ประเมินผลโครงการ


นิสัยรักการอ่าน

   ขออนุญาตเผยแพร่ผลงาน

          เรื่อง  รายงานการประเมินผลโครงการ "ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน(ค่ายยุวชนรักการอ่าน)"

          สืบเนื่องจากโซนคุณภาพกำแพงแสน ๑  เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน จึงได้จัด โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านขึ้น เป็นประจทุกปี ตั้งแต่ก่อนการปฎิรูปการศึกษา มาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ชื่อโครงการ ต่าง ๆ กันออกไป ในปี 2549 ทางโซนคูณภาพกำแพงแสน ๑ ได้ชื่อว่า โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน(ค่ายยุวชนรักการอ่าน ) ผู้รายงานจึงได้จัดทำรายงานนขึ้นมีผลโดยสรุปดังนี้

นางผุดพรรณ นราแก้ว  2550 : รายงานการประเมินผลโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน(ค่ายยุวชนรัก

            การอ่าน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1. อำเภอเมืองนครปฐม จ.นครปฐม

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน(ค่ายยุวชนรักการอ่าน)ของโซนคุณภาพกำแพงแสน ๑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 ปีการศึกษา 2549 ตามรูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) เพื่อพิจารณาโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน(ค่ายยุวชนรักการอ่าน) ว่ามีประสิทธิภาพเกิดความพึงพอใจ แก่ผู้ร่วมโครงการฯ สมควรปรับปรุงแก้ไขโครงการอย่างไร และเพื่อพัฒนาปรับปรุงโครงการฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยประเมิน 4 ด้าน ดังนี้

                ความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู พร้อมทั้งนักเรียน ที่มีต่อโครงการส่งเสริมรักการอ่าน(ค่ายยุวชนรักการอ่าน ทั้ง 4 ด้านคือ  ด้านสภาพแวดล้อม(Context Evaluation),ด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation),ด้านกระบวนการ(Process Evaluation)และด้านผลผลิต(Product  Evaluation)

                จากการรายงาน  พบว่า  ความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู พร้อมทั้งนักเรียน ที่มีต่อโครงการส่งเสริมรักการอ่าน(ค่ายยุวชนรักการอ่าน ทั้ง 4 ด้านคือ  ด้านสภาพแวดล้อม(Context Evaluation) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีแล้ว  ด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) ซึ่งประกอบด้วย บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ  พบว่า  มีความเพียงพออยู่ในระดับดีแล้ว  ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการดำเนินงาน ลักษณะของกิจกรรมและงบประมาณ พบว่า   มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี  และด้านผลผลิต (Product  Evaluation) อยู่ในระดับดีถึงดีมาก ซึ่งสามารถอภิปรายผลในแต่ละด้านได้ดังนี้

                1.  ด้านสภาพแวดล้อม(Context Evaluation) พบว่า  ความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู พร้อมทั้งนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีแล้ว  ทั้งนี้เป็นเพราะหลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ที่กำหนดมาในโครงการนั้น  มีแนวทางเพื่อนำมาแก้ไขปัญหา   ด้านส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยตรง  ซึ่งศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบได้เห็นความสำคัญ  และมีความเข้าใจในหลักการ และวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นอย่างดี  เนื่องจากศึกษานิเทศก์ต้องอยู่ใกล้ชิดและทราบปัญหาต่าง ๆ  ด้านการอ่านดังกล่าว จึงทำให้ สามารถเข้าใจและกำหนดวัตถุประสงค์  ได้ตรงกับสภาพปัญหาที่สอดคล้องกับ ผลงานวิจัยของ โสภณ สุวรรณวงศ์(2537 : 56)ได้ศึกษาโครงการประเมินศูนย์วิชาการเขต สำนักงานการศึกษา กรุงเทพมหานคร  พบว่า หลักการและจุดมุ่งหมายของการจัดตั้งศูนย์วิชาการ เขตที่เป็น          ผู้บริหารงานอยู่ในฝ่ายแผนและนโยบาย  จึงเห็นความสำคัญสำคัญและมีความเข้าใจในหลักการ  และวัตถุประสงค์เป็นอย่างดีในการดำเนินงาน 

                2.  ด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู พร้อมทั้งนักเรียน  ด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) ซึ่งประกอบด้วย บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ  พบว่ามีความเพียงพออยู่ในระดับดี  ที่เป็นเช่นนี้เพราะ  ผู้บริหารสถานศึกษาให้การสนับสนุนโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน(ค่ายยุวชนรักการอ่าน) ตั้งแต่ก่อน การปฎิรูปการศึกษาจนถึงปัจจุบันนี้  เมื่อพิจารณาในแต่ละเรื่องพบว่า

                            ด้านบุคลากร  มีค่าเฉลี่ยความเพียงพออยู่ในระดับดี แล้ว  ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน  และครูบรรณารักษ์ของแต่ละแห่งให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

                           ด้านวัสดุ  อุปกรณ์ งบประมาณ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี  เช่น หนังสือ วัสดุสิ้นเปลือง ที่นำมาใช้จัดกิจกรรม  ได้รับการสนับสนุนจากชุมชน 

                3. ด้านกระบวนการ(Process Evaluation) พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู พร้อมทั้งนักเรียน ในด้านกระบวนการซึ่งประกอบด้วย  กระบวนการดำเนินงาน  ลักษณะของกิจกรรม

และการประเมินผล  พบว่า  มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ  ดี  การประสานงานกับโรงเรียนเป็นไปด้วยดี

มีกิจกรรม บันทึกการอ่าน  ทุกวัน  มีโครงการต่าง ๆ เช่น วางทุกงานอ่านทุกวัน จัดหนังสือเรียนไว้ตามมุมห้อง ใช้คาราโอเกะ ช่วยในการอ่าน  ตามคำนิเทศของศึกษานิเทศก์ เป็นต้น

                4. ด้านผลผลิต (Product  Evaluation) พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู พร้อมทั้ง

นักเรียนอยู่ในระดับ ดี ถึง ดีมาก  ดังต่อไปนี้

                         ด้านประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู พร้อมทั้งนักเรียนอยู่ในระดับ ดี ทั้งนี้เพราะครู มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 173634เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2008 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท