กลุ่มดาวเรียงเด่น กระบวยใหญ่ (ภาค หนึ่ง)


เขียนเป็นภาษาไทย แล้วชื่อฟังแล้วมันแปลกๆยังไงไม่รู้ แต่ Asterism ก็เรียกเป็น ภาษาไทยว่า กลุ่มดาวเรียงเด่น และ Big Dipper ก็เรียกเป็นภาษาไทยว่า กระบวยใหญ่

ไอ้คำว่า "Asterism" คือ นักดาราศาสตร์ เขาเอาไว้เรียก ส่วนหนึ่ง ของ กลุ่มดาว (หรือ Constellation) ที่ตาม สหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (International Astronomical Union) กำหนดเอาไว้

สหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ กำหนดไว้ทั้งหมด 88 กลุ่ม

ครอบคลุม ท้องฟ้า ทั่วโลก เป็นเหมือน อาณาเขต ของท้องฟ้า ว่าตำแหน่งไหน อยู่ในเขต ของกลุ่มดาวอะไร

ผมเอง ตอนเด็กๆ ก็งงว่า ทำไม ดาวมันจะต้องอยู่กันเป็นกลุ่ม มันรู้จักมักจี่ เป็นญาติ เป็นเพื่อน เป็นแฟน หรือ เกี่ยวข้อง ดองกัน ด้วยเหตุใด

ซึ่งก็เพิ่งมารู้ ว่า จริงๆแล้ว มันก็อยู่ของมัน คนเรามองจากโลกเห็นมันอยู่ใกล้กัน ก็จัดมันเป็นกลุ่มเดียวกันเองต่างหาก

ซึ่งเวลา ผ่านไปอีก พันปี ... หมื่นปี ... หน้าตาของกลุ่มดาว ก็อาจจะเปลี่ยน ... อาจจะดูว่ามันใกล้กันขึ้น มันไกลกันขึ้น มีสมาชิกใหม่เกิดขึ้น สมาชิกเก่าหายไป หรือ เปลี่ยนสี - เปลี่ยนความสว่าง

... แต่ หน่วยเวลามัน นาน ... เพราะฉะนั้น ชั่วชีวิตคน คนหนึ่ง ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องนั้น (อยู่ได้ 100 ปีก็เก่งแล้ว) เอาว่า เกิดวันแรกมองดาว กับ แว๊บสุดท้าย ของชีวิต ก็จะเห็น กลุ่มดาวต่างๆ (แทบเรียกได้ว่า) เหมือนเดิม

 

กลับมาเรื่อง กระบวยใหญ่... กระบวยใหญ่ เป็นส่วน หนึ่งของกลุ่มดาว หมีใหญ่ (ที่เขียนเป็นภาษาตินว่า Ursa Major)

กระบวยใหญ่ นี้ สังเกตุได้ ไม่ยากนัก

... แต่ก็ไม่ ง่ายเท่าไร ถ้าอยู่ในเมือง หรือ ใกล้ตัวเมือง หรือ ดันมี สนามกอล์ฟกลางคืน อยู่ใกล้ๆ (... ตอนกลางวัน ยังตีกันมันส์ไม่พอรึไง มันถึงต้องมาตีกันตอนกลางคืนอีก)

สำหรับ คนทั่วไปแบบผม จะเร่ิมจากหา กระบวยใหญ่ เลย มันยาก ต้องเริ่มเป็นขั้นๆ ขั้นแรก เริ่มจาก ง่ายสุดก่อน (กระบวยใหญ่ ง่ายเป็นอันดับ สองครับ)

 

บทที่ หนึ่ง: ดูดาว หนึ่ง ศูนย์ หนึ่ง...

ใน คืนฟ้าเปิด ณ ที่ที่ไม่ได้มี มลภาวะทางแสง จนเกินไปนั้น ช่วงนี้ นอกจาก ดวงจันทร์ แล้ว กลุ่มดาวเรียง ที่ สังเกตุเห็นได้ ง่ายที่สุด คือ ดาว ที่เรียงกัน จนเหมือนเส้นตรง 3 ดวง นั่นคือ ดาวไถ หรือ เข็มขัด ของ โอไรออน (Orion's belt)

ดาวไถ ถูกจัดอยู่ใน กลุ่มดาว นายพราน (ที่ชื่อ ว่า Orion) หรือ ดาราศาสตร์ไทยโบราณ เรียกขานว่า "ดาวเต่า" ... ผม ยัง ถ่ายรูปดาวไม่เป็น ลองดูรูป กลุ่มดาวโอไรออน จาก  http://www.isiam.info/cosmos/orion.html ไปพลางๆก่อนครับ

เวปของ สตาร์เดท (StarDate) มีรูปวาด ของกลุ่มดาวโอไรออน นี้ กับ ภาพร่าง นายพราน ให้ดูด้วย

 ดาวไถ จะเรียงอยู่ราวๆ ตรงกลางตัว ของกลุ่มดาวโอไรออน ซึ่งทำให้ ชาวกรีกจินตนาการมันเป็นเข็มขัดของโอไรออน

 ตามรูป ของ เวปสตาร์เดท จะเห็นว่า ดาว 4 ดวงของกลุ่มเต่า ชาวกรีกมองเป็น หัวไหล่ และ เข่าของโอไรออน

สำหรับดาวสองดวงล่าง ที่เวปสตาร์เดท วาดให้เป็นเข่า บางครั้งจะถูกมองเป็นเท่้าของโอไรออนนะครับ แล้วแต่จินตนาการของใคร

ในกลุ่มดาวนี้ มีดาวที่น่าสนใจอยู่ 2 ดวง คือ ไหล่ขวาของโอไรออน (ดาว Betelgeuse) กับเข่าซ้าย (ดาว Rigel)

Betelgeuse: ดาวที่ไหล่ขวา ชื่อ บีเทิลจูซ (อ่าน เหมือนชื่อ ผี ในหนังเก่า เรื่อง บีเทิลจูซ ผีขี้เล่นครับ)

เป็นดาว ที่สว่างเป็นที่สอง ในกลุ่มดาวโอไรออนนี้ จะเห็น เป็นสีแดง ดาวดวงนี้ห่างจากโลกราวๆ 427 ปีแสง (ทำไม ถึงรู้ว่า ปีแสง ผมก็ยังไม่รู้เหมือนกันครับ เดี๋ยววันหลัง อาจจะได้เขียนเรื่อง การประมาณระยะห่างของดาว)

หนึ่งปีแสง คือ ระยะที่แสงใช้เวลาเดินทางหนึ่งปี หรือ ราวๆ เก้าล้านล้าน กิโลเมตรครึ่ง  (9.461 x 1012 km.)

เพราะงั้น บีเทิลจูซ ก็ห่างจากเรา ราว เกือบๆ ห้าพันล้านล้าน กิโลเมตร

 บีเทิลจูซ เป็น ดาวโครตยักษ์สีแดง เป็น หนึ่งในดวงที่ใหญ่ที่สุดเลย ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ของเราอีกครับ

เปรียบเทียบความใหญ่กันว่า ถ้าหยิบเอา บีเทิลจูซ ไปวางแทนดวงอาทิตย์แล้วละก็ พื้นผิวของบีเทิลจูซจะ เลยดาวอังคารไปอีก นะครับ

 Rigel: จากไหล่ขวา ดาวยักษ์สีแดง บีเทิลจูซ ดาวอีกดวงที่น่าติดตาม ในกลุ่มดาวนี้ คือ ไรเกล

 ไรเกล เป็น ดาวยักษ์ สีฟ้า ว่ากันว่า ไรเกล สว่างเป็น 40,000 เท่าของ ดวงทิตย์ของเราครับ

แต่โชคดี ที่ไรเกล ห่างจากเราราว 700 ถึง 900 ปีแสง ไม่งั้นร้อนแย่เลย

(ดวงอาทิตย์ ห่างจากโลกเรา ราวๆ  หนึ่งร้อยห้าสิบ ล้านกิโลเมตร หรือ 1.496 x 108 km ... แสงเดินทางราวๆ แปดนาทีครึ่ง)

....

รูปข้างล่างนี้ ผมไปตัดมาจากเวปของวิกิพิเดียครับ ลองหาดูซิครับว่า โอไรออน อยู่ไหน

Night sky

... ดูเฉลย ที่ภาคสองครับ

 

หมายเลขบันทึก: 175379เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2008 03:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท