การสร้างมุมมองให้กว้างขึ้น


ถอยออกเพื่อเปิดมุมมองให้กว้างขึ้น

จากหัวปลาเรื่องสร้างความตระหนักในการประหยัดไฟฟ้า ขอขยายความเรื่องการเปิดประเด็นที่แคบทำให้ได้รายละเอียดมากเกินไปจนลืมมองกว้าง เปรียบได้กับการยืนอยู่ตีนเขาจะมองเห็นแต่ต้นไม้ ก้อนหินและรายละเอียดต่าง ๆ ของภูเขา แต่ถ้าเราถอยหลังห่างออกไปจากตีนเขาในระยะที่พอเหมาะเราจะเห็นภูเขาทั้งลูกว่ามีรูปร่างอย่างไร ทำเลที่ตั้งเป็นอย่างไร ส่วนต้นไม้และก้อนหินอาจจะมองเห็นไม่ชัด เช่นนี้เป็นต้น

เปรียบได้กับผู้บริหารถ้าจะเปิดมุมมองที่กว้างไกลในการแก้ปัญหา บางครั้งจะต้องถอยห่างออกจากปัญหามาระยะหนึ่งแล้วจึงจะเห็นวิธีแก้ปัญหานั้นได้เพราะสามารถเห็นที่มาของปัญหาได้มากขึ้น(เห็นภูเขาทั้งลูก) อย่ามัวแต่ชวนกันยืนอยู่ตีนเขาเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เลย

คำสำคัญ (Tags): #km9กระโดด
หมายเลขบันทึก: 175032เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2008 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ก็อย่างที่ฝรั่งว่าไว้ I couldn't agree more เห็นด้วยกับพี่โจ้ที่ว่ามาทั้งหมด ปัญหาคือ มือใหม่อย่างหน่องก็ต้องหาอะไรเป็นหลักยึดไว้ก่อน (ยังไม่เก่งถึงขั้นที่ อ.วู้ดดี้บอกว่า "เก่งมาก ๆ เข้าก็ไร้กระบวนท่า") มองไปมองมาไอ้ที่พอจะยึดได้คือ หัวปลา (ที่คุณอำนวยตั้ง) ที่จะ guide เราว่า จะเอาให้ได้อะไรในวันนี้ แต่ถ้าเราเก่งขึ้น อาจจะค้นพบเองว่า หัวปลามีลักษณะไม่ static นะ แต่มัน dynamics เปลี่ยนแปลงได้ตามแต่บรรยากาศ และบริบทจะพาไป เราก็อาจยอมให้กระบวนการ dialogue พาไปจนเปลี่ยนหัวปลาเป็นอย่างที่กลุ่มหรือ fa ต้องการก็ได้ แบบนี้สิ เรียกว่า เก่งจนไร้กระบวนท่า :-)

ไม่รู้ว่าถูกมั้ย เพาะคิดเองเออเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท