

2.    ไมมีการใชงานโปรแกรม Anti Virus หรือมีการใชงานโปรแกรม Anti Virus แตไมได้ทําการอัฟเดทฐานขอมูลไวรัส

สําหรับสาเหตุหลักอีกสาเหตุหนึ่งของการที่ระบบคอมพิวเตอร์ถูกไวรัสคอมพิวเตอรคุกคาม คือการที่ระบบไมมีการใชงานโปรแกรม Anti Virus หรือมีการใชงานโปรแกรม Anti Virus แตไมได้ทําการอัฟเดทฐานขอมูลไวรัสให้ทันสมัยอยูเสมอ ซอฟตแวร Anti Virus ส่วนใหญ่จะสามารถตอตาน การคุกคามจากไวรัสคอมพิวเตอรที่โปรแกรมรูจัก ซึ่งจะไดรับการจัดเก็บอยูในฐานขอมูลไวรัสคอมพิวเตอร์(Virus Definition Database) ซึ่งจําเปนตองมีการอัฟเดทฐานขอมูลดังกลาวนี้ใหทันสมัยอยู่เสมอๆ เพื่อใหโปรแกรมรูจักและสามารถตอต้านไวรัสคอมพิวเตอร ตัวใหมๆ ได บางคนอาจจะมีความเชื่อผิดๆ วาหากมีการติดตั้งซอฟตแวร Anti Virus บนระบบแลว ไวรัสคอมพิวเตอรจะไมสามารถเขามาคุกคาม ระบบได แต่ในความเปนจริงแลวถึงแมระบบจะมีการติดตั้งซอฟตแวร ดังกลาวอยู แตหากไมมีการอัฟเดทฐานขอมูลไวรัสใหทันสมัยอยูเสมอ หรือ ไมมีการใชงานซอฟตแวร Anti Virus เพื่อตรวจสอบโดยละเอียดวาระบบปราศจากไวรัสคอมพิวเตอรอยางสม่ำเสมอแลวนั้น ไวรัสคอมพิวเตอรก็ยังอาจสามารถเขามาคุกคามระบบได ยิ่งไปกวานั้นถึงแมซอฟตแวร Anti Virus จะไดรับการติดตั้งและใชงานอยางเหมาะสมทุกประการ แตระบบก็ยังอาจมีความเสี่ยงตอการถูกคุกคามอยูหากระบบหรือซอฟตแวรที่เราใชงานอยู่มีชองโหว

3.    ระบบปฏิบัตการหรือซอฟตแวรที่ทํางานอยูบนระบบมีชองโหว่(Vulnerabilities) พร้อมทั้งระบบมีการเชื่อมตอกับเครือข่าย

ระบบปฏิบัติการและซอฟตแวรที่ทำงานอยูบนระบบมักจะมีชองโหวอยูทั้งสิ้น ซึ่งมักจะมีผู้ค้นพบชองโหวใหมๆ ของระบบอยูเรื่อยๆ อยางตอเนื่องชองโหว(Vulnerabilities) มีความหมายคล้ายๆ กับจุดบกพรอง(Bugs) ของระบบ โดยรวมแล้วชองโหว หมายถึง การที่ระบบมีชองทางใหผู้โจมตีสามารถเขามาครอบครอง ควบคุมการทํางาน นําไวรัสคอมพิวเตอรมาเรียกใชงาน หรือ ทําการบางอยางบนระบบได้ ในกรณีที่ใชระบบปฏบัติการ Microsoft Windows สามารถตรวจสอบวามีชองโหวอะไรบ้างไดโดยการเรียกใชงานคำสั่ง Windows Update หรือทำการ Browse ไปที่จุดลิงค์ http://windowsupdate.microsoft.com/ อาจจะพบวาระบบมีชองโหวรายแรงมากมาย ซึ่งชองโหว่เหล่านี้เปนชองทางใหไวรัสคอมพิวเตอรหรือผู้ไมประสงคดีสามารถเขามาในระบบผ่านเครือข่ายได้ การที่ระบบมีชองโหวเปนสาเหตุที่ทําใหเกิดเหตุการณที่เรียกไดวาอยูดีๆ ก็ติดไวรัสนั่นเอง นอกจากนี้การใชงานระบบปฏิบัติการหรือซอฟตแวรในบางลักษณะก็ทําใหเกิดชองโหวได้ เชน การใหโปรแกรมเปดอานอีเมลและไฟลแนบโดยอัตโนมัติ การอนุญาตใหบุคคลอื่นนําไฟลมาติดตั้งบนระบบได(Full Right File Sharing) เปนตน

 

 

 

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์

 

โดยไวรัสคอมพิวเตอร์ถูกสร้างจากโปรแกรมเมอร์ที่มีความชำนาญในการเขียนโปรแกรม โดยปกติไวรัสจะทำงานด้วยตัวมันเอง โดยที่ไม่ต้องรับคำสั่งจากผู้ใช้เมื่อเปิดเครื่องที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์มันจะเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติ สำหรับการทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะอาศัยการลักลอบเข้าไปในคอมพิวเตอร์ ต่อจากนั้นก็จะเริ่มแพร่กระจายโดยการสำเนาตัวเอง แล้วฝังตัวติดไปกับไฟล์ต่างๆ เช่น ไฟล์เอกสาร ไฟล์โปรแกรม และไฟล์ระบบต่างๆ ที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เมื่อใดที่มีการสําเนาไฟลดวยแผ่นดิสก์เก็ตระหวางเครื่อง การสําเนาขอมูลผานระบบเครือข่าย หรือระบบสื่อสารอื่นใด ก็จะทำให้เกิดการแพรกระจายไปยังไฟลในระบบคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้     

 

 

 

 

การทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะ คือ พยายามฝังตัวเองเข้ากับไฟล์โปรแกรม เมื่อใดที่โปรแกรมเริ่มทำงานไวรัสคอมพิวเตอร์ก็จะเริ่มทำงานด้วย สมัยก่อนวิธีแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์จะอาศัยแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์  เมื่อนำแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์ไปใช้งานก็จะเริ่มแพร่กระจายลงสู่หน่วยความจำและฝังตัวอยู่กับไฟล์ต่างๆ ในเครื่อง

 

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ซึ่งอันตรายที่ตามมาหลังจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต ก็คือการแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ได้อาศัยช่องทางจากอินเทอร์เน็ต  โดยไวรัสจะอาศัยการแนบไฟล์มากับอีเมล์ หรือว่าโปรแกรมต่างๆ ที่เราดาวน์โหลดมา เพราะฉะนั้นเมื่อเราต้องอ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีไฟล์แนบมาด้วย ก็ควรจะแน่ใจว่าไม่มีไวรัส หรือไฟล์ที่เราต้องการดาวน์โหลดก็ควรตรวจสอบไวรัสเสียก่อน

โดยปกติเวลาที่เราเช็คอีเมล์ถ้าไม่มีไฟล์ที่แนบมาด้วยไวรัสจะไม่สามารถฝังตัวอยู่ได้ แต่ถ้าเป็นอีเมล์ที่เรารับมามีการแนบไฟล์มาด้วยไวรัสจะอาศัยอยู่ในไฟล์ที่แนบมา เมื่อทำการอ่านไฟล์ที่แนบมาไวรัสก็จะเริ่มปฏิบัติภารกิจทันที

การที่เราบอกว่าคอมพิวเตอรเครื่องใดติดไวรัสนั้น หมายความวา ไวรัสได้เขาไปฝงตัวอยูในหนวยความจําของคอมพิวเตอรเครื่องนั้นเรียบรอยแลว เนื่องจากไวรัสเปนโปรแกรมชนิดหนึ่งการที่จะเขาไปอยู่ในหนวยความจําได้นั้นจะตองมีการถูกเรียกใชงานหรือถูกกระตุนใหทํางาน ซึ่งจะขึ้นอยูกับประเภทของไวรัสชนิดนั้นๆ ซึ่งปกติผูใชเครื่องมักจะไมรู้ตัววาไดทําการปลุกให้ไวรัสคอมพิวเตอร์ขึ้นมาทํางานแลว หลังจากนั้นเมื่อไวรัสคอมพิวเตอร์ได้โหลดตัวเองลงสู่หน่วยความจำแล้ว มันก็จะเริ่มปฏิบัติภารกิจของมัน ก็คือ ทำลายไฟล์โปรแกรมต่างๆ เช่น ไฟล์เอกสาร ไฟล์โปรแกรม และไฟล์ระบบ เป็นต้น.

โดยการทํางานของไวรัสแตละตัวจะขึ้นอยูกับวัตถุประสงคของผูเขียนโปรแกรมนั้นขึ้นมา อาทิ ทําลายระบบปฏิบัตการ โปรแกรมการใชงานหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยูในเครื่องคอมพิวเตอร หรือรบกวนการทํางาน เชน การบู๊ตระบบที่ชาลง เรียกใชโปรแกรมไดไมสมบรณ หรือเกิดอาการคาง หรือแฮงกโดยไมทราบสาเหตุ เกิดขอความวิ่งไปมาที่บนหนาจอ หรือมีกรอบขอความขึ้นมาเตือน หรือหลอกโดยไมทราบสาเหตุ เปนตน.

 

 

 

 

ไวรัสคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 175677เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2008 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับอาจารย์

แวะมาทักท้าย น่าสนใจครับ

ดี มากกๆๆเลยครับ แต่ อยาก หั้ย หาวิธีหรือเอาไฟล์ที่แก้ไวรัสต่างๆๆได้ เอามาลงไว้ให้ดูหรือให้โหลด ครับ

อยากให้ อาจารย์ ทำอย่างนี้อะครับ คงจะดีมาก ใน สังคมอินเตอร์เน็ต คร๊าบๆๆๆๆๆ

เออแล้วก็ ผมสงสัย มากเลย ครับ ไวรัส MBR Sector Defo นะ ครับ Nod32 สแกนเจอแต่ ลบไม่ออก เวลา บู๊ตเข้าเครื่อง ถ้า เราเสียบพวก Flash Drive ทิ้งไว้ด้วย มัน จะ บลูสกีน นะครับ แก้ยังไม่หายเลย นอกจากผม เอาแผ่น ไฮเลนบู๊ตมาเขียน MBR หั้ยมันใหม่นะครับถึงจาหาย แต่ผมลำคาญมันเวลานับถอยหลังอะครับ

ช่วยผมหน่อยนะครับอาจารย์ โปรดติดต่อทาง เมล ด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท