เก็บมาฝาก


กันลืม

เก็บมาฝาก

ข้อปฎิบัติดีๆ สำหรับคนขี้ลืม

        เชื่อว่า ไม่มีใครจะจำอะไรได้ทั้งหมด คงต้องมีการลืมกันบ้าง ขึ้นอยู่ว่าใครลืมมากน้อยเท่านั้น ในช่วง เก้บมาฝากมีวิธีการที่จะช่วยไม่ให้ลืมเวลาที่เราจำไม่ได้ว่าต้องการทำอะไรบ้าง มี 11 วิธีดีๆ สำหรับคนขี้ลืมมาฝากกันค่ะ

1.   จดบันทึกช่วยจำ การจดบันทึกช่วยจำในสมุดเล็กๆ สามารถที่จะช่วยจดจำว่าเราจะต้องทำอะไร เพราะการจดจะช่วยย้ำให้สมองจำเรื่องราวเหล่านั้นได้ดี

2.   พูดกับตัวเองดังๆ การพูดเหมือนกับการจด แต่จะให้ดีจะต้องพูดออกมาเสียงดังหรือกลัวว่าจะ

3.   ติดโน๊ต  การมีแผ่นโน๊ตเล็กๆสำหรับพกพา เมื่อเวลาที่เรานึกว่าเราจะต้องทำอะไรบ้าง เรากลัวจะลืม ก็ลองเขียนไว้ที่กระดาษโน๊ตแล้วแปะไว้ในที่ต้องเห็นเป็นประจำ เพราะทุกครั้งที่เราเห็นโน๊ตที่เราแปะไว้ก็จะเป็นการช่วยเตือนสมองให้เราได้จดจำเรื่องเหล่านี้แบบแม่นยำยิ่งขึ้น ลองทดสอบดูก่อนกได้นะค่ะ

4.   เก็บของให้เป็นที่เป็นทาง  การเก็บของให้เป็นที่ที่ควรจะเป็นที่นั้น จะสามารถช่วยให้เราไม่ต้องคอยมานึกทุกครั้งที่เราจะใช้ของ และเก็บของไว้ที่ไหน

5.   อย่าจับปลาสองมือ  เพราะคนเราชอบทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมกัน เช่น อ่านหนังสือและเปิดเพลงฟังไปด้วย ทำให้เสียสมาธิในการจำ ทางที่ดีควรเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งจะดีกว่านะค่ะ เพราะจะทำให้มีสมาธิที่ดีกว่า

6.   ปฎิบัติตัวเป็นกิจวัตร  การที่คนเราทำอะไรซ้ำๆ เหมือนกัน จะช่วยให้สมองจำได้เอง เช่น การที่เราอ่านหนังสือยังไม่จบ แต่ต้องไปทำอย่างอื่นต่อก็ควรวางไว้ที่ใดที่หนึ่งเป็นประจำ สมองก็จะสั่งการเลยว่าต้องไปหยิบหนังสือตรงไหน

7.   ใช้ทริคช่วยจำ  ทริคเป็นประเภทการท่องจำ,คำย่อ,คำคล้อง สำหรับใช้ในกรณีที่ต้องทำอะไรหลายๆอย่างในวันเดียว วิธีนี้อาจจะดูยากไปสักหน่อย

8.   ช้าๆได้พร้าเล่มงาม  การที่ทำอะไรช้าลงหน่อย เพราะสมองจะจำอะไรได้ช้าลงเมื่ออายุมากขึ้น การที่ทำเร็ว พูดเร็ว มีส่วนทำให้สมองเก็บเรื่องราวไว้ไม่ทันได้เหมือนกันค่ะ

9.   ร่างการแข็งแรง  ความจำแข็งแรงได้ เราจะต้องดูแลร่างกายให้ดี กินอาหารครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายแข็งแรงความจำก็จะดีด้วยค่ะ

10.         บริหารสมอง  การที่เราได้ทำกิจกรรมที่ไม่ให้สมองว่างจนเกินไป เช่น อ่านหนังสือ เล่นดนตรี เพราะจะช่วยให้สมองได้ออกกำลัง เมื่อได้ออกกำลังก็จะมีแอคทีฟดีขึ้น คิดอะไรฉับไว แถมช่วยให้ความจำดีด้วยค่ะ

11.         เข้าใจความถนัดของตัวเอง  คนมักจะมีความถนัดไม่เหมือนกัน บางคนจำได้เมื่อมองเห็น (จดบันทึก) บางคนจำได้ดีกว่าเมื่อได้ยิน (พูดดังๆหรืออัดเทป) มีบางคนจำได้ดีต่อเมื่อลงมือปฎบัติหรือมีประสบการณ์ร่วม (เขียนและทำ)

เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ดิฉันนำมาฝากบอกกับทุกคน หากท่านใดคิดว่าตนเองเป็นคนขี้หลงขี้ลืม ลองนำข้อใดข้อหนึ่งไปปฎิบัติดูนะค่ะ อาจช่วยลดความหลงลืมได้นะค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #จิตใต้สำนึก
หมายเลขบันทึก: 173469เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท