บทคัดย่อการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย


ปฐมวัย

ชื่อเรื่อง      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็ก

                    ปฐมวัย

ผู้ประเมินโครงการ             นาง สมจิต    คำเสียง

หน่วยงาน     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

ปีที่ศึกษา        ปีการศึกษา  2549

ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา  2550

 

บทคัดย่อ

 

                        การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3   ปีการศึกษา 2549  โดยใช้รูปแบบจำลอง    ของซิปป์ (CIPP  Model)  ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม การประเมินสภาวะแวดล้อม  ปัจจัยเบื้องต้น  กระบวนการ  ผลผลิตและผลกระทบของโครงการ

                        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา   เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1,2 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 รวมทั้งสิ้น 308 คน

                        เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการประกอบด้วยแบบสอบถาม   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย   ค่าเฉลี่ยร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปดังนี้

                        1. ข้อมูลทั่วไปพบว่า  ผู้บริหารส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการสอนและบริหารการ  จัดการศึกษาปฐมวัย  เคยศึกษาดูงานการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในประเทศ  ส่วนครูผู้สอนระดับปฐมวัยส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการสอนระดับปฐมวัย และเคยศึกษาดูงานการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในประเทศ  ผู้บริหารและครูผู้สอนระดับปฐมัยส่วนใหญ่ เห็นว่า ครูผู้สอนระดับปฐมวัยมีจำนวนน้อยไม่พอเพียง  และมีโรงเรียนเกินครึ่งของกลุ่มตัวอย่าง มีผลงาน รางวัลดีเด่นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่สามารถเผยแพร่ได้ ระหว่าง ปีการศึกษา 2548 ถึง ปีการศึกษา 2549

                        2.  การประเมินสภาพแวดล้อม (Context  Evaluation)  จากการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัยตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนระดับปฐมวัยส่วนใหญ่ผ่านการอบรมหลักสูตรพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย  มีการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองมาใช้ในการวางแผนและการจัดประสบการณ์และจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  ระดับปฐมวัย

                        3.  ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ในการประเมินปัจจัยเบื้องต้น ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย ตามความเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนปฐมวัย ด้านปัจจัยพื้นฐาน ด้านงบประมาณวัสดุอุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ และด้านบุคลากร พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนระดับปฐมวัย  โดยภาพรวม  เห็นว่า ปัจจัยเบื้องต้นอยู่ในระดับปานกลาง

                        4.  การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ในการประเมินกระบวนการ

ผลการประเมินกระบวนการโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูปฐมวัย  โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก

                        5.  การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) การประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย พบว่า ผู้บริหารและครูปฐมวัย   มีความพอใจในผลการนิเทศและการจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย โดยภาพรวม อยู่ในระดับ ดีมาก

                        6.  การประเมินผลกระทบ (Outcome Evaluation) การประเมินผลกระทบของโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย พบว่า  ผู้บริหารและครูปฐมวัยโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก กหมายถึงการดำเนินการตามโครงการส่งผลให้คุณาพของผู้เรียนสูงขึ้น

หมายเลขบันทึก: 172434เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2008 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท