บรรยากาศ โครงการ KM Workshop


เก็บเอาบรรยากาศ โครงการ KM Workshop มาเล่าและเรียบเรียงออกมาเป็นตัวหนังสือผ่านทางโลกไซเบอร์แห่งนี้ (เป็นบรรยากาศที่ไม่มีรูปภาพมีแต่ความรู้สึกที่ถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราว)

โครงการ  KM Workshop  ที่ทางหน่วยประกันคุณภาพฯ จัดขึ้นเพื่อสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับผู้ปฏิบัติงานระดับคณะวิชา/สำนักวิชา (สำหรับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละองค์ประกอบ)  ในวันที่ 26 มีนาคม 2551 (เมื่อวาน)  ณ ห้อง Main Conference  ตึก CITCOM   โดยมี ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ เป็นโต้โผใหญ่  นั้น

               บรรยากาศตอนลงทะเบียน  คือ  ช่วงเวลา 8.30 - 9.00 น.  เต็มไปด้วยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละองค์ประกอบตามคณะต่างๆ พร้อมใจมาลงทะเบียนกันอย่างไม่ขาดสาย  ทำให้บรรยากาศทั้งภายในและภายนอกห้องประชุมดูคึกคักเป็นพิเศษ ภายในห้องประชุมดูอบอุ่น เจ้าหน้าที่นั่งกันเต็มห้อง มองไปทางไหนก็มีแต่คนรู้จัก เคยเห็นหน้าค่าตากันมาแล้วทั้งนั้น (แต่ไม่เคยคุยกันเป็นเรื่องเป็นราวสักที)  จะว่าไปก็ตื่นเต้นพอสมควรเพราะเป็นการรวมเอาเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ  ในแต่ละคณะมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกัน (นานๆ ทีถึงจะมีการรวมตัวกันแบบนี้)

                อ.วิบูลย์  เกริ่นนำกระบวนการและชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ  พร้อมทั้งอธิบายคร่าวๆ เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายใน  (IQA)  แบบใหม่ ประจำปีการศึกษา 2550  โดยอธิบายเกี่ยวกับการให้คะแนน

                                  -  อิงเกณฑ์ สกอ.  (3 คะแนน)

                                  -  อิงเป้าหมาย  (1 คะแนน)  ต้องเป็นเป้าหมายที่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าและต้องไม่ต่ำกว่าเป้าหมายเดิม  ยกเว้นกรณีที่สูงสุดอยู่แล้ว

                                  -  อิงพัฒนาการ  (1 คะแนน)  ต้องได้คะแนนอิงเกณฑ์เพิ่มขึ้น  ยกเว้นกรณีได้ 3 คะแนน

         เกณฑ์การประเมินคุณภาพ  มีทั้งหมด 44 ตัวบ่งชี้ แบ่งเป็น เชิงปริมาณ 16 ตัวบ่งชี้ และเชิงคุณภาพ 25 ตัวบ่งชี้

                 หลังจากกล่าวเปิดโครงการเรียบร้อยแล้ว  ให้ผู้เข้าร่วมโครงการแยกย้ายเข้ากลุ่มตามห้องต่างๆ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบที่รับผิดชอบ  โดย อ.วิบูลย์  ให้ QA Staff  ของแต่ละคณะ เข้าร่วมสังเกตการณ์และให้ความช่วยเหลือในแต่ละกลุ่ม โดยมีการเลือกคุณลิขิต (เลขาฯ) ในแต่ละองค์ประกอบขึ้นมา เพื่อสรุปประเด็น / ปัญหา / ข้อเสนอแนะ และความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จากการพูดคุยกันในแต่ละกลุ่มเพื่อเตรียมไว้  Present  ในช่วงบ่าย

                ช่วงบ่าย  ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนเพื่อนำเสนอประเด็นที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละองค์ประกอบ โดยเริ่มจากองค์ประกอบที่ 1 ไล่ไปจนถึงองค์ประกอบที่ 9  การ Present  ในแต่ละองค์ประกอบถ้าเกิดตีโจทย์ไม่แตก ไม่เข้าใจ หรือสงสัยตัวบ่งชี้ตัวไหน ก็สามารถซักถามได้ตลอดเวลา โดยมี อ.วิบูลย์คอยอธิบายและช่วยไขข้อข้องใจให้กับทุกท่าน

                บรรยากาศช่วงบ่ายค่อนข้างโหรงเหรงนิดหน่อย เพราะเจ้าหน้าที่แต่ละท่านอาจติดภารกิจไม่สามารถอยู่ร่วมรับฟังการ Present  ในแต่ละองค์ประกอบได้ พอช่วงเวลาของการ Present  จบลง   อ.วิบูลย์กล่าวสรุปและปิดโครงการ

                สิ่งที่ได้จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คือ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจในเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษามากขึ้นกว่าเดิม และเพื่อเป็นประโยชน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและหลักฐานให้มีความถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

                 งานประกันคุณภาพการศึกษา คณะแพทยศาสตร์  ขอขอบคุณ อ.วิบูลย์ และพี่ๆ หน่วยประกันฯ ทุกท่าน ที่จัดโครงการดีๆ แบบนี้ขึ้นมาเพื่อให้เจ้าหน้าที่จากแต่ละคณะทั้งที่รู้จักกันอยู่แล้วและที่ไม่เคยรู้จักกันได้มาพูดคุยและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมจิตสำนึกและวัฒนธรรมคุณภาพในมหาวิทยาลัยนเรศวรร่วมกัน  และขอบคุณพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ จากคณะแพทยศาสตร์ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ค่ะ

ปล.....หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 173461เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจเหมือนกัน ได้ไปโครงการนี้ ได้รู้เพิ่ม ได้เพื่อนเพิ่ม อิอิ

ขอบคุณนะคะที่ช่วยเล่าบรรยากาศQAเพื่อนๆฟัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท