การทำงานร่วมกันระหว่างอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นที่ 6 และรุ่นที่ 4


การทำงานร่วมกันของ IPv6 และ IPv4

 ความต้องการสำคัญประการหนึ่งในการปรับเปลี่ยน (Transition) จากอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นที่ 4 ไปสู่รุ่นที่ 6 คือการทำงานร่วม
กันได้ระหว่างโพรโตคอลทั้งสองชุด ความต้องการที่สองคือเพื่อให้ IPv6 โฮสต์และเราเตอร์ถูกนำมาใช้งานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
อย่างรวดเร็วและแพร่หลาย ความต้องการลำดับที่สามคือการเปลี่ยนแปลงระหว่างทั้งสองโพรโตคอลสามารถเป็นไปได้โดยง่ายที่สุดสำ -
หรับทั้งผู้ใช้ (End-User) ผู้ดูแลระบบ (System Administrators) และผู้รับผิดชอบระบบเครือข่าย (Network operators) ในการที่
จะทำความเข้าใจและนำมาใช้งานได้สำเร็จในที่สุด
   ปัจจุบัน กลไกการปรับเปลี่ยน (Transition mechanism) เข้าสู่ IPv6 ถูกอิมพลีเมนต์ทั้งในโฮสต์และเราเตอร์พร้อมทั้งคำแนะนำ
ในการกำหนดค่าแอดเดรสและการติดตั้งทำให้การปรับเปลี่ยนไปยัง IPv6 เกิดความยุ่งยากน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
   กลไกการเปลี่ยนแปลง IPng ให้พวกลักษณะสำคัญ ประกอบด้วย

  • การปรับปรุงและการใช้งานแบบค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือเป็นการอัพเกรด IPv4 โฮสต์และเราเตอร์ซึ่งอาจเริ่มต้นกับเพียงส่วน
    หนึ่งของระบบ จากนั้นจึงขยายผล รวมถึงการติดตั้งระบบใหม่ที่สนับสนุน IPv6 ที่อาจจำเป็นต่อมาในภายหลัง
  • การอัพเกรดระบบเป็นไปโดยปราศจากการพึ่งพากับส่วนอื่น (Minimal upgrade depencies) ความต้องการเบื้องต้นสำหรับการอัพ
    เกรดโฮสต์คือต้องอัพเกรด DNS เซิร์ฟเวอร์ก่อน ส่วนการอัพเกรดอุปกรณ์เราเตอร์ไม่มีความต้องการเบื้องต้นแต่อย่างใด
  • การกำหนดแอดเดรสเป็นไปอย่างง่ายดาย ระบบเดิมภายหลังจากการอัพเกรดอาจใช้แอดเดรส IPv4 เดิมที่เคยติดตั้งไว้เพื่อทำ
    งานได้ตามปกติ
  • ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นต่ำในการที่จะปรับเปลี่ยนระบบ IPv4 ที่มีอยู่ไปสู่ IPv6 ในส่วนของกลไกที่นำมาใช้ในการปรับเปลี่ยน
    ได้แก่
          1. โครงสร้างแอดเดรสของ IPv6 ที่ฝัง IPv4 แอดเดรสเข้าไว้ใน IPv6 แอดเดรสรวมถึงการเข้ารหัสข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการ
    ทำงานของกลไกดังกล่าว
          2. เทคนิคของการ Encapsulate IPv6 แพ็กเก็ต ภายใน IPv4 เฮดเดอร์เพื่อส่งผ่านเซ็กเมนต์ (Segment) ระหว่างต้นทางและ
    ปลายทางซึ่งยังไม่ได้อัพเกรดเป็น IPv6
          3. รูปแบบของการปรับเปลี่ยนใช้หลักการ Dual นั่นคือการอิมพลีเมนต์ทั้ง IPv4 และ IPv6 โพรโตคอลสแต็ก (Protocol stack)
    อย่างสมบูรณ์
          4. เทคนิคการแปลงเฮดเดอร์ (Header translation) เพื่อยอมให้การติดต่อระหว่างระบบที่มีสามารถใช้งานได้เพียง IPv4 และระ
    บบที่สามารถใช้งานได้เพียง IPv6 เป็นไปได้ เทคนิคดังกล่าวอาจไม่จำเป็นหรืออาจถูกนำมาใช้ในช่วงสุดท้ายของระยะการปรับ
    เปลี่ยน

  •    กลไกการปรับเปลี่ยนทั้งหลายจะทำให้มั่นใจได้ว่า IPv6 โฮสต์ สามารถทำงานร่วมกับ IPv4 โฮสต์ ได้ทุกที่บนอินเทอร์เน็ตอย่างต่อ
    เนื่องแม้ว่า IPv4 แอดเดรสจะหมดไป เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการเสียเปล่าต่อการลงทุนที่เคยเกิดขึ้นกับระบบ IPv4
       การปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปยังช่วยให้ผู้จำหน่ายโฮสต์และเราเตอร์สามารถรวมเอาผลิตภัณฑ์ IPv6 ลงไปในชุดผลิตภัณฑ์ที่มี
    จำหน่ายของตนได้อย่างราบรื่น รวมถึงผู้ใช้งานและผู้ปฏิบัติการเครือข่ายให้สามารถทำการติดตั้งใช้งานตามกำหนดการได้อย่างราบรื่นด้วยเช่นกัน

    จากภาพจะแสดงถึงการปรับเลี่ยนระบบ IPv4 ไปสู่ IPv6

     

    แปลและเรียบเรียงโดย : ฉัตรชัย จันทร์อินทร์ 
    เทพฤทธิ์ บัณฑิตวัฒนาวงศ์

    หมายเลขบันทึก: 175508เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2008 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท