ผลการเรียนรู้และเข้าใจ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


การจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เป็นกลุ่มเล็ก ๆเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากอย่างหนึ่ง ในการจัดการความรู้ เพื่อการพัฒนาต่อยอดความรู้ของแต่ละคนและพัฒนาองค์ความรู้ของกลุ่มหรือชุมชน ให้เพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้จบ

            จากการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทรัพยากรสำหรับนิสิตกลุ่มใหญ่  และอภิปรายกลุ่มย่อย ๆ ละ 10-12  คน  จำนวน 20 กลุ่ม โดยสอดแทรกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลังการนำเสนอวีดิทัศน์ ประกอบ  ให้นิสิตแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคล ลงใบงานที่ 1 และอภิปรายภายในกลุ่ม สรุปลงใน ใบงานที่  2   โดยกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นดังนี้

          1. จากวีดีทัศน์เรื่อง ครูบัวเรียน วาปีสา นักต่อสู้แห่งป่าดูนลำพัน  ท่านเห็นว่ามีปัจจัยสำคัญอะไรบ้าง  ที่ทำให้ชุมชนแห่งนี้ สามารถกลายเป็นชุมชนตัวอย่าง ในการอนุรักษ์ป่าชุมชนให้คงความสมบูรณ์อยู่ได้ โดยชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน

          2. จากวีดีทัศน์เรื่อง ผักหวาน พลังอนุรักษ์ป่าสีเขียว   ท่านเห็นว่าชาวบ้านในชุมชน ได้ปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข อย่างไร ?   จึงทำให้ชุมชนอยู่ได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน

 จากกลุ่มตัวอย่าง แต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นลง ใบงานที่ 1 และอภิปรายภายในกลุ่ม สรุปลงใน ใบงานที่  2  พร้อมทั้งให้บางกลุ่มนำเสนอให้เพื่อนร่วมห้องได้รับทราบ  ผู้วิจัยได้นำใบงานที่ 1 และ ใบงานที่ 2 มาวิเคราะห์  ความคิดเห็นของนิสิตแต่ละคน และ แต่ละกลุ่ม เฉพาะตามข้อที่ 2  จากวีดีทัศน์เรื่อง ผักหวาน พลังอนุรักษ์ป่าสีเขียว  โดยให้คะแนนความคิดเห็น ตามที่นิสิตเรียนรู้ว่าชุมชนได้ปฏิบัติตามแนวปรัชาเศรษฐกิจพอเพียง  ที่ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข นั้น นับเป็น 5  ปัจจัย  คือ (1) ความพอประมาณ  (2) ความมีเหตุผล  (3) การมีภูมิคุ้มกัน (4) มีคุณธรรมและจริยธรรม  (5 ) มีความความรู้และวิชาการ   ตามแผนมโนทัศน์การสอนสอดแทรกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง   ความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ที่เสนอไว้   ปัจจัยใดบ้าง จำนวนกี่ปัจจัย  โดยการใช้ตัวเลข 1 ถึง 5  แทน ซึ่งสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ได้ ดัง ตารางที่ 4.1

และ ภาพที่ 4.1

 

ปัจจัยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

จำนวนร้อยละของนิสิต

1. ความพอประมาณ 

24

2. ความมีเหตุผล 

34

3. การมีภูมิคุ้มกัน

15

4. มีคุณธรรมและจริยธรรม 

16

5. มีความความรู้และวิชาการ  

7

0. ไม่มีการปฏิบัติ

4

 

ตารางที่ 4.1  แสดงจำนวนร้อยละของนิสิตที่ เรียนรู้ว่าชุมชนมีการปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข  หรือ 5 ปัจจัย อะไรบ้าง    

 

          จากตารางที่ 4.1 พบว่า นิสิตกลุ่มตัวอย่างได้เรียนรู้ว่า ชุมชนผักหวาน บ้านใหม่สมบูรณ์ เป็นชุมชนต้นแบบที่อยู่ได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน นั้นเพราะชุมชนมีการปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ตามปัจจัยที่ 2  ความมีเหตุผล สูงที่สุดคือร้อยละ 34    รองลงมาคือ ปัจจัยที่ 1 ความพอประมาณ ร้อยละ 24   ปัจจัยที่ 3 การมีภูมิคุ้มกัน และ ปัจจัยที่ 4  มีคุณธรรมและจริยธรรม  ร้อยละ 15 และ 16 ตามลำดับ   ส่วนปัจจัยที่ 5 มีความรู้และวิชาการ มีเพียง ร้อยละ 7 เท่านั้น    นอกจากนั้นพบว่า มีนิสิตจำนวนร้อยละ 4  แสดงความคิดเห็นว่า ชุมชนไม่มีการปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามปัจจัยใด ๆ เลยใน 5 ปัจจัย 

                จากผลการวิเคราะห์ข้างต้น อาจจะชี้ให้เห็นได้ว่า การที่ชุมชน หรือ บุคคลจะสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง อย่างเช่นในชุมชนผักหวานป่า บ้านใหม่สมบูรณ์นั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ชุมชนมีความสุขอย่างยั่งยืน คือ ความมีเหตุผล และรองลงมาคือ มีความพอประมาณ  ส่วนปัจจัยด้านมีความรู้และวิชาการนั้น ไม่จำเป็นต้องมีมากนัก ชุมชนก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้

 

 

 

   ภาพที่ 4.1  แสดงจำนวนร้อยละของนิสิตที่ ได้เรียนรู้ว่าชุมชนมีการปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวนกี่ปัจจัย  เปรียบเทียบระหว่าง นิสิตรายบุคคล กับ นิสิตรายกลุ่ม

              ภาพที่ 4.1  เป็นกราฟแสดง จำนวนปัจจัยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่นิสิตแต่ละคน (รายบุคคล) ได้เรียนรู้ เปรียบเทียบกับ นิสิตแต่ละกลุ่ม (รายกลุ่ม) ที่ได้จากการสรุปการเรียนรู้หลังจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และการอภิปรายร่วมกัน  หลังจากการชมวีดีทัศน์ เรื่อง ผักหวาน พลังอนุรักษ์ป่าสีเขียว  ที่ถือว่าเป็นการเล่าเรื่อง (Story telling)  การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน  โดยอาศัยทุนทางธรรมชาติอย่าง ผักหวานป่าทำให้กลายเป็นแรงผลักดัน ในการสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ชาวชุมชนบ้านใหม่สมบูรณ์ จังหวัดนครราชสีมา และจากอัตลักษณ์ธรรมดาๆ กลับแปรเปลี่ยนเป็นพลังในการปกป้องผืนป่าไว้เคียงคู่ชาวชุมชนภายใต้แนวคิดป่าอยู่ได้ เราก็อยู่ได้  และชุมชนมีการน้อมนำเอาแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีความสุขอย่างยั่งยืน กลายเป็นชุนชนตัวอย่างให้กับชุมชนอื่น ๆ

          จากผลการวิเคราะห์ตามภาพที่ 4.1  จะเห็นว่า จากการชมวีดีทัศน์แล้ว นิสิตรายบุคคล (กราฟเส้นทึบ) ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 42  สามารถเรียนรู้และบอกได้ว่า  ชุมชนบ้านใหม่สมบูรณ์ปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จำนวน 1  ปัจจัย   มีนิสิตร้อยละ 24 สามารถเรียนรู้ได้ 2 ปัจจัย และ มีนิสิตที่สามารถเรียนรู้ได้ ครบ 5 ปัจจัย  เพียงร้อยละ 4 เท่านั้น   ในทางกลับกันถ้าเราวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของกลุ่ม หลังการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พบว่ากลุ่มสามารถเรียนรู้ได้ครบทั้ง 5 ปัจจัย  สูงถึงร้อยละ 75    อีกร้อยละ 20 เรียนรู้ได้ 4 ปัจจัย (กราฟเส้นปะ)  ซึ่งแตกต่างจากการเรียนรู้รายบุคคลอย่างชัดเจนมาก   เป็นสิ่งยืนยันว่าการจัดการเรียนการสอนแบบแบ่งกลุ่มย่อย  เปิดโอกาสให้นิสิต ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ  จะเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนิสิตแต่ละคนขึ้นมา เป็นการเรียนรู้ของกลุ่มอย่างมาก   การจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เช่นนี้ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากอย่างหนึ่ง ในการจัดการความรู้  เพื่อการพัฒนาต่อยอดความรู้ของแต่ละคนและพัฒนาองค์ความรู้ของกลุ่มหรือชุมชน ให้เพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้จบ

 

(ตัดตอนจากรายงานการวิจัย ฉบับสมบูรณ์)

หมายเลขบันทึก: 171492เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2008 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากๆๆนะคะ ถ้าไม่ได้งานวิจัยนี้หนูคงไม่มีงานไปส่งอาจารย์แน่ๆเลยคะ พอดีครูให้หาเรื่องการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับกราฟเส้นหนะคะ ขอบคุณมากๆๆนะคะ

ขอบคุณนะคร๊าฟ ถ้าไม่เจอเว็บไซด์นี้ คงทำงานให้ที่รักไม่เสร็จ ขอบคุณมากมายคร๊าฟป๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท