การได้รับบาดเจ็บในเด็ก และความเสี่ยงตามวัย


ประเทศไทย เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำมากที่สุด และเด็กแต่ละวัยก็ดูแลเรื่องความปลอดภัยต่างกัน

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องของสิทธิเด็ก และความปลอดภัยในเด็ก

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีเด็กเสียชีวิต ด้วยการจมน้ำเป็นอันดับหนึ่ง เกิดอะไรขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะคนขาดความรู้ หรือคนขาดความระมัดระวัง

เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย  และเด็กยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ ดังนั้นผู้ใหญ่จะต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กเกิดความปลอดภัย แต่เกิดะไรขึ้น

นอกจากจมน้ำแล้ว อันดับต่อมา คือ การจราจร ขนส่ง และสุดท้ายคือ การได้รับบาดเจ็บอื่น ๆ เช่น ทารุณกรรม

จะเห็นได้ว่าการเสียชีวิตของเด็กส่วนมาก ไม่ได้เกิดจากเจ็บป่วยหรือเป็นโรคต่าง ๆ ดังนั้นผู้ใหญ่จึงต้องตระหนักและรู้ถึงพัฒนาการของเด็ก ว่าจะต้องได้รับการดูแลอย่างไร

เด็กอายุ 0-2 ปี จะต้องเฝ้าดูในระยะที่มองเห็นตลอดเวลา และอยู่ในระยะที่ผู้ใหญ่เอื้อมถึง เนื่องจากเด็กวัยนี้ถ้าเริ่มคลานได้ก็คลาน เดินได้ก็เดิน โดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอันตราย กำลังอยากเป็นนักสำรวจน้อย ๆ มีเหตุการณ์หนึ่ง พี่เลี้ยงนั่งอยู่กับเด็กริมระเบียงหน้าบ้าน แล้วเอาจานข้าวไปเก็บแป๊ปเดียว เด็กตกจากระเบียงหล่นน้ำเสียชีวิต ดูสิ นี่แค่เวลานิดเดียว ....แต่เหตุการณ์มันรวดเร็ซ และเมื่อเด็กจมน้ำ ...สมองขาดออกซิเจน ...ขึ้นมาจึงเสียชีวิต ...ยากที่จะช่วยเหลือ

เด็กอายุ 3-5 ปี จะต้องเฝ้าระวังโดยสามารถมองเห็นเด็กว่าอยู่ที่ไหน และสามารถเข้าหาเด็กได้ทันเมื่อเกิดอะไรขึ้น จะเห็นว่าเด็กโตขึ้นก็ยังต้องมองเห็น เพราะเด็กวัยนี้จะเข้าใจอะไรที่เป็นรูปธรรม จึงมักจับ สัมผัส ทดลอง และคิดว่าความคิดของตนเองถูกต้อง อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ เช่น เด็กเอานิ้วแหย่ปลักไฟ เป็นต้น

เด็กอายุ 6-8 ปี จัดสถานที่ให้ปลอดภัย และตรวจสอบเป็นระยะ ๆ เนื่องจากเด็กเริ่มโตขึ้น และเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น จึงสามารถที่จะปล่อยให้ทำกิจกรรมเอง และหมั่นมาดูว่าปลอดภัยดีหรือเปล่า ไม่ควรทิ้งไปเลย

เด็ก 9-11 ปี จะองรู้ว่าอยู่ที่ไหน เมื่อปลอดภัยแล้วจึงถามไถ่เป็นระยะ ๆ เนื่องจากเด็กโตขึ้นมาก และเข้าใจเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น เด็กจะรับรู้ได้ว่าสิ่งใดเป็นอันตราย ไม่ควรทำ ดังนั้นเมื่อผู้ใหญ่บอกเด็กจะเข้าใจ

จะเห็นว่าพัฒนาการต่างกัน การดูแลเรื่องความปลอดภัยก็ต่างกัน

แล้วทำไม เด็กไทย จึงจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด ไม่เพียงการจมน้ำจากทะเล แม่น้ำ หรือบ่อน้ำเท่านั้น แต่อันตรายในบ้านที่สำคัญคือ เด็กเล็ก ๆ วัยเตาะแตะมักจะชอบค้นหา บางครั้งเข้าไปในห้องน้ำ บางครั้งคลานไปตรงที่คุณแม่หรือพี่เลี้ยงกำลังถูพื้นอยู่ และเด็กก็เอาหัวคว่ำไปในถังน้ำ เมื่อขาดอากาศหายใจ เด็กก็มักจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ดังนั้น หากที่บ้านมีเด็กเล็ก ๆ ไม่ควรที่จะหงายถึงน้ำไว้ ควรคว่ำให้เรียบร้อย

รวมทั้งถ้าที่บ้านมีอ่างน้ำ หรือชักโครกก็ควรปิดประตูห้องน้ำทุกครั้งหลังใช้เสร็จ เพื่อป้องกันเด็กหล่นไปในชักโครก

ภัยอยู่ใกล้ตัวเด็ก ผู้ใหญ่จะต้องคัดสรรสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่เด็กเสมอนะค่ะ....

หมายเลขบันทึก: 175060เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2008 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หวัดดีค่ะพี่ติ๊ก นอนดึกเหมือนกันเลยนะคะ อย่าลืมแวะมาเยี่ยม blog หนูบ้างนะคะ

แวะมาอ่าน Blog ของน้องครับ

ดีใจที่ได้เห็น Blog จากน้องๆ OT เพื่อสื่อสารข้อมูลสู่สังคมไทยมากขึ้น

โชคดีครับ

พี่ป๊อป

ขอบคุณทุกคนนะค่ะที่แวะมาอ่าน

จะได้เป็นกำลังใจในการเขียนต่อไปค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท