นิดหน่อย
นางสาว นันทวัน หน่อย พันธุมะโน

โครงการหนึ่งห้อง-หนึ่งโครงการ (One Class One Project : OCOP)


โครงการหนึ่งห้อง-หนึ่งโครงการ

 

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
โครงการหนึ่งห้อง-หนึ่งโครงการ
(One Class One Project : OCOP)
 
โดย
นางสาวนันทวัน  พันธุมะโน
ครูชำนาญการ
 
ข้อมูลทั่วไป
 
โครงการหนึ่งห้อง หนึ่งโครงการ เป็นโครงการที่นักเรียนแต่ละห้องร่วมกันคิด วางแผน เสนอโครงการ ซึ่งเป็นโครงการง่าย ค่าใช้จ่ายไม่สูงจนเกินไปและเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน สังคมหรือชุมชุน โดยสมาชิกในห้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เสริมสร้างความเป็นผู้นำ สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในห้อง เน้นการบริหารจัดการของนักเรียน มีครูและคณะกรรมการนักเรียนเป็นที่ปรึกษา
ตัวอย่างโครงการหนึ่งห้อง หนึ่งโครงการ
โครงการทำสวนหย่อมในโรงเรียน
โครงการทำความสะอาดและพัฒนาบริเวณรอบศาลพระภูมิ
โครงการดูแลรักษาหอพระในโรงเรียน
โครงการปลูกกล้วยไม้ป่าในโรงเรียน
โครงการทาสีริมฟุตบาทถนนในโรงเรียน
โครงการล้างเก้าอี้ในหอประชุมโรงเรียน
โครงการแบ่งปันน้ำใจจากพี่สู่น้อง  ฯลฯ
 
กระบวนการ
การดำเนินการตามโครงการและกิจกรรมของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 9 กลุ่ม ได้ดำเนินไปพร้อมกันอย่างเป็นระบบซึ่งถือเป็นพันธกิจและกลยุทธ์โรงเรียน
 
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ประชุมคณะกรรมการนักเรียนเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ
  2. คณะกรรมการนักเรียนประชุมชี้แจง  แนวทางในการดำเนินการกับหัวหน้าห้องทุกห้อง
  3. ครูประจำชั้นและนักเรียนในห้องร่วมกันคิด  วางแผนเขียนโครงการประจำห้อง  1  โครงการ  ที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนหรือชุมชน
  4. หัวหน้าห้องส่งโครงการให้คณะกรรมการนักเรียนพิจารณา  และขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน
  5. โรงเรียนอนุมัติดำเนินการ
  6. นักเรียนแต่ละห้องดำเนินการจัดทำโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด
  7. ครูที่ปรึกษา  และนักเรียนสรุปประเมินผล  ภาพรวมโครงการจากแบบประเมินผลการดำเนินงานโครงการ  ส่งที่คณะกรรมการนักเรียน
  8. คณะกรรมการนักเรียน  รวบรวมโครงการห้องสรุปผลภาพรวมของโครงการและรายงานผลต่อผู้อำนวยการโรงเรียน
 
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
 
1. ความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2. การทำงานเป็นทีมและการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
3. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในห้องกับครูที่   ปรึกษา โรงเรียนกับชุมชน
 
ผลที่ได้รับ
 
นักเรียนมีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ต่อไปนี้
1. ด้านการพัฒนาตนเอง   มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
พฤติกรรมบ่งชี้ คือ   คิดสิ่งใหม่ ที่เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
2. ด้านการพัฒนาการทำงานและการดำเนินชีวิต มีความรับผิดชอบ
พฤติกรรมบงชี้ คือ   ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางไว้
3. ด้านการพัฒนาการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม   
3.1 มีมนุษย์สัมพันธ์
พฤติกรรมบงชี้ คือ  ช่วยเหลือผู้อื่น ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
3.2มีความเสียสละ
พฤติกรรมบงชี้ คือ ไม่เห็นแก่ตัว การแบ่งปันทรัพย์สิน เงิน สิ่งของ แก่คนที่ควรให้ตามกำลังของตน การช่วยเหลือส่วนรวมด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา
หมายเลขบันทึก: 172682เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2008 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท