มีอะไรใน Nation Forum 7th


ตามไปดู นวัตกรรม ตามรอยและวัดผลคุณภาพ

ขอ Promote เพื่อเรียกน้ำย่อยก่อนนะคะ สำหรับการประชุมระดับชาติ National Forum ครั้งที่ 7 ซึ่งจะมีในวันที่ 14 -17 มีนาคมนี้ วันนี้จะเผยกำหนดการในห้องใหญ่(grand balloom) ก่อนนะคะ ว่ามีเรื่องอะไรบ้างจะได้เตรียมตัวถูกค่ะ

7th HA National Forum
มีอะไรในแต่ละห้อง

 

ห้อง Grand Ballroom วันที่ 15 มีนาคม 2549
A10: ระบบบริบาลที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี

Grand Ballroom 15/04/49: 0900-1000

 

          อาจารย์ประเวศเป็นครูและเป็นหมอของสังคมไทย ท่านเป็นผู้ให้แนวคิดในการก่อตั้งภาคี HA และให้กำลังใจสนับสนุน HA มาตลอด  ท่านมาบรรยายให้เวที HA เป็นประจำทุกปี  ท่านเน้นในเรื่องความสุขในการทำงาน การพัฒนาตนเองและเชื่อมโยงกับคนอื่นที่ท่านเสนอแนวคิดเรื่อง INN (Individual-Node-Network) ท่านเสนอว่าศีลธรรมพื้นฐานของการดูแลผู้ป่วยคือเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และ ฯลฯ

           อาจารย์ได้เห็นความทุกข์ของทุกส่วนในระบบบริการสุขภาพ  ปรารถนาให้เราหลุดออกไปจากสาธารณทุกข์  ในครั้งนี้อาจารย์จะมาเล่าให้พวกเราฟังว่าอาจารย์คิดอย่างไร จึงเสนอให้เราต้องปรับเปลี่ยนจากระบบบริการที่ทันสมัย (modernized healthcare) ให้เป็นระบบบริบาลที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ (humanized healthcare) ควบคู่ไปด้วย  ทำให้เป็นโรงพยาบาลที่มีน้ำใจ ต้องเห็นทั้งไข้และคน  สร้างคนที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมสปิริตแห่งการเป็นอาสาสมัครเพื่อเพื่อนมนุษย์และมิตรภาพบำบัด ขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพด้วยธรรมนิยมแทนที่จะเป็นบริโภคนิยม ซึ่งจะทำให้ระบบบริการสุขภาพเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ช่วยเยียวยาโลก

 

A20: Measurement in Healthcare  

Jerod Loeb (Executive Vice President, Division of Research, JACHO)

Grand Ballroom 15/04/49: 1030-1200

 

          JCAHO กับ พรพ. มีหน้าที่คล้ายกัน มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน และเริ่มสร้างความร่วมมือระหว่างกัน  ในการประชุมครั้งนี้ Jerod ซึ่งมีประสบการณ์สูงมากในเรื่องของการวิจัย การประเมินผลและการวัดผลงาน จะเป็นตัวแทนของ JCAHO มาร่วมเป็นวิทยากรให้ พรพ.

          วันนี้เราคาดหวังกับการวัดผลงานมากเกินไปหรือเปล่า  เราคิดว่ามีคำตอบเบ็ดเสร็จที่คนอื่นรู้แต่เราไม่รู้หรือเปล่า มาฟังข้อเท็จจริงว่าในอเมริกาก็เผชิญกับปัญหาเรื่องการวัดผลงานเหมือนกัน

          Jerod จะมาเล่าให้เราฟังถึงความท้าทายเกี่ยวกับเรื่องการวัดผลงานบริการสุขภาพที่เราควรนำมาพิจารณาและหาทางออกที่เหมาะสม เช่น ปรัชญาและวิธีการในการวัดที่ยังหาจุดร่วมไม่ได้ จะวัดอะไร วัดในขั้นตอนไหน วัดเดี่ยวหรือวัดหมู่ ความคุ้มค่า การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดซึ่งชี้โพรงให้เห็นอยู่ตำตาแต่ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

 

A30 กรณีศึกษา รพ.พุทธฉือจี้ : ไต้หวัน รูปธรรมสาธารณสุขที่เน้นหัวใจของความเป็นมนุษย์

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ  ผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.)

Grand Ballroom 15/04/49: 1300-1430

 

          คุณหมออำพลเป็นผู้นำคนหนึ่งในการชูธงเรื่องสร้างนำซ่อมในกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งใช้กระบวนการจัดทำ พ.ร.บ.สุขภาพเป็นเครื่องมือสำคัญ  คุณหมออำพลได้ไปดูการทำงานของมูลนิธิฉือจี้ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเริ่มจากการออมเงินวันละ 50 เซ็นต์ของแม่บ้าน 30 คน เพื่อช่วยผู้อื่น เมื่อ 40 ปีก่อน จนถึงวันนี้ มีสมาชิก 5 ล้านคน อาสาสมัครปกติกว่า 2 แสนคน  มีกิจการด้านการกุศล การแพทย์ การศึกษา วัฒนธรรม/สิ่งแวดล้อม

          โรงพยาบาลฉือจี้ ได้แสดงรูปธรรมของการปฏิบัติตามปณิธาน “The Mission to be a Humane Doctor” ด้วยหลักพุทธมหายานซึ่งเป็นพุทธศาสนาแนวปฏิบัตินิยม (ทำความดีช่วยผู้อื่นตามหลักพรหมวิหาร 4) มีผลต่อพฤติกรรมคนไต้หวัน เป็นปุ๋ยบ่มเพาะให้เกิดจิตอาสาซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความดีเติบโตอย่างเป็นรูปธรรมและทรงพลัง  มีอาสาสมัครเข้าร่วมทำงานกับวิชาชีพอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน  โรงพยาบาลเป็นทั้งสถานประกอบอาชีพและที่ปฏิบัติธรรม  แพทย์พยาบาลและทีมงาน มีหน้าที่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ อันเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ ทุกคนพยายามลดตัวตนให้เล็กที่สุด เพื่อทำหน้าที่อันสำคัญนั้น (ทำตัวให้เล็ก บริการผู้อื่นให้มาก

          ที่เป็นดังนี้ได้เพราะมีผู้นำทางจิตวิญญาณที่มีวัตรปฏิบัติดีเยี่ยม เป็นศูนย์รวมศรัทธาและความมุ่งมั่นในการทำดี เคารพยกย่องในคุณค่าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เสมอกัน

 

A40: Creativity & Innovation

ดร.สมศรี ศิริไหวประพันธ์ (ม.บูรพา), ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์ (รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี), ดร.สุริยัน  นนทศักดิ์ (ม.บูรพา)

Grand Ballroom 15/04/49: 1430-1600

 

          มหาวิทยาลัยบูรพา จัดตั้งศูนย์การศึกษาวิจัยเรื่องการคิด (The Center for the Study of Thinking) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพาะบ่มความคิดสร้างสรรรค์ในสถานที่ทำงาน โดยเริ่มจากระบบการศึกษา  พรพ.ได้มีโอกาสพบกับอาจารย์สมศรีเมื่อครั้งไปประชุมที่บางแสน จึงได้ชักชวนให้อาจารย์มาช่วยเพาะบ่มความคิดสร้างสรรค์ให้กับระบบบริการสุขภาพบ้าง

          ทีมงานของอาจารย์ได้ไปสอบถามข้อมูลเบื้องต้น พบว่าบุคลากรในโรงพยาบาลได้รับการอบรมเรื่องนี้ แต่ยังไม่สามารถนำไปปรับใช้ได้  ทำอย่างไรจึงจะนำไปใชได้ ควรจะเข้าใจธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์อย่างไร จะสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาความคิดริเริ่มอย่างไร จะใช้เครื่องมือวัดความสามารถเพื่อนำไปสู่การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์อย่างไร จะแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่พบบ่อยในการประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างไร  เชิญมาหาคำตอบกันในช่วงนี้

 


 

ห้อง Grand Ballroom วันที่ 16 มีนาคม 2549
B10: Thai Patient Safety Goals 2006 & Sentinel Events Alert

เรวดี ศิรินคร, นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล (พรพ.)

Grand Ballroom 16/04/49: 0830-1000

 

          การที่ พรพ.ได้มีโอกาสไปทำงานร่วมกับโรงพยาบาลต่างๆ ทำให้เห็นปัญหาอุบัติการณ์ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้เรียนรู้ร่วมกับโรงพยาบาลถึงข้อจำกัดต่างๆ ความพยายามของโรงพยาบาลในการพัฒนา รวมถึงความสำเร็จในการแก้ปัญหาในที่ต่างๆ มีการรวบรวมข้อมูลทั้งจากหลักฐานเชิงประจักษ์และหลักฐานเชิงวิจัยถึงที่มาที่ไปของแนวโน้มการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เหล่านั้นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีหลังนี้และโดยส่วนใหญ่ป้องกัน/ลดความเสี่ยงได้ ถ้ามีเป้าหมายและกลอุบายที่เท่าทันกับปัญหา/ความเสี่ยงเหล่านั้น

          เนื่องจากความปลอดภัยเป็นความคาดหวังของผู้รับบริการ  การที่โรงพยาบาลต่างๆ ทั้งหมดจะร่วมมือกันเพื่อแบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ โดยมีเป้าหมายหรือจุดเน้นร่วมกัน  จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีพลัง  ทำให้ย่นเวลาของการเรียนรู้ด้วยการลองผิดลองถูก  เป็นการปกป้องผู้ที่ทำงานอยู่ในระบบให้สามารถทำงานได้ด้วยความมั่นใจ

          ผู้อำนวยการ พรพ. และผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านสำนักที่ปรึกษา จะมาร่วมกันนำเสนอว่าเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยสำหรับประเทศไทยน่าจะมีอะไรบ้าง และจะมีระบบในการแบ่งปันข้อมูลกันอย่างไร  เพื่อให้เกิดฐานข้อมูลที่นำสู่การพัฒนาอย่างมีทิศทางและเกื้อกูลกันในระดับชาติเป็นมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่ไวพอจะจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลที่นับวันจะเปลี่ยนไปอย่างไม่หยุดนิ่ง

 

B20: คดีเด็ด ภาค 2

พล.ต.ต. นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์

Grand Ballroom 16/04/49: 1030-1200

 

          ท่านเป็นเจ้าของวลีผมเขียนหนังสือได้ แต่ไม่ดัง  ท่านชอบเขียนหนังสือมาตั้งแต่เด็ก เป็นผู้ปลุกปล้ำให้กำเนิดแก่วารสารทางการแพทย์ไม่น้อยกว่าสองฉบับ และเป็นนักเขียนประจำในคอลัมน์ต่างๆ มากมาย  ด้วยความที่คลุกคลีกับการสอบสวนคดีต่างๆ ของแพทยสภา จนกระทั่งไปเกษียณอายุด้วยตำแหน่งอธิบดีในกระทรวงยุติธรรมเมื่อปีที่แล้ว  ท่านจึงมีความกระจ่างชัดมากในเรื่องคดีทั้งหลายที่แพทย์ตกเป็นจำเลยอยู่ในขณะนี้

          เวชปฏิบัติในประเทศไทยจะไม่ง่ายอย่างที่ผ่านมาแล้ว บรรยากาศที่คุกคามผู้ให้บริการสุขภาพปรากฎชัดเจนมากขึ้น ควรที่ผู้ให้บริการจักได้ร่วมกันประมวลสถานการณ์ วิเคราะห์ เจาะลึก เพื่อแก้ปัญหาและทำบริการสุขภาพไปสู่บรรยากาศที่เอื้ออาทรขึ้น  อาจารย์ชุมศักดิ์จะใช้คดีตัวอย่างที่ศาลพิพากษาให้ผู้ให้บริการจ่ายค่าเสียหายแก่ผู้ใช้บริการและนำเสนอข้อคิดเห็นเชิงHA ที่จะช่วยคลี่คลายปัญหาในอนาคต

         

B30: สร้างโลกใบใหม่...สร้างแรงบันดาลใจจากเรื่องเล่า

นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพสาธารณสุข)

Grand Ballroom 16/04/49: 1300-1430

 

          คุณหมอโกมาตร เป็นผู้ที่มีมุมมองลึกซึ้งในเชิงมานุษยวิทยา เห็นในสิ่งที่พวกเรามักจะไม่เห็น  สามารถเชื่อมโยงวัฒนธรรมพื้นบ้าน มาแปลความหมายและให้ข้อคิดเห็นด้วยวิธีคิดที่ทันสมัยหรือก้าวล้ำนำสมัยได้  ด้วยความที่คลุกคลีกับการทำงานชุมชนมามาก จึงได้พัฒนาเครื่องมือการทำงานกับชุมชนอย่างมีความสุข และยังคงทำงานวิจัยเกี่ยวกับความสุขของคนทำงานบริการปฐมภูมิ

          เทคนิค Appreciative Inquiry คือการค้นหาสิ่งดีๆ ที่มีอยู่รอบตัว เพื่อนำสิ่งดีๆ นั้นมาเป็นพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง แทนที่จะมองแต่ด้านที่เป็นปัญหาแล้วเกิดความหดหู่ท้อถอย  คุณหมอโกมาตรได้พบว่าผู้ที่ทำงานบริการปฐมภูมินั้นมีความภาคภูมิใจกับภาระรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ซึ่งโรงพยาบาลในเมือง     ไม่สามารถทำได้  นั่นคือสามารถดูแลแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน หลายมิติ ทำงานหลายระดับ ปัจเจก ครอบครัว ชุมชน  เป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะเหมาะกับพื้นที่ เสริมระบบสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้  จุดแข็งของบริการปฐมภูมิจึงไม่ใช่การรักษาเบื้องต้นหรือการคัดกรองเพื่อส่งต่อ 

          คุณหมอโกมาตรจะใช้เทคนิคการเล่าเรื่องราวประสบการณ์ดีๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการร่วมกันสร้างสรรค์โลกใบใหม่ที่ทุกคนปรารถนา

 

B40: Meet HA Surveyor (พบผู้เยี่ยมสำรวจ HA)

นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์ (รพ.มหาราชนครราชสีมา)

..หญิง พรประภา โรจนะวงศกร (รพ.ภูมิพลอดุลยเดช)

ภญ.ผุสดี  บัวทอง (พรพ.)

Grand Ballroom 16/04/49: 1500-1630

 

          การเยี่ยมสำรวจควรจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เยี่ยมสำรวจกับทีมงานของโรงพยาบาล  ก่อนการเยี่ยมสำรวจ ทั้งทีมงานของโรงพยาบาลและทีมผู้เยี่ยมสำรวจต่างต้องเตรียมตัวกันอย่างหนัก  ความเข้าใจต่อเป้าหมายของกระบวนการ และความตระหนักในความคาดหวังของกันและกัน จะมีส่วนสำคัญที่จะทำให้บรรยากาศของการเยี่ยมสำรวจเป็นไปอย่างราบรื่นและสร้างสรรค์

          ผู้เยี่ยมสำรวจทั้งสามท่าน เผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ มามากมาย ทั้งที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และที่เคร่งเครียดด้วยความเข้าใจไม่ตรงกัน  ช่วงนี้จึงเป็นโอกาสที่ผู้เยี่ยมสำรวจทั้งสามท่านจะมาถ่ายทอดเคล็ดวิชาว่าจะใช้การเยี่ยมสำรวจให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลได้อย่างไร  มิใช่จะมาบอกเคล็ดวิชาว่าจะผ่านการรับรองได้อย่างไร นะ จะบอกให้

 

ห้อง Grand Ballroom วันที่ 17 มีนาคม 2549
C10: Competency & Healthy Organization

ผศ.ดร.จิระประภา อัครบวร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)

อ.ผ่องพรรณ ธนา (พรพ.)

Grand Ballroom 17/04/49: 0830-1000

 

          Competency เป็นเรื่อง hit ติดต่อกันมาหลายปี ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน  แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือเรายังไม่ได้รับประโยชน์จากการทำเรื่องนี้เท่าที่ควร  บ้างก็วางระบบที่ซับซ้อนเกินไป บ้างก็มุ่งเน้นที่การกำหนด competency มากกว่าการนำไปใช้ บ้างก็ไม่เข้าใจเป้าหมายของเครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่

          อาจารย์จิระประภาจะมาเล่าให้ฟังถึงแก่นของเรื่อง competency ที่ทำให้เราสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ง่ายๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ  การตั้งเป้าให้องค์กรเป็นองค์กรที่มีสุขภาพดี เข้มแข็ง ไม่เจ็บป่วย จะทำให้เรามีทิศทางการพัฒนาคนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

C20: Tracing methodology to improve nursing quality
นวัตกรรมการพัฒนาการพยาบาล : เทคนิคการตามรอยและวัดผลคุณภาพ

ดร.วิจิตร  ศรีสุพรรณ (สภาการพยาบาล)

.เพ็ญจันทร์  แสนประสาน (รพ.เซนต์หลุยส์)

ดร.ยุวดี เกตสัมพันธ์ (รพ.ศิริราช)

Grand Ballroom 17/04/49: 1030-1200

 

          พยาบาลเป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งมีนวตกรรมในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  มารับฟังทิศทางและมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิในประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้

·       ระบบการพยาบาลที่มีคุณภาพ การวัดผลภาพการพยาบาล โรงพยาบาลที่ดึงดูดใจ (Magnet Hospital) ความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานสภาการพยาบาล แนวโน้มทิศทางการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล

·       การประยุกต์ใช้นวัตกรรมการพัฒนาระบบต่างๆ การเชื่อมโยงระบบการพัฒนาการพยาบาล การพยาบาลเจ้าของไข้ (Primary care) Care Management, Case Management, Disease Management กับเทคนิคการย้อนรอย (Tracer)

·       ประสบการณ์การพัฒนาตามแนวคิดการทำ Clinical Tracer บทบาทพยาบาลในทีมสุขภาพในการร่วมพัฒนาการดูแลกับทีมสหสาขา โดยเทคนิคการทำ Tracer ทางการพยาบาลและประโยชน์จากการประยุกต์ใช้ Clinical Tracer ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในทีมสหสาขา และการทำ Tracer ทางการพยาบาล

·       เทคนิคการตามรอยและวัดผลคุณภาพที่เรียบง่าย ผสมผสานในงานประจำ และสามารถพัฒนางานในประเด็นสำคัญสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

C30a: ต้นอ้อต้านพายุ

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา (ประธานคณะกรรมการบริหาร พรพ.)

Grand Ballroom 17/04/49: 1330-1415

 

          ขณะนี้ผู้ที่ทำงานในระบบบริการสุขภาพอาจจะรู้สึกเหมือนกับอยู่ท่ามกลางพายุที่ถาโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ไม่รู้ว่าจะตั้งตัวรับมืออย่างไร การมองเฉพาะจุด เฉพาะส่วน จะทำให้ไม่เห็นทางออก  จำเป็นต้องมองให้เห็นภาพใหญ่และปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงกัน 

          อาจารย์จรัส เป็นผู้ใหญ่ที่ให้กำลังใจและชี้แนะทิศทางการพัฒนาให้แก่กระบวนการ HA มาตั้งแต่เริ่มต้น ท่านได้พิจารณาความซับซ้อนของเรื่องนี้อย่างรอบด้าน และชี้ให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ที่ควรจะเกิดขึ้นเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย เพื่อให้สังคมมีความมั่นใจในองค์กรวิชาชีพ  ความรับผิดชอบและเจตคติต่อเวชระเบียนซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ การติดอาวุธให้กับผู้ที่ต้องออกไปปฏิบัติงานในแนวหน้า ระบบตรวจสอบภายในวิชาชีพ การสื่อสารกับสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้น ฯลฯ

 

C30b: เชื่อมโยง เก็บกวาด และมาตรฐานใหม่

นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล (ผู้อำนวยการ พรพ.)

Grand Ballroom 17/04/49: 1415-1500

 

          ความเป็นจริงของธรรมชาติคือการเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว  การทำงานอย่างเชื่อมโยงคือการปฏิบัติอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ  ระบบนิเวศของธรรมชาติมีการเก็บกวาดตัวเองอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดความสมดุล  การพัฒนาคุณภาพก็ต้องเก็บกวาดสิ่งรกรุงรังที่ไม่จำเป็นออกไปเช่นเดียวกัน 

          มาตรฐานใหม่เป็นผลของการเชื่อมโยงแนวคิดที่สอดคล้องกันเข้าด้วยกัน  นอกเหนือจากเนื้อหาใหม่จำนวนหนึ่งแล้ว เราควรร่วมกันแสวงหาวิธีการใหม่ๆ ในการใช้มาตรฐานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร การใช้มาตรฐานที่มุ่งเน้นการปฏิบัติและการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่คุณค่าต่อผู้รับบริการ  การใช้มาตรฐานอย่างมีวุฒิภาวะที่จะเลือกกำหนดขอบเขตและวิธีการอย่างเหมาะสมกับบริบทของตนเอง 

 

 

ห้อง Meeting 1 วันที่ 15 มีนาคม 2549
A21: ตามรอย Wheezing Lung

รศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ (คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่)

รศ.พญ.จรุงจิตต์ งามไพบูลย์ (คณะแพทยศาตร์ จุฬาฯ)

หทัยรัตน์  จันทร์เสรีวัฒน์ (รพ.บรรพตพิสัย)

นพ.ชเนนทร์  วนาภิรักษ์ (คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่) ผู้ดำเนินการอภิปราย

Meeting Room 1 15/04/49: 1030-1200

 

          เริ่มต้นการตามรอยด้วยโรคปอดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ คือ asthma กับ COPD ซึ่งอาจจะมีความต่อเนื่องจาก asthma ในเด็ก ไปสู่การเป็น COPD ในผู้ใหญ่

          อาจารย์ชายชาญ จะมาเล่าให้ฟังว่ารักษาผู้ป่วย COPD แบบบูรณาการนั้น ทำอย่างไร

          อาจารย์จรุงจิตต์ จะมาเล่าประสบการณ์ของการจัด asthma camp ให้กับเด็กๆ  เปลี่ยนเจตคติของเด็กและพ่อแม่  ทำให้เด็ก asthma กลายเป็นเด็กที่สามารถเล่นกีฬาได้  ทั้งผู้คุมค่ายและลูกค่ายต่างก็มีความสุข และมีความสัมพันธ์ที่สืบเนื่อง

          คุณหทัยรัตน์ จะมาเล่าให้ฟังว่าทำอย่างไรก้บผู้ป่วย COPD ซึ่งถือเอา รพ.เป็นบ้าน ให้สามารถกลับไปอยู่บ้านได้ ด้วยเครื่องมือง่ายๆ คือเทียนไขกับลูกโป่ง

 

A21: เชิงรุก ร่วมภาคี ดูดีที่ผลลัพธ์

นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย (รพ.ขอนแก่น)

สุทิน ไชยวัฒน์ (สำนักงานคุมประพฤติ จ.มหาสารคาม)

ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ (คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล)

Meeting Room 1 15/04/49: 1300-1430

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17430เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2006 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เนื่องจากผมไม่ได้ร่วมงานประชุม ขอความอนุเคราะห์ พ.ร.พ

ช่วยลง file ให้ downlond ด้วยนะครับจะกรุณาอย่างสูงครับ

น่าเสียดายจังค่ะ ไว้ปีหน้ารีบๆลงทะเบียนนะคะ สำหรับไฟล์หลังการประชุมเราจะนำมาเผยแพร่แน่นอนค่ะ แต่คงต้องขอเวลาบ้างนะคะ

การจัดงานครั้งนี้รู้สึกว่ายังจัดได้ไม่ Success ทั้งเรื่องของสถานที่ อาหาร นิทรรศการ  ต้องแย่งกันทุกอย่าง ไม่มีความพร้อมเลย ถือว่าติเพื่อก่อก็แล้วกัน อยากให้มีเสียงขื่นชมบ้าง เพราะหูชาไปหมดแล้ว  อยากได้เนื้อหาในการอบรม ไปเผยแพร่ต่อรบกวนช่วยลงใน Web ด้วยค่ะ

ขอทราบรายละเอียดSAFETH GOAL 2006คะ

เขียนไว้แล้วค่ะในบล็อก ลองหาดูนะคะ ตอนนี้เราเผยแพร่เฉพาะหัวข้อก่อนค่ะ ส่วนรายละเอียดต้องสักระยะนะคะ

 

ขอความกรุณาชี้แจงหรือยกตัวอย่างหรือบอกหัวข้อย่อยในการทำ safty goal เรื่องการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนด้วยค่ะเพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มเขียนงานอย่างไรดี/ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท