บนถนนการนิเทศ ตอนนิเทศฝังตัว


ใกล้ชิด เป็นที่ปรึกษา ร่วมแก้ไข ร่วมพัฒนา ร่วมชื่นชม

ตอนนิเทศฝังตัว

          มีหลายคนที่พูดถึงการนิเทศแบบฝังตัว ไม่แน่ใจว่าทำแบบใหน?ใครทำสำเร็จ? น่าจะได้แลกเปลี่ยนกัน แต่ก็เป็นความพยายามที่จะทำให้การนิเทศเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย  สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับการนิเทศ เป็นการนิเทศเชิงรุกมากขึ้น คงจะมีรูปแบบการฝังตัวหลายรูปแบบ การนิเทศโรงเรียนในฝัน รุ่นที่1 ก็มีการนิเทศแบบฝังตัวโดย Roving team  และการนิเทศแบบฝังตัวโดยคณะทำงานโรงเรียนในฝันจากส่วนกลาง(เห็นชัดมากในคราวที่ถนนทุกสายมุ่งสู่ โรงเรียนกันทรารมณ์  )

       บันทึกหน้านี้ขอย้อนหลังที่โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม สพท.ร้อยเอ็ดเขต 2 เมื่อปี 2546  เป็นโรงเรียนที่ดิฉันไม่รู้จัก  เหตุผลที่คณะทำงานตัดสินใจเลือกโรงเรียนนี้ให้อยู่ในกลุ่ม Fast track เพราะประวัติดีของผู้บริหาร และการรับรองของ RTติ้ง  ช่วงนั้นยอมรับว่าเป็นห่วงและหนักใจมาก ทุกคนในส่วนกลางมีภาระที่จะต้องดูแลโรงเรียนที่ได้รับมอบหมาย พวกเราต้องดูแลชนิดเกาะติดจนกว่าโรงเรียนจะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันซึ่งดิฉันได้รับมอบหมายให้ดูแลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคมเป็นโรงเรียนลำดับที่ 6 ที่จะถูกประเมิน  ก่อนหน้านั้น (หลังเหตุการณ์สึนามิ ประมาณ 2 เดือน ) มีการประเมินโรงเรียนเหนือคลองประชาบำรุง จังหวัดกระบี่ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต     ทั้ง 2 โรงเรียนสร้างความประทับใจแก่ ท่านประธาน และคณะผู้ประเมินมาก ดิฉันยังจำหุ่นยนต์ตัวน้อยที่มอบมาลัยแก่ท่านประธาน จากโรงเรียนเหนือคลองประชาบำรุง และในห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราภูเก็ต  นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาที่ว่าด้วยการเดินทางช่วยชีวิตคนในเหตุการณ์สึนามิ ด้วยโปรแกม GSP (ช่วงนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย) อย่างสนุกสนาน  ทำให้ดิฉันยิ่งเป็นห่วงโรงเรียนปทุมรัตต์ฯมากขึ้น

     ในความเป็นจริงการพัฒนาโรงเรียนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นมาก ผอ.บัณฑิต มีแผนพัฒนาที่ชัดเจน  ท่านได้ประสานขอรับการนิเทศจาก ศึกษานิเทศก์เขตฯ และ RT ระหว่างที่ดิฉันยังไปไม่ถึงโรงเรียน RT พนิจ RT หมู และ RTติ้ง ได้เข้าปฏิบัติการนิเทศโรงเรียนอย่างต่อเนื่องโดนเฉพาะ RTพนิจ และ RTหมู ได้ย้ายตัวเองมาพักค้างในโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว  ขณะที่ดิฉันอยู่ภาคใต้ได้โทรศัพท์ติดต่อหา RTพนิจ ตลอดเวลา และนัดแนะว่าจะเดินทางมาโรงเรียนทันทีที่เสร็จภาระกิจ

       มาค้างที่ร้อยเอ็ด และอยู่ที่โรงเรียนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ดิฉันเห็นมิตรภาพการนิเทศ เห็นการยอมรับ การให้เกียรติ การดูแลเสมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  เวลากลางวัน RT เป็นทั้งที่ปรึกษาและผู้ช่วยครู  ผู้ช่วยผู้บริหาร ช่วงวางแผนก็รู้สึกธรรมดาแต่ การที่ช่วยครูสอน สอนให้ครูดูนี่สิยอมรับว่าสุดยอดจริงๆ เวลาเย็นเลิกเรียนก็ปฏิบัติงานร่วมกันต่อ  RT ทำหน้าที่นิเทศมากกว่าเวลากลางวัน ทั้งปะชุม ทั้งบอกจุดบกพร่อง ทั้งสาธิต ช่วยหาวิธีแก้ไข แล้วเราทุกก็ทานข้าวเย็นหม้อเดียวกันพร้อมกัน จากนั้นใครมีหน้าที่อะไรก็ไปทำ  และเป็นเวลาที่ ผอ.พร้อมด้วยคณะผู้นิเทศตรวจงาน นิเทศงาน วางแผนต่อ วันหนึ่งมีชาวบ้านมาคุยด้วย ชาวบ้านขอให้โรงเรียนช่วยจัดกิจกรรมให้  (จำไม่ได้ว่างานอะไร) RT เสนอตัวเองช่วยคิด ช่วยทำเพราะต้องการแบ่งเบาภาระครู

       เมื่อเวลาผ่านไปโรงเรียนมีความมั่นใจ คณะRTก็ลากลับ เพื่อไปปฏิบัติเช่นนี้อีกที่โรงเรียน            เลิงนกทา จังหวัดยโสธร และอีกหลายโรงเรียน (ตามที่โรงเรียนร้องขอ) นี่คงเป็นหนึ่งในการนิเทศแบบฝังตัว

     ท้ายบันทึกหน้านี้ขอเรียนว่า ณ  วันนี้โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม  ต่างจากวันแรกที่เจอ และต่างจากวันที่ให้การรับรองเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันมาก ดีใจที่บนถนนการนิเทศ          มีโรงเรียนดีๆที่ก้าวสู่อินเตอร์ให้เด็กๆทุ่งกุลาได้เรียน

 

     

หมายเลขบันทึก: 175506เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2008 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นการเขียนเล่าประสบการณ์ในพื้นที่ที่ทำให้ผู้อ่านมองเห็นโอกาสในการประยุกต์และนำไปใช้ในแง่มุมอื่นได้ และ มองมุมที่ดีของโรงเรียนได้อย่างสวยงาม

 ขอชื่นชมครับ

 

หมอสุข

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ชัดเจน

      ขออนุญาต ลปรร ด้วยครับ  เรื่องการนิเทศแบบฝังตัว  อาจจะไม่ตรงนัก  แต่เป็นอีกประสบการณ์หนึ่ง

      ผมในฐานะเป็นผู้บริหารโรงเรียน เคยได้รับความกรุณาจากท่านศึกษานิเทศก์ เข้ามาช่วยนิเทศก์การทำงานของโรงเรียนในเรื่องหนึ่ง 

       ท่านเข้ามาเป็นทีม  และเข้ามาช่วยอยู่ 2 วันเต็มๆ  ดีมากครับ และการพัฒนางานก็ประสบผลสำเร็จ

                                          ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ...พึ่งเจอ Blogของ ดร. วันนี้ แต่...หนูอ่านครบทุกเรื่องแล้วค่ะ

ดร.คะ โครงการนิเทศฝังตัวแบบนี้จะมีอีกไหมคะ ในรุ่น 2นี้ค่ะ ที่โรงเรียนบังเอิญอยู่ในกลุ่ม fast track ค้วยค่ะ แต่หนูยังมีความรู้สึกว่ายังไม่พร้อมเลยค่ะ ถ้าท่านจะกรุณายกตัวอย่างการจัดแสดงกิจกรรมการเรียนการสอนของกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศจะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ.....แล้วจะรออ่านบันทึกต่อไปนะคะ

ขอบคุณทุกท่านคะ

แลกเปลี่ยนกันนะคะ คงมีปแบบที่หลากหลาย ไม่แน่ใจรุ่น2จะมีรูปแบบอื่นหรือไม่

                  ติดตามแบบพาทำนะคะ

สวัสดีพี่ชัดเจนที่เคารพ

 ประสบการณ์ที่ได้รับ คือ ความหวังของเด็กไทยที่ผู้ใหญ่พยายามยัดเยียดให้ ในขณะที่ผู้ใหญ่หลายๆท่านก็ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ในการนำสู่การปฏิบัติที่แท้จริง  ณ บัดนี้ เราพบแล้ว และเราจะทำต่อไป เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่ใช่เป็นเพียงความฝัน แต่เราจะทำฝันให้เป็นจริง

                                  อดุลย์  สุชิรัมย์

พี่ชัดเจนที่รัก

สบายดีหรือเปล่า คิดถึงจัง

สวัสดีคะ ท่านอาจารย์ ดร. ชัดเจน วันนี้บังเอิญเข้ามาอ่านบันทึกของอาจารย์ตอนมาอยู่กับพวกเราที่ปทุมรัตต์พิทยาคม หนูได้รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมห้องสมุดและต่อมาอาจารย์ ดร. ก็อนุเคราะห์ให้ทำนิตยสารในนาม PAYOM FLOWER

อาจารย์ ดร. เล่าเหตุการณ์ทำให้หนูนึกถึง ณ ช่วงเวลา พวกเราเหนื่อยมาก

แต่ก็มีความสุขมากเหมือนกัน

ปิยะฉัตร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท