เก็บมาฝากคุณผู้หญิง


มะเร็งเต้านม

คุณผู้หญิงทั้งหลายต้องดีอกดีใจแน่ๆ เมื่อได้ทราบว่าแพทย์ชาวอเมริกันนั้นได้ค้นพบวิธีการใหม่ในการตรวจว่าเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ แทนวิธีการเดิมที่ต้องตัดเอาชิ้นเนื้อหรือใช้เข็มดูดเอาเซลล์จากก้อนเนื้อมาตรวจซึ่งอาจจะทำให้เกิด ความเจ็บปวดและความกังวลใจ

วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมแบบใหม่ที่ใช้เวลาไม่กี่นาทีแต่สะดวกยิ่งขึ้นนี้ คือ การใช้คลื่นแสงแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็มอาร์เอส (Magnetic resonance spectroscopy) ในการตรวจหาก้อนเนื้อร้าย ซึ่งมีหลักการคล้ายคลึงกับการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็มอาร์ไอ

ศาสตราจารย์ ไมเคิล การวู้ด แห่งมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตีออฟมินิโซตา สหรัฐอเมริกา ผู้ศึกษาวิธีการนี้ ระบุว่าวิธีการตรวจหาดังกล่าวมีหลักการคล้ายกับการวิธีการสแกนภาพด้วยเทคโนโลยี การตรวจโรคโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็มอาร์ไอ วิธีเอ็มอาร์เอส คือ การเอกซเรย์ด้วยการใช้คลื่นวิทยุแสดงภาพ ซึ่งจะทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างเซลล์ที่ดีหรือที่เป็นโรค

นอกจากนี้เอ็มอาร์เอสยังสามารถวัดระดับสารเคมีในร่างกายได้ ซึ่งเท่ากับว่าสามารถวัดระดับของสารโคลิน(choline)ที่เป็นสารที่ส่งสัญญาณบอกการเป็นมะเร็งด้วย ทั้งนี้พบว่า ในก้อนเนื้อร้ายระดับของสารโคลีนจะสูง

ศาตราจารย์ การ์วู้ดแจ้งว่า เทคโนโลยีการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและเทคนิคใหม่นี้จะเป็นทางวิธีการตรวจที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการวินิจโรคมะเร็งเต้านม รวมทั้งจะช่วยในการคิดค้นหาวิธีรักษาใหม่อีกด้วย อย่างไรก็ตามต้องมีการศึกษาต่อไปอีกว่า วิธีการนี้จะช่วยตรวจหาเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งได้ดีเท่ากับวิธีการเดิมหรือไม่

“วิธีการนี้เป็นทางใหม่ในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม และเราอาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการตัดตัดเอาเนื่อเยื่อมาตรวจอีกต่อไป” การวู้ดระบุ หลังจากที่ได้ลองทดสอบตรวจหามะเร็งด้วนวิธีเอ็มอาร์ไอดังกล่าวกับคนไข้ 105 ราย

นอกจากนี้ ดร.มิเชล บาร์เคลย์ จากสถาบันวิจัยโรคมะเร็งระบุเช่นเดียวกันว่า ความก้าวหน้าการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร้งเต้านมที่ถูกต้องและไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดย่อมเป็นข่าวดีสำหรับผู้หญิง เพราะดีกว่าวิธีการตัดเอาเนื้อตัวอย่างมากตรวจ หรือหรือใช้เข็มเจาะดูดเซลล์จากก้อนเนื้อไปตรวจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อให้ทราบว่าเป็นมะเร็งหรือไม่

หมายเลขบันทึก: 172069เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2008 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กลัวจะเป็นเหมือนกัน ไม่กล้าไปตรวจ ถ้าการตรวจแบบนี้มาเมืองไทย จะรีบไปตรวจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท