นวัตกรรม


ชุดกิจกรรมโครงงานภูมิปัญญาไทยทางวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

 

                โครงงานจัดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหา  และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้  โดยเฉพาะโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่สามารถจัดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนหรือเป็นกิจกรรมเสริมวิทยาศาสตร์ก็ได้  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการในการปฏิบัติกิจกรรม  มีประสบการณ์

จากการปฏิบัติจริงโดยใช้ชุดกิจกรรมทำโครงงานภูมิปัญญาไทยทางวิทยาศาสตร์  เป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้  เกิดปัญญาจากการเรียนรู้ พัฒนากระบวนการคิด  การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้านต่าง ๆ  จากแหล่งเรียนรู้

ที่หลากหลาย  ด้วยตนเอง  ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง

                การดำเนินงานครั้งนี้มีความมุ่งหมาย  เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมโครงงานภูมิปัญญาไทยทางวิทยาศาสตร์ 

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน  เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำโครงงานภูมิปัญญาไทยทางวิทยาศาสตร์  และเพื่อพัฒนาเจตคติเชิง

วิทยาศาสตร์  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านใหม่ถาวร  ตำบลสระขวัญ  อำเภอเมืองสระแก้ว  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว  เขต 1 จำนวน 12 คน  ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานครั้งนี้มี  ชุดกิจกรรมโครงงานภูมิปัญญาไทยทางวิทยาศาสตร์  จำนวน 6 ชุด  ใช้เวลา  22  ชั่วโมง  สัปดาห์ละ  5  ชั่วโมง   แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน 40  ข้อที่มีความยากง่ายตั้งแต่  .20  ถึง  .73  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  .20  ถึง  .77   และค่าความเชื่อมั่น

เท่ากับ  0.83   แบบประเมินโครงงานภูมิปัญญาไทยทางวิทยาศาสตร์  จำนวน 1 ฉบับ  และแบบวัดเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์  จำนวน  1  ฉบับ  สถิติที่ใช้  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ร้อยละ   และ(t-test)  

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้

       ชุดกิจกรรมการทำโครงงานภูมิปัญญาไทยทางวิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6

ที่ผู้รายงานจัดทำและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ  95.40/86.21  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  75/75  นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการทำโครงงานภูมิปัญญาไทยทางวิทยาศาสตร์  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนมีทักษะการทำโครงงานภูมิปัญญาไทยทางวิทยาศาสตร์  อยู่ในระดับดีมาก  โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เท่ากับ 0.31  และนักเรียนมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี   โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.02  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.47

                จากการดำเนินงานในครั้งนี้ทำให้ผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการทำโครงงานภูมิปัญญาไทยทางวิทยาศาสตร์  มีความรู้  ความเข้าใจ  ทักษะกระบวนการคิด  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  พฤติกรรมการทำงาน  ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น  สามารถนำไปพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ  มีจิตวิทยาศาสตร์  เห็นความสำคัญและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย  สามารถนำภูมิปัญญาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไปได้

หมายเลขบันทึก: 171978เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2008 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท