การเรียนรู้ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น “การทอผ้าด้วยกีกระตุก” เพื่อสนับสนุนการเรียนการ ออกแบบลายผ้าด้วยโปรแกรมเบื้องต้น (Microsoft Word)


การเรียนรู้ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น “การทอผ้าด้วยกีกระตุก” เพื่อสนับสนุนการเรียนการ ออกแบบลายผ้าด้วยโปรแกรมเบื้องต้น (Microsoft Word)

1.              ข้อมูลทั่วไป

1.1   ชื่อผลงาน   การเรียนรู้ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น  การทอผ้าด้วยกีกระตุก เพื่อสนับสนุนการเรียนการ  ออกแบบลายผ้าด้วยโปรแกรมเบื้องต้น (Microsoft  Word)

1.2   เจ้าของผลงาน      นางทาริณีย์  บุญคล้อย   ครู คศ.1   โรงเรียนสวายวิทยาคาร  ปฏิบัติการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 

              1.3     ความเป็นมา    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๔๐  กำหนดให้บุคคล  มีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี  ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย  การจัดการศึกษาอบรมของรัฐ ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  ๒๕๔๒  ได้กำหนดให้กระบวนการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม  โดยการถ่ายทอดความรู้  การฝึก  การอบรม  การสืบสานทางวัฒธรรม  การสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ  การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม  สังคมแห่งการเรียนรู้  และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 

อนึ่งเพื่อให้การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้สถานศึกษาต้องมีการประสานสัมพันธ์  และร่วมมือกับบิดา  มารดา  ผู้ปกครอง  และบุคคลในชุมชน  ให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง  จำเป็นต้องสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแหล่งการเรียนรู้ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต  3  มีเป้าประสงค์ เพื่อให้ประชากรในวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง  มีคุณภาพและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  มีคุณธรรม  จริยธรรม และดำรงชีวิตแบบวิถีไทยอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ดังนั้นข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนในวิชาคอมพิวเตอร์จึงได้จัดการศึกษาแบบบูรณาการเรียนรู้ด้วยแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น  การทอผ้าด้วยกีกระตุก  เพื่อสนองตอบต่อการจัดการศึกษาทีเน้นให้ผู้ปกครอง ชุมชน  มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้    ในปัจจุบันจังหวัดสุรินทร์มีชื่อเสียงทางด้านการทอผ้าไหมขายในประเทศและส่งออกไปนอกประเทศเป็นอย่างมากและยังมีชื่อเสียงในการออกแบบลายผ้าซึ่งมีทั้งลายผ้าโบราณและลายผ้าประยุกต์    ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นควรอนุรักษ์เอาไว้   จากการสำรวจอาชีพของผู้ปกครองในเขตการให้บริการการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองหรี่นั้น  พบว่าอาชีพหลักของผู้ปกครองคือการทำนาและอาชีพรองในชุมชนคือการทอผ้าด้วยกีกระตุก  และกีธรรมดา  ซึ่งการทอผ้าของผู้ปกครองใช้หลักการออกแบบลายผ้าต่างๆโดยใช้การเรียนรู้แบบจดจำจากบรรพบุรุษหรือผู้ถ่ายทอดความรู้   ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษ์อักษร เพื่อไว้ใช้ในการประกอบอาชีพและยังสามารถเก็บเป็นหลักฐานถ่ายทอดสู่เยาชนรุ่นหลัง   ข้าพเจ้าจึงจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ  โดยมีสาระสำคัญเรื่องการออกแบบลายผ้าด้วยโปรแกรมพื้นฐาน  ไมโครซอฟท์เวิร์ด  ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐานในการเรียนรู้  โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้การใช้โปรแกรมการออกแบบในขั้นสูง  เพราะโปรแกรม ไมโครซอฟท์เวิร์ดเป็นโปรแกรมที่นักเรียนวิชาคอมพิวเตอร์  จำเป็นต้องเรียนเพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพอยู่แล้ว

2.  กิจกรรม / วิธีการ /ขั้นตอนที่สำคัญ

                 2.1    จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตาม แผนการเรียนรู้  และรายงานผลการเรียนการสอน  พบว่าผลการเรียนโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ดใช้งานพื้นฐานเท่านั้น

                2.2    ศึกษาเอกสารการวิจัยและงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

                2.3   วิเคราะห์ปัญหา / จัดทำโครงร่างการวิจัย

                2.4   จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

                2.5  ทำเครื่องมือการประเมิน และแบบบันทึก

                2.6  ดำเนินการวิจัยตามแผน / ปฏิบัติกิจกรรม

                                2.6.1  จัดทำโครงการ,ขออนุญาต,ติดต่อแหล่งเรียนรู้

                                2.6.2  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ

                                2.6.3  นำความรู้มาออกแบบด้วยตารางออกแบบลาย

                                2.6.4  ออกแบบลายด้วยโปรแกรม Microsoft Word

                2.7  วิเคราะห์ข้อมูล และผลการปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งทำให้ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน คือนักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าเดิม(จากผลการสะท้อนความคิดของนักเรียนและผู้ปกครอง)

                2.8  สรุป รายงานและเผยแพร่ 

   

3.  ปัจจัยความสำเร็จหรือปัจจัยที่เกื้อหนุน

                1.  แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น

                2.  ผู้บริหาร   ศึกษานิเทศก์    เพื่อนครู  นักเรียนและผู้ปกครองเห็นคุณค่าในการวิจัยและให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี

                3.  นักเรียน มีความกระตือรือร้น  สนใจเรียน 

                4.  นักเรียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่มอบหมายเป็นอย่างดี

 

4.   ผลการดำเนินการ / ผลสำเร็จ / ผลความภาคภูมิใจ

                1.  นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรม Microsoft Word ในงานอื่น  ใช้ในการแก้ปัญหาเมื่อใช้โปรแกรมเบื้องต้นได้อย่างดี

                2.  มีผลงานการวิจัยในชั้นเรียน  ที่จัดทำเป็นรายงาน  5  บท

                3.  สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องงานวิจัยในชั้นเรียนระหว่างเพื่อนครูในโรงเรียนและนอกโรงเรียนได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท