สรรพคุณพืชสมุนไพร


ขิง,ขี้เหล็ก ,ขมิ้นชัน

              ขิง     มีชื่อพื้นเมืองว่า  ขิงแกลง  ขิงแดง  ขิงเผือก

        เหง้าแก่ทั้งสดและแห้ง  มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุรช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อยอาหาร แก้เสมหะในลำคอ แก้ลม แก้บิด เป็นยาแก้อาเจียน บำรุงธาตุไฟ

ช่อดอกอ่อน   ลวกสุก  จิ้มน้ำพริก  ช่วยขับลม ย่อยอาหาร

        ในเหง้าขิงแก่ พบ menthol มีฤทธิ์ขับลม borneol , fenchone และ 6 - gingerol ,มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน สารที่มีรสเผ็ด ได้แก่ 6 - gingerol ลดการบีบตัวของลำไส้จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็งของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารและลำไส้ พบสารออกฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและสารที่ออกฤทธิ์ต้านการอาเจียนได้แก่ 6-shogoal 8-shogoal 10-shogoal พบว่าสารสกัดขิงด้วยเมธานอลมีฤทธิ์ต้านการอาเจียนเมื่อทดลองกับอาสาสมัครที่มีอาการเมาเรือหลายครั้งบางรายงานได้ผลดี ขณะที่บางรายงานไม่ได้ผล อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพของเยอรมันสรุปว่า การกินผงขิงเฉลี่ยวันละ 2- 4 กรัม สามารถป้องกันอาการเมารถเมาเรือรวมทั้งช่วยการย่อยอาหารได้ดีมีการทดลองให้ผู้ป่วยผ่าตัดทางสูตินารีเวชรับประทานขิง 1 กรัมก่อนการผ่าตัด พบว่าสามารถลดอาการคลื่นไส้จากยาสลบได้ดี

         พบว่าขิงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอักเสบปวดข้อ ปวดเข่าด้วย จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในราคาสูง แต่การใช้ของสดที่มีอยู่มากมายในประเทศปรุงเป็นอาหารเป็นทางออกที่ดีกว่าไม่พบความเป็นพิษของขิง

                ขี้เหล็ก  มีชื่อพื้นเมืองว่า ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็ก ขี้เหล็กเผือก ขี้เหล็กใหญ่ ยะหา

  ดอกตูมและใบอ่อน    ทำให้นอนหลับ เป็นยาระบายอ่อนๆ 

  ใบ   แก้กระดูขาว  แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ

  ราก  แก้ไข้  ไข้กลับไข้ซ้ำ

ดอกตูมและใบอ่อน  มีรสขม ใช้ปรุงแกงขี้เหล็ก แกงบวน

 ใบขี้เหล็กมีเส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กและเบต้า แคโรตีนสูง ส่วนดอกมีวิตามินเอสูง

         พบว่าสารสกัดจากใบพบสารกลุ่มแอนทราควิโนนไกลโคไซด์ ซึ่งเพิ่มความแรงของการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้สัตว์ทดลอง จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ในสารสกัดดอกขี้เหล็กด้วนแอลกอฮอล์ มีปริมาณ polyphenols แสดงฤทธิ์ลดอนุมูลอิสระระดับที่สูง และสามารถป้องกันการทำลาย และความเสียหายของเซลล์ในร่างกายจากปฎิกิริยาจากออกซิเดชั่น มีสารสำคัญจำพวกโครฏมน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น บาราคอล เมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นกรดช่วยระงับประสาท ทำให้คลายกังวล และนอนหลับ แต่ปรากฎความเป็นพิษต่อตับ สำหรับวิธีปรุงอาหารของคนไทยที่ต้มดอกตูมและใบอ่อนกับน้ำทิ้งก่อนปรุงอาหาร พบว่าบาราคอลละลายออกไปกับน้ำถึง 90%

        ขมิ้นชัน    มีชื่อพื้นเมืองว่า  ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น

        เหง้า    มีรสเผ็ด รักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อและแผลในกระเพาะอาหาร

        สารสำคัญในหง้าขมิ้นชันมี 2กลุ่ม คือน้ำมันหอมระเหยและสารสีเหลืองส้ม ซึ่งเป็นสารกลุ่ม สารเคอร์คูมินอยด์ จากการวิจัยพบว่าน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชันมีฤทธิ์แก้ท้องอืด ซึ่งเกิดจากการกระตุ้นหารหลั่งน้ำย่อยและขับน้ำดี มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเมือกในทางเดินอาหาร จึงใช้ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้สามารถยับยั้งการเกิดก๊าซที่สร้างโดยเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ มีฤทธิ์ลดอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ แก้ปวดข้อเข่า มีรายงานจากสหรัฐอเมริกาพบว่ากลุ่มทดลองที่กินแกงกะหรี่เป็นประจำมีอุบัติการของโรคมะเร็งในลำไส้ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่กินและในผงกะหรี่มีขมิ้นชันเป็นเครื่องเทศหลัก

        นอกจากนี้พบว่าสารกลุ่มที่มีสีเหลืองสามารถป้องกันเซลล์ของตับจากการทำลายของสารพิษที่เข้าในร่างกายและถูกส่งไปกำจัดที่ตับได้ ไม่พบความเป็นพิษจากการบริโภคขมิ้นชัน

      

คำสำคัญ (Tags): #สมุนไพร
หมายเลขบันทึก: 173352เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

สมุนไพรล้วนแต่มีประโยชน์มากมายเลยนะคะ

ขอบคุณที่นำข้อมูลดีๆมาฝากค่ะ

 

สวัสดีค่ะ พี่พงษ์

มาให้กำลังใจค่ะ

ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่นำเสนอค่ะ

ผมอยากรู้ว่าผมจะหาสมุนไพรที่ชื้อว่า หนุมารประสารกายได้ที่ไหนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท