การทำงานเป็นทีม


การทำงานเป็นทีม

         ครับวันนี้ผมได้ไปอำเภอเมือง และอำเภอนาน้อย มาครับ ไปกับท่านเกษตรจังหวัดซึ่งท่านต้องไปให้นโยบายในการทำงานของการอบรมเกษตรอาสา และโครงการพัฒนาองค์กรเกษตรและกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรกร(ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง)ซึ่งเป็นภากิจของกรมส่งเสริมการเกษตรอีกภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญ และนโยบายในการทำงานของโครงการพัฒนาองค์กรเกษตรฯนั้นเป็นการที่นำเกษตรกรผู้นำที่ต้องการเรียนรู้และพัฒนากิจกรรมด้านการเกษตรเพื่อให้เพียงต่อความต้องการของเกษตรกรและของตลาดด้านการเกษตรต่อไป ซึ่งจะสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีกับเกษตรกรรายอื่นได้ และจะสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรไปสู่กลุ่มเกษตรกรในแต่ละชุมชนต่อไปได้  ซึ่งเกษตรกรจะทำเป็นแปลงสาธิตการเกษตรเพื่อที่จะสามารถพัฒนาเรียนรู้สู่ชุมชนของตนเองได้ และทำไห้เกิดความพอเพียงขึ้นกับชุมชนนั้น ๆ ตามมาเป้าหมายของจังหวัดน่านนั้นต้องการให้ผู้นำเกษตรกรที่สามารถพํฒนาองค์กรเกษตร 1 คน ที่จะพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรเพื่อที่ขยายสู่ชุมชนของเกษตรกรเองได้อย่างน้อย 10 ครัวเรือนเพื่อที่จะเป็นแนวนโยบายที่จะพัฒนาต่อไปได้อีกมากขึ้น โดยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจะเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงในการที่จะพัฒนาองค์กรเกษตรฯ และช่วยแก้ปัญหาหรือแก้ข้อสงสัยในการปฏิบัติหรือขั้นตอนในการปฏิบัตินั้นตัวเกษตรกรเองจะมีความรู้ความสามารถอยู่แล้วเพียงแต่ว่าจะมีการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีแล้วนั้นออกมาใช้ในรูปแบบใดใด้ แต่ก็นั่นแหละครับการทำงานก็ต้องมีหลักในการทำงาน เหมือนกันถึงแม้ไม่มีผลในทันทีแต่ระยะเวลานานนั้นก็มีเหมือนกันครับ เพราะว่าการทำการเกษตรเป็นอาชีพหลักของประเทศเราก็ว่าได้เหมือนกันการรู้จักแนวทางแก้ไขปัญหาและจะพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการเกษตรเพื่อให้เหมะสมกับสภาพพื้นที่และภูมิประเทศของแต่ละชุมชนก็จะสามารถทำให้เกษตรกรมีผลผลิตที่ดี และเมื่อผลผลิตดีราคาสินค้าก็ดีตามมาและความเป็นอยู่ของเกษตรกรก็ต้องดีขึ้นตามไปด้วยครับ

           ที่อำเภอนาน้อยนั้นเป็นการบรรยายโดยวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถทั้งนั้นและมีการทำงานเป็นทีมครับ เป็นทีมงานของกลุ่มส่งเสริมพัฒนาเกษตรกรนำโดยท่านหัวหน้ากลุ่มครับ ท่านเสวก สายสูงหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และ   นักวิชาการส่งเสิมการเกษตรอีก 3 ท่าน คือคุณพยอม วุฒิสวัสดิ์   คุณพิชยารัชน์  ดิษฐ์ภักดีบดินทร์  คุณบุญมี   ณรินทร์ ที่มาให้ความรู้ โดยมีเทคนิคในการทำงานที่ดีมากครับ โดยให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานนั้น ๆ ซึ่งตัวเกษตรกรเองสามารถที่จะมองเห็นปัญหาที่แท้จริงเพระว่าเป็นผู้ปฏิบัติจริงและปัญหาต่างๆ ที่เกษตรกรนำเสนอขึ้นมาเป็นเรื่องที่นักวิชาการจะเข้าไปช่วยกันหาแนวทางที่จะแก้ไขอย่างไรที่จะทำให้เกิดผลดีกับชุมชนและตัวเกษตรกรให้มากที่สุด

          "การที่จะทำอะไรก็ยากได้รับความสำเร็จ อยากได้ผลดี เทคนิคการทำงานแต่ละสิ่งแต่ละอย่างเป็นเรื่องเฉพาะครับ ปัญหาเป็นเรื่องของธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ดับได้ อยู่กับคน อยู่กับงาน สิ่งที่ขัดข้อง อุปสรรคย่อมเกิดขึ้นได้ ที่ใดมีคนที่นั่นย่อมเกิดปัญหาจงอย่ามองว่าปัญหาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นตามที่หวังเราต้องมีพลังต่อสู้ คิดวาปัญหาเป็นผงชูรสในการทำงานแล้วก็จะฝ่าฟันปัญหานั้นลงได้ครับ ถ้าเรามีแรงใจที่ดี ก็สามารถดับปัญหานั้นลงได้ ถ้าเราเจอปัญหาต้องยอมรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ต้องมีสติเพื่อที่จะตั้งรับกับปัญหานั้น ๆ ค้นหาสาเหตุของปัญหาให้เจอ แล้วเลือกวิธีในการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมและดูผลที่ออกมาว่าถ้าไม่คลายก็กลับไปหาต้นเหตุของปัญหานั้นอีกครังนะครับ"

             โอกาสจะเกิดขึ้นได้เสมอ สำหรับบุคลที่แสวงหา คำว่าโอกาสเกิดขึ้นได้จากแง่มุมปัญหาต่างของการทำงาน เช่น ความเดือดร้อนของคนอื่น ผู้ริเริ่มหาทางสร้างผลิตภัณฑ์แก้ไขปัญหาให้เขาได้แสดงว่าเราได้โอกาสแล้ว โอกาสเกิดจากการช่างคิด ช่างทำ ช่างฝัน ช่างสังเกตุ ช่างทดลองจนเกิดผลงานขึ้น เหมือนกับคำสอนของหลวงพ่อปัญญาท่านสอนว่า "ความพร้อมของเราคือฤกษ์ที่ดี" การจัดเตรียม การมีไหวพริบที่ดี ประกอบกับความกล้าเสี่ยวบ้าง ก็เป็นส่วนประกอบได้พบโอกาสใหม่ ๆ ที่ดีได้มากเหมือนกัน

          คนขับรถครับ

19/3/51

หมายเลขบันทึก: 171752เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2008 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท