ศิลปะการพูด


วาจา

เก็บตกจากโรงแรม

ศิลปะการพูด

    ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เคล็ดลับอันยิ่งใหญ่ที่เราติดต่อกับผู้อื่นก็คือ พูดให้เป็นศรีแก่ตัว ทำให้การพูดสามารถสร้างความโดดเด่นให้แก่ผู้พูดได้ ผู้ที่มีความสามารถในการพูดหรือรู้จักวิธีการพูดที่รักษาน้ำใจผู้อื่นไม่ให้ผู้อื่นเสียน้ำใจได้จะประสบความสำเร็จในการทำงานได้ อย่างเช่น เดล คาร์เนกี้ ได้จัดปาฐกถาเรื่อง การพูดให้เป็นที่จับใจและจูงใจในวงการธุรกิจ ปรากฎว่ามีผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจเข้าฟังกันอย่างล้นหลาม การพูดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะผูกใจมิตรหรือทำลายมิตรได้ คำพูดที่ออกโดยไม่ยั้งคิด นอกจากจะไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ ยังทำให้เสียเพื่อนและเสียประโยชน์ส่วนตนอีกด้วย ดังนั้นก่อนที่เราจะพูดออกไป เราควรไตร่ตรองให้ดีก่อน เอมิให้เป็นอันตรายต่อตนเอง ดังเช่น พลเอก  ชุณหะวัน ได้กล่าวไว้ว่า

ก่อนที่เราจะพูด เราเป็นนายของคำพูด แต่เมื่อเราพูดออกไปแล้ว พูดนั้นจะเป็นนายของเรา ทำให้การพูดควรกระทำด้วยความระมัดระวัง มีความรอบคอบ คิดก่อนพูด เพื่อมิให้เป็นผลเสียต่อตัวเองในภายหลัง

    ความสำคัญของการพูด  ตามหลักพุทธภาษิต ได้กล่าวไว้ว่า เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ ซึ่งสอดคล้องกับคำประพันธ์ของสุนทรภู่ที่ว่า

 

จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น     อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู

ไม่ควรพูก็อย่าพูดถึงมึงกู                คนจะหลู่ลามไม่ขามใจ

แม้จะเรียนวิชาทางค้าขาย      อย่าปากร้ายพูดจาอัชฌาสัย

จะซื้อง่ายขายดีมีกำไร           ด้วยเขาไม่เคืองจิคระอิคระอา

 

ดังนั้น การพูดที่ดีจะนำไปสู่การสนทนาที่ดี ทำให้ผู้บริหารสามารถใช้สนทนาเป็นการสร้างมิตรภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้นะค่ะ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การพูดที่ดี
หมายเลขบันทึก: 173472เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 07:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แนวทางขอในการพูดคุยของผม พูดไปในเชิงแนวความคิดเดียวกันกับคนที่เราคุยด้วย เค้าจะได้รู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกับเราครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท