การส่งเสริมทักษะการคิดโดยการสรุปองค์ความรู้ในรูปแบบการแตกแขนงความคิด ( MIND MAP )และการ์ตูนวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


การส่งเสริมทักษะการคิดโดยการสรุปองค์ความรู้ในรูปแบบการแตกแขนงความคิด ( MIND MAP )และการ์ตูนวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

รูปแบบการส่งเสริมทักษะการคิด

1. รูปแบบที่ 1   การแตกแขนงความคิด (MIND  MAP)

2.  รูปแบบที่ 2 การ์ตูนวิทยาศาสตร์

ทำไมต้องมีการสอนคิด

1.             เกิดจากผลการประเมินของ สมศ.

2.             ต้องการให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น

3.             ต้องการให้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์

วัตถุประสงค์

1.             เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2.             เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการสืบค้นข้อมูล

3.             เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการสรุปองค์ความรู้

4.             เพื่อให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น

5.             เพื่อให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์

สมมติฐาน

1.             นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

2.             นักเรียนมีทักษะการสืบค้นข้อมูล

3.             นักเรียนมีทักษะการสรุปองค์ความรู้ในรูปแบบ

                -  การแตกแขนงความคิด (MIND  MAP)

                -  การ์ตูนวิทยาศาสตร์

4.    นักเรียนมีความกระตือรือร้น

5.    นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์

วิธีดำเนินการ

เมื่อนักเรียนเรียนจบหน่วยการเรียนแล้ว

1.  ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากเรื่องที่เรียน                 

2. นักเรียนออกแบบการสรุปองค์ความรู้ในรูปแบบ         

                - การแตกแขนงความคิด (MIND  MAP)

               - การ์ตูนวิทยาศาสตร์                         

3.  นักเรียนลงมือปฏิบัติ

4. นักเรียนนำเสนอผลงาน

5. ประเมินผลงาน

 

ผลที่เกิดขึ้น

พบว่าเป็นเทคนิคที่ส่งเสริมทักษะการคิดเนื่องจาก

                   นักเรียนมีการวางแผนและออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

                   นักเรียนมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน

                   นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระในการนำเสนอผลงาน

                   นักเรียนมีความภูมิใจในผลงาน

                   นักเรียนมีความกระตือรือร้น

                   นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.             นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

2.             นักเรียนมีทักษะการสืบค้นข้อมูล

3.             นักเรียนมีทักษะการสรุปองค์ความรู้ในรูปแบบ

                -  การแตกแขนงความคิด (MIND  MAP)

                -  การ์ตูนวิทยาศาสตร์

      4.    นักเรียนมีความกระตือรือร้น

      5.    นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์

 

 

 

แบบฝึกและการเรียนรู้การทำ  MIND  MAP

กติกาในการเรียนรู้

รูปแบบการแตกแขนงความคิด (MIND  MAP)

เปิดใจ                                            

ลองรับฟัง

ลงมือลุย

ทำตามคำแนะนำ

 

        ของใช้ฝึกหัด

 

แบบฝึกที่ 1
รายการที่ชอบ

 

 

แบบฝึกที่ 2
ทดสอบความคิดสร้างสรรค์

 

1.ให้เขียนชื่อเพื่อน คนรู้จัก

    ไม่ต้องเขียนชื่อจริง เต็มยศ ใช้ชื่อเล่นที่เรียกกันตามปกติ (เวลา 3 นาที)

     ......................................................................................................................... 

แบบฝึกที่ 3
ทดสอบการดึงข้อมูลที่รู้อยู่แล้วกลับมา

 

ให้ลองคิดว่า  แปรงสีฟันใช้ทำอะไรได้บ้าง นอกจากสีฟัน

                 ( เวลา 3 นาที )

                ..........................................................................................................

แบบฝึกที่ 4 
เขียนเรื่องตนเอง

                               

เขียนเรื่องตนเอง  3 นาที เพื่อนำไปเล่าให้คนอื่นฟัง  อย่างน้อย 10 นาทีอาจมีรายละเอียดต่อไปนี้

                                - ข้อมูลเฉพาะ เช่น ชื่อจริง /ชื่อเล่น /นามสกุล/อายุ/วันเกิด/ที่เกิด/

                                - ครอบครัว เช่น พ่อ /แม่/ พี่/ น้อง/ คู่ครอง /บุตร /หลาน

                                - บ้าน / การศึกษา/งาน/ อุปนิสัย/ลักษณะพิเศษ/งานอดิเรก/กีฬา อาหารที่ชอบ   ฯลฯ .....................................................................................................................

แบบฝึกที่ 5
ฝึกคิดเป็นรัศมีเลือกรายการที่ชอบ  5  รายการ ใช้เวลารายการละ 1 นาที

วิธีการคิด

                หัดคิดเป็นรัศมี  จดทุกคำที่ผุดขึ้นมา  อย่าเพิ่งไปตัดสิน  คัดเลือก

                ให้ขีดเส้นใต้คำที่เขียนลงไป เชื่อมให้ติดกับสิ่งที่คิด ตั้งใจระวัง

                เส้นเชื่อมกับสิ่งที่คิดและยาวกว่าคำเล็กน้อย

……………………………………………………………………

หลังจากทำครบ  ทั้ง  5   รายการแล้ว

นับคำที่คิดได้ในแต่ละรายการที่เลือกมารวมกันแล้วหารด้วย 5 ปัดเศษ

ค่าเฉลี่ย ความสามารถของคุณ ในการคิดในเวลา 1 นาที

……………………………………………………………………

สรุป

รายการที่เลือก จะเลือก

   ภาพ มากกว่า คำตัวเลข คำยาก ภาระหน้าที่ จะไม่เลือก         วันหยุด  ทะเล  จะมีคนเลือกเยอะ

…………………………………………………………………… 

 

 

แบบฝึกที่ 6
หัดคิดกว้าง

ใช้เวลา 3 นาที

เคล็ดลับ

ในการคิดกว้างคือ การใช้คำถาม เช่น ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไม เมื่อใด ฯลฯ

 

 

แบบฝึกที่ 7
หัดคิดลึก

 

การคิดลึก คือการคิดลงไปในรายละเอียดใช้เวลา 1 นาที ต่อ1 รายการ

 

 

แบบฝึกที่ 8
เขียนวางแผนไปเที่ยวทะเล โดยใช้ MIND MAP

ให้นำข้อมูลในการเขียนวางแผนในการไปเที่ยวทะเล เขียนเป็น MIND MAP

 

กฎของ  Mind  Map

 

อุปกรณ์

                1.  กระดาษขาวไม่มีเส้นขนาด A4 หรือA3  

        วางในแนวนอน

                2. ปากกา / ดินสอสี

แก่นแกน

1.             เริ่มแก่นแกนจากกึ่งกลางหน้า

2.             แก่นแกนควรเป็นภาพหรือสัญลักษณ์

3.             แก่นแกน ควรมีขนาดพอเหมาะ

4.             ไม่ควรล้อมกรอบ

กิ่งแก้ว

1.             ประเด็นสำคัญหรือใจความให้แตกเป็น กิ่งแก้ว ออกมารอบและติดกับแก่นแกน

1.             กระจายออกรอบทิศทาง พยายามใช้ภาพ และสัญลักษณ์แทนคำ

3.             เส้นของกิ่งแก้ว วาดให้โค้งเรียวลงดูเหมือนสิ่งมีชีวิต เช่นกิ่งไม้ รากไม้

4.             เส้นของกิ่งแก้วต้องเชื่อมโยงติดกับแก่นแกน

กิ่งก้อย

2.             ประเด็นรอง รายละเอียด หัวข้อย่อย โยงเชื่อมติดกับกิ่งแก้ว

3.             ใช้สีเดียวกับกิ่งแก้ว เขียนให้โค้ง ไหลลื่นเป็นธรรมชาติ

คำ

ให้ใช้คำมูล สั้นๆ เขียนตัวบรรจง

2. ภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวนำ เช่น  CAPITAL

3. ภาพ/คำ/สัญลักษณ์ ต้องมีเส้นรองรับเส้นใต้เสมอ และเชื่อมโยงกับเส้นก่อนหน้า

4. คำที่อยู่ห่างแก่นแกนออกไป เขียนเล็กลง ลดหลั่นกันไป

เส้น

1. เส้นให้ยาวกว่าภาพ/คำสัญลักษณ์

2. เส้นบนกิ่งแก้วเดียวกันต้องเชื่อมต่อกันอย่าให้ขาด

3.เส้นบนกิ่งแก้วเดียวกันควรใช้สีเดียวกัน

4. เขียนให้เส้นโค้ง ไหลลื่น เป็นธรรมชาติอย่าเขียนเป็นเส้นตรง

เน้น

1. ข้อมูลหรือความคิดสำคัญให้ป้ายสี ใส่กล่อง ให้ดูเด่นเห็นง่ายขึ้น

เชื่อมโยง

1. ข้อมูลหรือความคิดที่สัมพันธ์กัน ให้ใช้ลูกศรเชื่อมโยงได้

2. ลองใช้เวลา แต่ง แต้ม ต่อ เติม MIND MAP

3. ล้อมสาขาที่แตกออกจากกิ่งแก้วเดียวกัน แต่ละกิ่งให้เป็นพรมแดนต่างสีกัน

 

วิธีการเรียนรู้การ์ตูนวิทยาศาสตร์

 

เทคนิคการเขียนการ์ตูนวิทยาศาสตร์

1.             เลือกเรื่องที่สนใจ

2.             สืบค้นข้อมูลในเรื่องนั้นๆ

3.             วางแผนออกแบบรูปการ์ตูน

4.             วางแผนออกแบบเนื้อเรื่องจากข้อมูลที่นักเรียนสืบค้น

5.             ลงมือปฏิบัติ

6.             นำเสนอผลงาน

7.             ประเมินผลงาน

 

 

 

 



ความเห็น (2)

เนื้อหาดีมากค่ะ

ถ้าครูในประเทศไทยทำได้อย่างนี้

เด็กคงรู้จักคิดมากกว่านี้นะคะ

กิจกรรมน่าสนใจดีจังคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท